การค้นหาระบอบความรับผิดทางนิวเคลียร์ข้ามพรมแดนในประเทศจีนและภูมิภาคอาเซียน: หลักการและความท้าทายทางกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • ซิ่งหลง หยาง มหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

คำสำคัญ:

จีนและพื้นที่อาเซียน, CSC, อินโดนีเซีย, การชดเชยด้านนิวเคลียร์, มาเลเซีย, ความรับผิดชอบข้ามพรมแดน

บทคัดย่อ

จวบจนถึงปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดในพื้นที่จีนและอาเซียน (“พื้นที่”) ที่ออกกฎหมายควบคุม
ความรับผิดชอบทางนิวเคลียร์ข้ามพรมแดนและให้สัตยาบันในอนุสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดชอบ
ทางนิวเคลียร์ในอนุสัญญาชดเชยเพิ่มเติมส าหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์ (“CSC”) เนื่องด้วย
ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ระหว่างจีนและอาเซียน จุดอ่อนใดใดของกรอบความรับผิดชอบ
ทางนิวเคลียร์ เช่น การไม่สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส าหรับอุบัติการณ์ข้ามพรมแดนได้นั้น
อาจน าไปสู่การต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นระบบกฎความรับผิดชอบทางนิวเคลียร์
จึงจ าเป็นต้องมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะชดเชยกลุ่มผู้เสียหายได้อย่างเป็นธรรมหากและเมื่อเกิด
อุบัติเหตุขึ้นในพื้นที่ ในปัจจุบันประชาคมนิวเคลียร์นานาชาติได้เสนอแนวทางหลักในการจัดตั้งระบบ
กฎความรับผิดชอบทางนิวเคลียร์ในพื้นที่ขึ้นมาสองแนวทางด้วยกัน คือ การให้สัตยาบันใน CSC และ
การร่วมมือในการก่อตั้งระบบกฎความรับผิดชอบทางนิวเคลียร์ในระดับภูมิภาคระหว่างจีนและอาเซียน
วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการระบุอุปสรรคที่อาจขัดขวางการพัฒนาระบบกฎความรับผิดชอบ
ทางนิวเคลียร์ของจีนและอาเซียน โดยไม่ค านึงถึงแนวทางหนึ่งทางใดที่จะถูกน ามาใช้ในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31