คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 18776/2561 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2563 (การขัดกันแห่งกฎหมายกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นในต่างประเทศ)
คำสำคัญ:
การขัดกันแห่งกฎหมาย, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกัน, หลักความสงบเรียบร้อยของประชาชนบทคัดย่อ
นับตั้งแต่โลกเข้าสู่คริสตศตวรรษที่ 21 การก่อตั้งความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกัน เป็นประเด็นที่มีพัฒนาการและข้อถกเถียงอย่างเป็นพลวัต มีประเทศมากมายที่รับรองสิทธิเสรีภาพในการสมรส บางประเทศอนุญาตให้มีการจดทะเบียนหุ้นส่วนชีวิต (civil partnership) ขณะเดียวกัน ก็มีประเทศที่ปฏิเสธเรื่องดังกล่าวถึงขนาดกำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันเป็นความผิดอาญา ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อกลุ่มบุคคลที่มีเพศเดียวกันก่อตั้งความสัมพันธ์ในประเทศหนึ่งก่อนจะเดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศที่กำหนดสถานะความสัมพันธ์ไว้ต่ำกว่าหรือไม่ยอมรับเลย และต้องการให้ประเทศเหล่านั้นรับรองความสัมพันธ์ทางกฎหมายขอตน การที่จะรับรองความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันที่เกิดขึ้นในต่างประเทศได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการใช้กฎหมายต่างประเทศภายใต้การขัดกันแห่งกฎหมาย (conflict of laws) ซึ่งศาลไทยเคยมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 18776/2561 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2563 วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวมาแล้ว กระนั้น ทั้งที่ทั้งสองคดีน่าจะมีเหตุผลของเรื่อง (nature of thing) อย่างเดียวกัน เรากลับพบว่าผลลัพธ์ของคำพิพากษาทั้งสองมีปลายทางที่แตกต่างกัน
ความกำกวมในแง่นิติวิธีและคำอธิบายที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 18776/2561 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2563 เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษามุ่งจะคลี่คลายภายใต้งานเขียนชิ้นนี้ ในการนี้ ผู้ศึกษาจะได้สรุปคำพิพากษาทั้งสองโดยสังเขป ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์คำพิพากษาทั้งสองต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ