สิทธิของประชาชนและชุมชนในการฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 51 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 45
คำสำคัญ:
หน้าที่ของรัฐ, ศาลรัฐธรรมนูญ , สิทธิของประชาชนและชุมชนบทคัดย่อ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยรัฐมีหน้าที่ต้องจัดทำภารกิจต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล หากรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่จะเกิดสภาพบังคับในทางกฎหมายขึ้นมา โดยประชาชนและชุมชนจะมีสิทธิติดตาม และเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์ ตามที่ได้รับรองไว้ในมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และขั้นตอนในการดำเนินการไว้ในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้เพื่อให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดขึ้นได้จริง
References
คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย (สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 2548).
บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2558).
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2538).
ณัฐพล ยิ่งกล้า, ‘แนวนโยบายแห่งรัฐตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560’ (2560) วารสารบทความวิชาการ HOT ISSUE 5.
วัชราภรณ์ จุ้ยลำเพ็ญ, ‘หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560’ (2560) วารสารบทความวิชาการ HOT ISSUE 5.
Hee-Jung Lee, ‘The Structure and Roles in Judicial Review of Administrative Litigation in Korea’ (2006) 6 Journal of Korean Law 48.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, สรุปการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 12/2558 (21 ตุลาคม 2558).
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, สรุปการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 15/2558 (27 ตุลาคม 2558).
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 66/2560 (23 พฤศจิกายน 2560).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ