บทบาทของเภสัชกรตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท:กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทย-ญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • วนิศรา หนูตอ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • องอาจ มณีใหม่ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 0000-0002-2251-7997

คำสำคัญ:

กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท, เภสัชกร, ประเทศไทย, ประเทศญี่ปุ่น, กฎหมายเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการอธิบายและทบทวนข้อกฎหมายและเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทของประเทศไทยและญี่ปุ่นผลการศึกษาพบว่า ภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทของประเทศญี่ปุ่น จะมุ่งใช้นโยบายในการปราบปรามการเสพติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างเข้มงวด มีมาตรการเชิงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและการบำบัดรักษาผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยเภสัชกรเป็นด่านหน้าในการช่วยเหลือให้คำปรึกษาและบริหารจัดการจ่ายยา สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมถึงส่งเสริมการบำบัดรักษาผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในสถานพยาบาล ขณะที่ประเทศไทยมีการผลักดันการใช้นโยบายภายใต้แนวคิดที่ว่า ผู้เสพคือผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากร โดยลดทอนความผิดในคดีที่เกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้เหมาะสมกับการกระทำผิด เน้นการบำบัดฟื้นฟูให้ผู้เสพติดกลับคืนสู่สังคม

บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการอธิบายและเปรียบเทียบประเด็นข้อกฎหมายและบทบาทหน้าที่ของเภสัชกร ซึ่งจำเป็นจะต้องนำบทบัญญัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและองค์ความรู้ทางวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่ออธิบายบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในการกำกับควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

References

ฉัตรสุมน พฤติภิญโญ, 'การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้กฎหมายยาเสพติดเปรียบเทียบ: รูปแบบกฎหมายและแนวทางการควบคุมยาเสพติด' (รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2559).

บุศรา เข็มทอง, 'กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทย' (รัฐสภาไทย) <https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=28660> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

ศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา, 'สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการหัวข้อประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่: ประชาชนได้อะไร คดียาเสพติดจะลดลงหรือไม่?' (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2 ธันวาคม 2564) <https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-narcotic-drugs-act/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Goro Koto and others, 'Drug use, regulations and policy in Japan' (International Drug Policy Consortium, 14 April 2020) <http://fileserver.idpc.net/library/Druguse_regulations_policy_Japan.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Ministry of Foreign Affairs of Japan, 'International Measures and Japanese Assistance for Dealing with Drug Issues' (Ministry of Foreign Affairs of Japan, May 2001) <https://www.mofa.go.jp/policy/narcotics/measure0105.html> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Ministry of Health, Labour and Welfare, 'Pharmaceutical and Medical Safety Bureau in Pursuit of Safety of Drug and Medical Care' (Ministry of Health, Labour and Welfare) <http://www.mhlw.go.jp/english/org/policy/p13-14.html> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Sari Nakagawa and Noriaki Kume, 'Pharmacy Practice in Japan' (2017) 70(3) Canadian Journal of Hospital Pharmacy 232.

Takuya Shimane, 'Pharmacist as gatekeeper: combating medication abuse and dependence' (2013) 133(3) Yakugaku Zasshi 617.

Takuya Shimane, 'Pharmacist as Gatekeeper of Prescription Drug Abuse: Return to "Community Scientists"' (2016) 136(1) Yakugaku Zasshi 79.

Takuya Shimane and others, 'Prevention of overlapping prescriptions of psychotropic drugs by community pharmacists' (2012) 47(5) Nihon Arukoru Yakubutsu Igakkai Zasshi 202.

Toshiyoshi Tominaga, 'Control on Medical Narcotics in Japan' (International Symposium on Drug Control Strategy, 26 October 2005).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31