การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย

ผู้แต่ง

  • เพียรรัตน์ ลีลาพงศธร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย การพิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลย

บทคัดย่อ

หลักการพิจารณาและสืบพยานต้องกระทำต่อหน้าจำเลยในคดีอาญาเป็นหลักการที่คุ้มครองสิทธิที่จะเผชิญหน้ากับพยานของจำเลย เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสซักค้านพยานหรือเตรียมสืบหักล้างพยานโจทก์ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนและเป็นการให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การใช้หลักการดังกล่าวทุกกรณี โดยเฉพาะในคดีร้ายแรง ดังเช่น คดีอาญาระหว่างประเทศ คดีค้ามนุษย์ หรือคดียาเสพติด อาจส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่จำเลยหลบหนีระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และศาลจะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่าจะสามารถจับตัวจำเลยได้ ความทรงจำของพยานบุคคลซึ่งเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาก็อาจเลือนหายไปหรืออาจถึงแก่ความตายไปก่อน และเมื่อคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ในการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในระดับที่ต้องปราศจากข้อสงสัย (Beyond reasonable doubt) ก็อาจทำให้ศาลยกฟ้องได้ และกลายเป็นว่าหากจำเลยสามารถหลบหนีได้จนหมดอายุความก็เท่ากับสามารถรอดพ้นจากคดี ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เกิดข้อยกเว้นของหลักการพิจารณาคดีและการสืบพยานที่ต้องทำต่อหน้าจำเลยขึ้น ทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์จะอนุญาตให้พิจารณาคดีโดยไม่ปรากฏตัวจำเลยได้ เพราะการดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลนั้น ศาลได้มีบทบาทในการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานด้วย ทำให้แม้ปราศจากขั้นตอนการถามค้านก็ยังคงมีพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนอยู่ เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2562 มาตรา 5 และมาตรา 6 ได้เพิ่มเติมข้อยกเว้นให้สามารถพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลยได้ในหลายกรณี ทั้งนี้ บทบัญญัติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้พิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลยในกรณีของคดีอาญาทั่วไปบางบทบัญญัตินั้นเป็นบทบัญญัติที่ไม่จำเป็น แม้ว่าข้อยกเว้นดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้กับระบบวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยได้ก็ตาม อีกทั้ง การแก้ไขเพิ่มเติมข้อยกเว้นให้พิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลยได้ในครั้งนี้ยังไม่มีการให้หลักประกันทดแทนแก่จำเลยที่ต้องสูญเสียสิทธิในการเผชิญหน้ากับพยานหลักฐานไป ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป

References

หนังสือ

กองกฎหมายไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. คำอธิบายและเจตนารมณ์รายมาตรา พระราชบัญญัติวิธี

พิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฝ่ายผลิตเอกสาร สำนักงาน

คณะกรรมการกฤษฎีกา, 2556.

คนึง ฦาไชย. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสาร

ประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

คนึง ฦาไชย. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.

ณรงค์ ใจหาญ. “การพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลย : หลักและข้อยกเว้น” ในนิติธรรมประจักษ์ สุรศักดิ์ 60 ปี

ในโอกาสครบรอบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา, 2561.

ธานี สิงหนาท. คำอธิบายพยานหลักฐานคดีแพ่งและคดีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

พรเพชร วิชิตชลชัย. คำอธิบาย กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม

พับลิชชิ่ง, 2555.

ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติ

มิชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรง

ตำแหน่งทางการเมือง. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2562.

มานิตย์ จุมปา. รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำอธิบายเรียงมาตราพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา. กรุงเทพฯ:

วิญญูชน, 2552.

มารุต บุญนาค. สิทธิพื้นฐานในคดีอาญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2550.

รชฎ เจริญฉ่ำ. พยานในคดีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร, 2551.

สุพิศ ปราณีตพลกรัง. กฎหมายวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2560.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. คำอธิบาย การดำเนินคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท., 2552.

อุทัย อาทิเวช. คู่มือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 คู่มือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:วี.เจ.พริ้นติ้ง,

บทความ

วิสาร พันธุนะ. “วิธีพิจารณาความอาญาในสหรัฐอเมริกา.” ดุลพาห. เล่มที่ 5. ปีที่ 25. (กันยายน-ตุลาคม

: 41.

อุดม รัฐอมฤต. “วิธีพิจารณาโดยไม่มีตัวจำเลยในคดีอาญา.” วารสารนิติศาสตร์. ฉบับที่ 2. ปีที่ 48. (มิถุนายน

: 224.

วิทยานิพนธ์

กู้เกียรติ เมืองสง. “การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

สริยา เนตรบารมี. “การพิจารณาคดีอาญาด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม : ศึกษาความเหมาะสมในการ

นำมาใช้ในคดีความผิดเล็กน้อย.” สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

รายงานวิจัย

กรรภิรมย์ โกมลารชุน. “การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” รายงาน

วิจัยเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า, 2562.

เอกสารการประชุม

บันทึกคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การพิจารณาคดีอาชญาลับหลัง (เรื่องเสร็จที่ 117/2477)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ณรงค์ ใจหาญ. “การมีตัวจำเลยในระหว่างการดำเนินคดีอาญา.” https://siamrath.co.th/n/17697, 8

มิถุนายน 2561.

ปกรณ์ นิลประพันธ์. “การพิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลย (Trial in absentia).”

http://lawdrafter.blogspot.com/2017/06/, 8 มิถุนายน 2561

สราวุธ เบญจกุล. “การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยและการจำหน่ายคดีชั่วคราวของศาล.”

https://mgronline.com/daily/detail/95000001157998, 8 มิถุนายน 2561.

คำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15147/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549

เอกสารอื่น ๆ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559

Books

Antonio Cassese. International Criminal Law. New York: Oxford University Press, 2003.

Ben Emmerson and Andrew Ashworth. Human Rights and Criminal Justice, London:

Sweet&Maxwell, 2001.

Daniel E. Hall. Criminal Law and Procedure. Third Edition. New York: West Legal Studies,

Stephen A. Saltzburg and Daniel J. Capra. American Criminal Procedure Cases and

Commentary. Tenth Edition. Minnesota: West Publishing, 2014.

The International Bar Association. International Criminal Court and International Criminal Law

Programme. Report on experts roundtable on trials in absentia in international

criminal justice. The Netherlands: The International Bar Association, 2016.

Wayne R. LaFave, Jorold H. Israle, and Nancy J. King. Criminal Procedure. Third Edition.

Minnesota: West Group, 2000.

William A. Schabas. An Introduction to the International Criminal Court. Cambridge: Cambridge

University Press, 2001.

Other Materials

Charter of the International Military Tribunal (Nuremberg)

Internal Rules of Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia

International Covenant on Civil and Political Rights

Rome Statute of the International Criminal Court

Rules of Procedure and Evidence of Residual Special Court for Sierra Leone

Statue of the International Criminal Tribunal for Rwanda

Statue of the International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia

Statute of the Special Tribunal for Lebanon

The Magistrates Court Act 1980

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31