กลไกเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมตามเป้าหมายที่ 16 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ: การศึกษาเพื่อปรับปรุงกลไกศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการไปในทางคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามแนวทางของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

ผู้แต่ง

  • ธนรัตน์ มังคุด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://orcid.org/0000-0001-7393-6393
  • สุรสิทธิ์ วชิรขจร สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน, หลักนิติธรรม, ความเท่าเทียม, สิทธิมนุษยชน, ศาลรัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำกรอบคิดว่าด้วยหลักนิติธรรมมาใช้เพื่อแสวงหากลไกที่นำไปสู่ความเท่าเทียมภายใต้หลักการมีส่วนร่วมและความครอบคลุมทางสังคม ตามเป้าหมายที่ 16 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยกำหนดให้หลักนิติธรรมอยู่ในความหมายแบบ “กว้างและลึก (Thick)” ซึ่งเนื้อหาไม่จำกัดเฉพาะหลักการเชิงทางการและกระบวนการ (Formal and Procedural) เช่น หลักการแบ่งแยกอำนาจและการจ ากัดอำนาจรัฐ เท่านั้น แต่ให้น้ำหนักมากขึ้นแก่หลักการเชิงเนื้อหา (Substantive) เช่น การเคารพสิทธิมนุษยชน บทความเสนอให้มีการปรับปรุงกลไกศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการไปในทางคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งรวมถึงสิทธิในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ มากขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมโนทัศน์ “รัฐธรรมนูญนิยมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Constitutionalism)” และบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญแห่งแอฟริกาใต้ รวมถึงพิจารณาประเด็นวิพากษ์สำคัญต่อบทบาทดังกล่าวขององค์กรตุลาการ ได้แก่ การทำให้ประเด็นทางการเมืองเข้าไปอยู่ในอำนาจตุลาการ (Judicialisation of Politics) ทั้งนี้ หลังจากได้แสดงให้เห็นว่าแนวทางดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรมและยังช่วยส่งเสริมหลักนิติธรรมแบบกว้างและลึกแล้ว บทความจึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงกลไกศาลรัฐธรรมนูญไปในแนวทางดังกล่าว ทั้งในแง่กรอบคิดในรัฐธรรมนูญและวัฒนธรรมทางการเมืองและกฎหมาย (โดยเฉพาะในกรณีวัตถุประสงค์และคุณค่าอันเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญที่เป็นไปในทางสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพ และในกรณีวัฒนธรรมทางการเมืองและกฎหมายในภาพกว้างที่สอดรับกัน) และในแง่หลักการเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (โดยเฉพาะประเด็นความเชี่ยวชาญที่หลากหลายของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประเด็นความยึดโยงกับประชาชน)

References

คำวินิจฉัยและคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลจังหวัดระยอง คดีหมายเลขดำที่ อ 807/2562 คดีหมายเลขแดงที่ อ 265/2563.

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ 559/2560 คดีหมายเลขแดงที่ 2247/2561.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2555.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2563.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564.

Fuel Retailers Association of Southern Africa v Director-General: Environmental Management, Department of Agriculture, Conservation and Environment, Mpumalanga Province and Others (CCT67/06) [2007] ZACC 13; 2007 (10) BCLR 1059 (CC); ;2007 (6) SA 4 (CC) (7 June 2007).

Government of the Republic of South Africa and Others v Grootboom and Others (CCT11/00) [2000] ZACC 19; 2001 (1) SA 46; 2000 (11) BCLR 1169 (4 October 2000).

MEC for Education: Kwazulu-Natal and Others v Pillay (CCT 51/06) [2007] ZACC 21; 2008 (1) SA 474 (CC); 2008 (2) BCLR 99 (CC) (5 October 2007).

Minister of Health and Others v Treatment Action Campaign and Others (No 2) (CCT8/02) [2002] ZACC 15; 2002 (5) SA 721; 2002 (10) BCLR 1033 (5 July 2002).

Minister of Home Affairs and Another v Fourie and Another (CCT 60/04) [2005] ZACC 19; 2006 (3) BCLR 355 (CC); 2006 (1) SA 524 (CC) (1 December 2005).

National Coalition for Gay and Lesbian Equality and Another v Minister of Justice and Others (CCT11/98) [1998] ZACC 15; 1999 (1) SA 6; 1998 (12) BCLR 1517 (9 October 1998).

Occupiers of 51 Olivia Road, Berea Township and 197 Main Street Johannesburg v City of Johannesburg and Others (24/07) [2008] ZACC 1; 2008 (3) SA 208 (CC); 2008 (5) BCLR 475 (CC) (19 February 2008).

S v Jordan and Others (Sex Workers Education and Advocacy Task Force and Others as Amici Curiae (CCT31/01) [2002] ZACC 22; 2002 (6) SA 642; 2002 (11) BCLR 1117 (9 October 2002).

Soobramoney v Minister of Health (Kwazulu-Natal) (CCT32/97) [1997] ZACC 17; 1998 (1) SA 765 (CC); 1997 (12) BCLR 1696 (27 November 1997).

เอกสารภาษาไทย

คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ, ‘กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2560).

จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญาแนววิพากษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2, นิติธรรม 2555).

จรัญ โฆษณานันท์, สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน (พิมพ์ครั้งที่ 3, นิติธรรม 2559).

จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้น และปฐมบทแห่งคำพิพากษาแนวรัฐประหารนิยม-ตุลาการภิวัตน์ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2563).

ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์, ‘ตุลาการรัฐธรรมนูญ (ศาลรัฐธรรมนูญ)’ (สถาบันพระปกเกล้า) <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ตุลาการรัฐธรรมนูญ_(ศาลรัฐธรรมนูญ)#cite_note-8> สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายมหาชน: หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ (วิญญูชน 2561).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2562).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และชมพูนุท ตั้งถาวร, สภาร่างรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ: ประสบการณ์ต่างประเทศและประเทศไทย (สถาบันพระปกเกล้า 2555).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, ศาลรัฐประหาร (ฟ้าเดียวกัน 2560).

มนตรี รูปสุวรรณ และคณะ, เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (วิญญูชน 2542).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), ‘กรอบแนวคิดและกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดด้านหลักนิติธรรม/นิติรัฐ (Rule of Law Index/Indicators)’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) 2559).

สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ‘การเมืองเชิงตุลาการ’ (2559) 1 วารสารนิติสังคมศาสตร์.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล และคณะ, ‘โครงการ การเมืองเชิงตุลาการและศาลรัฐธรรมนญไทย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2561).

สำนักงานกิจการยุติธรรม, ‘รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ประจำปี 2562’ (สำนักงานกิจการยุติธรรม) <http://www.oja.go.th/TH/sdgs16-re2562/> สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2562) 344.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ‘หน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ’ (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) <http://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/article/article_20191112153204.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563.

iLaw, ‘เปรียบเทียบที่มาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายประเทศ ไทยยัง ‘พิเศษ’ ที่ให้โควต้าข้าราชการ’ (iLaw) <https://ilaw.or.th/node/5667> สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.

เอกสารภาษาต่างประเทศ

Anne Smith, ‘Equality Constitutional Adjudication in South Africa’ (2014) 2 African Human Rights Law Journal 609.

Bardo Fassbender, ‘What’s in a Name? The International Rule of Law and the United Nations Charter’ (2018) 17 Chinese Journal of International Law 762 accessed 27 July 2020.

Björn Dressel, ‘The Judicialization of Politics in Asia: Towards a Framework of Analysis’ in Björn Dressel (ed) The Judicialization of Politics in Asia (Oxon 2012).

Eric C Christiansen, ‘Transformative Constitutionalism in South Africa: Creative Uses of Constitutional Court Authority to Advance Substantive Justice’ (2010) 13 The Journal of Gender, Race & Justice 575.

Eric Kibet and Charles Fombad, ‘Transformative Constitutionalism and the Adjudication of Constitutional Rights in Africa’ (2017) 17 African Human Rights Law Journal 340.

Frank W Munger, ‘An Alternative Path to Rule of Law: Thailand's Twenty-First Century Administrative Courts’ (2019) 1 Indiana Journal of Global Legal Studies 133.

Jeremy Waldron, ‘The Rule of Law’, The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Summer edn, 2020 <https://plato.stanford.edu/archives/sum2020/entries/rule-of-law/> accessed 22 June 2020.

Karl E Klare, ‘Legal Culture and Transformative Constitutionalism’ (1998) 1 South African Journal on Human Rights 146.

Mashele Rapatsa, ‘Transformative Constitutionalism in South Africa: 20 Years of Democracy’ (2014) 27 Mediterranean Journal of Social Sciences 887.

Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, ‘What Are Human Rights’ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights) <https://www.ohchr.org/en/issues/pages/whatarehumanrights.aspx> accessed 5 November 2020.

Ruth Krüger, ‘The Silent Right: Environmental Rights in the Constitutional Court of South Africa’ (2019) 9 Constitutional Court Review 473.

Ruth Levush, ‘The Constitutional Council and Judicial Review in France’ (Library of Congress) <https://blogs.loc.gov/law/2020/11/the-constitutional-council-and-judicial-review-in-france/> accessed 7 November 2020.

Sandra Liebenberg, ‘Beyond Civil and Political Rights: Protecting Social, Economic and Cultural Rights under Bills of Rights - The South African Experience’ (The Conference: Protecting Human Rights, Centre for Comparative Constitutional Studies, Melbourne Law School, 25 September 2007).

UN Committee on Economic, Social and Cultural Rights ‘General Comment No. 3: The Nature of States Parties’ Obligations (Art. 2, Para. 1, of the ICESCR)’ (14 December 1990) UN Doc E/1991/23.

UNGA Res 66/288 (11 September 2012) UN Doc A/RES/66/288).

UNGA Res 70/1 (21 October 2015) UN Doc A/RES/70/1.

World Justice Project, ‘Rule of Law Index 2020’ (2020).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30