ประเด็นทางจริยธรรมของการแพทย์ทางไกล
คำสำคัญ:
การแพทย์ทางไกล, บริการสุขภาพทางไกล, ประเด็นทางจริยธรรม, ข้อพิจารณาทางจริยธรรม, จริยศาสตร์, ชีวจริยศาสตร์บทคัดย่อ
การแพทย์ทางไกลมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาผู้ป่วย จากเดิมที่การแพทย์ทางไกลถูกนำมาใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาหรือการแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น แต่เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้การแพทย์ทางไกลถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาและอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์และผู้ป่วย มีหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้จำนวนมากแสดงว่าการแพทย์ทางไกลมีประโยชน์หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่การแพทย์ทางไกลมีบทบาทมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การแพทย์ทางไกลอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้เช่นกัน และแม้ว่ากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยจะครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ แต่อาจกล่าวได้ว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นมีรายละเอียดที่ไม่เพียงพอสำหรับการนำการแพทย์ทางไกลไปใช้ในทางปฏิบัติ บทความนี้จึงศึกษาประเด็นทางจริยธรรมของการแพทย์ทางไกลด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้การแพทย์ทางไกลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ให้การรักษาที่ต้องการนำการแพทย์ทางไกลมาใช้ในการรักษา โดยพิจารณาจากมุมมองทางจริยธรรมเป็นสำคัญ และไม่เจาะจงการรักษาประเภทใดหรือการแพทย์เฉพาะทางสาขาใดเป็นการเฉพาะ
บทความนี้เริ่มจากการอธิบายความหมายของการแพทย์ทางไกลและจำแนกรูปแบบของการแพทย์ทางไกลโดยพิจารณาจากระดับของการนำการสื่อสารทางไกลมาใช้ในการรักษา ต่อมาจะอธิบายประเด็นทางจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้นในการแพทย์ทางไกล 5 ประการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป ภาระที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รับการรักษาผ่านการแพทย์ทางไกล ประสิทธิผลในการรักษาที่ลดลงเมื่อใช้การแพทย์ทางไกล ผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และความรับผิดชอบของแพทย์ในการแพทย์ทางไกลในแต่ละรูปแบบ ท้ายที่สุด บทความนี้เสนอแนะข้อพึงปฏิบัติ 5 ประการที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเมื่อใช้การแพทย์ทางไกล ได้แก่ การเลือกใช้การแพทย์ทางไกลอย่างเหมาะสม การขอความยินยอมสำหรับการแพทย์ทางไกล การช่วยเหลือผู้ป่วยในการใช้การแพทย์ทางไกล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง
บทความนี้สรุปว่า ผู้ให้การรักษาควรนำการแพทย์ทางไกลมาใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีประเด็นทางจริยธรรมหลายประการที่อาจเกิดขึ้นและอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย หลายคนอาจเข้าใจว่าแพทย์ผู้ใช้การแพทย์ทางไกลมีความรับผิดชอบที่จำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาในสถานพยาบาล แต่แท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะความรับผิดชอบของแพทย์อาจมีมากขึ้นด้วยลักษณะของการแพทย์ทางไกลเอง บทความนี้เสนอแนะด้วยว่า ประเทศไทยควรมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแพทย์ทางไกลที่ชัดเจนมากขึ้นโดยแยกแยะการแพทย์ทางไกลที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
References
บรรณานุกรม
บทความ
AM Williams and others, 'The Role of Telemedicine in Postoperative Care' (2018) 4 Mhealth 11.
B Knowles and VL Hanson, 'Older Adults’ Deployment of ‘Distrust’' (2018) 25 ACM Transactions on Computer-Human Interaction Article 21 <https://doi.org/10.1145/3196490> สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565.
C Der-Martirosian and others, 'Implementation of Telehealth Services at the US Department of Veterans Affairs During the COVID-19 Pandemic: Mixed Methods Study' (2021) 5 JMIR Formative Research e29429 <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8462492/> สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565.
C Lowe, 'Beyond Telecare: The Future of Independent Living' (2009) 3 Journal of Assistive Technologies 21.
CM Lilly and others, 'A Multicenter Study of ICU Telemedicine Reengineering of Adult Critical Care' (2014) 145 CHEST Journal 500.
CS Kruse, M Mileski and J Moreno, 'Mobile Health Solutions for the Aging Population: A Systematic Narrative Analysis' (2016) 23 Journal of Telemedicine and Telecare 439.
D Chaet and others, 'Ethical Practice in Telehealth and Telemedicine' (2017) 32 Journal of General Internal Medicine 1136.
ER Dorsey and EJ Topol, 'State of Telehealth' (2016) 375 New England Journal of Medicine 154.
JA Schrack, AA Wanigatunga and SP Juraschek, 'After the COVID-19 Pandemic: The Next Wave of Health Challenges for Older Adults' (2020) 75 The Journals of Gerontology Series A Biological Sciences and Medical Sciences e121.
JD Young, SA Borgetti and PJ Clapham, 'Telehealth: Exploring the Ethical Issues' (Spring 2017) 19 DePaul Journal of Health Care Law <https://via.library.depaul.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1353&context=jhcl> สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563.
JT Wiseman and others, 'Inter-rater Agreement and Checklist Validation for Postoperative Wound Assessment Using Smartphone Images in Vascular Surgery' (2016) 4 Journal of Vascular Surgery: Venous and Lymphatic Disorders 320.
K Lam and others, 'Assessing Telemedicine Unreadiness Among Older Adults in the United States During the COVID-19 Pandemic' (2020) 180 JAMA Internal Medicine 1389.
M Le Goff-Pronost and others, 'Real-World Clinical Evaluation and Costs of Telemedicine for Chronic Wound Management' (2018) 34 International Journal of Technology Assessment in Health Care 567.
MA Hincapié and others, 'Implementation and Usefulness of Telemedicine During the COVID-19 Pandemic: A Scoping Review' (2020) 11 Journal of Primary Care & Community Health <https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33300414> สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565.
TL Michaud and others, 'Costs of Home-based Telemedicine Programs: A Systematic Review' (2018) 34 International Journal of Technology Assessment in Health Care 410.
TM Parker and others, 'Eye and Head Movement Recordings Using Smartphones for Telemedicine Applications: Measurements of Accuracy and Precision' (2022) 13 Frontiers in Neurology <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/35370913> สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565.
Z Mani and I Chouk, 'Impact of Privacy Concerns on Resistance to Smart Services: Does The ‘Big Brother Effect’ Matter?' (2019) 35 Journal of Marketing Management 1460.
เอกสารอื่น ๆ
Allen v. Shawney, Case Number: 11-10942 (E.D. Mich. Mar. 18, 2014).
American Hospital Association, 'The Promise of Telehealth for Hospitals, Health Systems and Their Communities' (Trendwatch, January 2015).
World Health Organization, 'Telemedicine: Opportunities and Developments in Member States' (Global Observatory for eHealth Series - Volume 2, 2010).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ