พัฒนาการแนวคิดเรื่องหลักนิติรัฐ (État de droit) ในประเทศฝรั่งเศส

ผู้แต่ง

  • วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

นิติรัฐ, ฝรั่งเศส, รัฐที่ปกครองด้วยตัวบทกฎหมาย , ทฤษฎีการจำกัดอำนาจตัวเองของรัฐ , ทฤษฎีการจำกัดอำนาจรัฐโดยแหล่งที่แยกต่างหากจากรัฐ

บทคัดย่อ

ประเด็นปัญหาว่า “อะไรคือการที่บุคคลถูกปกครองโดยกฎหมายแทนที่จะอยู่ภายใต้บงการตามอำเภอใจของของผู้มีอำนาจ” เป็นปัญหาตั้งต้นของการถกเถียงและพัฒนาแนวคิดเพื่อตอบคำถามนี้ ส่งผลให้เกิดต้นแบบสองต้นแบบในโลกตะวันซึ่งถูกนำเข้าสู่ภาษาและระบบกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ได้แก่ หลัก Rule of law อันกำเนิดมาจากข้อถกเถียงทางรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ และ หลัก Rechsstaat อันกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีและมีอิทธิพลกับยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลเรื่องหลักนิติรัฐมาจากประเทศเยอรมนีโดยมีคำเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า État de droit แต่ก็มีความเป็นมา ทางปฏิบัติ และจุดที่ให้ความสำคัญที่มีความเฉพาะตัวด้วยบริบททางประวัติศาสตร์และอิทธิพลของการถกเถียงทางความคิดในประเทศฝรั่งเศสเอง การศึกษาแนวคิด État de droit ของประเทศฝรั่งเศสย่อมทำให้เราเห็นตัวอย่างการนำเข้าแนวคิดจากต่างประเทศมาผนวกกับแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ในสังคมฝรั่งเศสมาแต่เดิม การฉกชิงพื้นที่ในการให้คำนิยามหรือตีความแนวคิดดังกล่าวผ่านข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและกฎหมาย รวมถึงข้อจำกัดและความท้าทายของการปรับใช้แนวคิดดังกล่าวในแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์อันเนื่องมาจากอัตลักษณ์และภูมิทัศน์ทางรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสเองหรือความท้าทายจากปัจจัยภายนอก โดยผู้เขียนหวังว่าตัวอย่างจากประเทศฝรั่งเศสจะเป็นประโยชน์กับวงวิชาการไทยในการค้นคว้าต่อยอดหรือศึกษาเชิงเปรียบเทียบต่อไป

References

กุลลดา เกษตรบุญชู มี้ด, วิวัฒนาการรัฐอังกฤษ ฝรั่งเศส ในกระแสเศรษฐกิจโลก จากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม, สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน 2561).

ฐาปนันท์ นิพิฏกุล, ‘คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง 1789’ (Thaivolunteer, 19 มีนาคม 2553) <https://www.thaivolunteer.org/คำประกาศว่าด้วยสิทธิ/> เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565.

ธงชัย วินิจจะกูล, ‘นิติรัฐอภิสิทธิ์ ราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย’ (เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 17 วันที่ 9 มีนาคม 2563 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายมหาชน: หลักนิติธรรม/นิติรัฐในฐานะเกณฑ์จำกัดอำนาจรัฐ (วิญญูชน 2560).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายรัฐธรรมนูญ: การก่อตั้งรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มติชน 2565).

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, ‘วิวัฒนาการของหลักนิติรัฐโดยสังเขป: กรณีประเทศเยอรมันและประเทศฝรั่งเศส’ (2554) เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2564.

รวินทร์ ลีละพัฒนะ และชมพูนุท ตั้งถาวร, มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลในประเทศไทย: ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ (สถาบันพระปกเกล้า 2564).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย 2564).

Alain Laquièze, ‘État de Droit and National Sovereignty in France’ in Pietro Costa and Danilo Zolo (eds), The Rule of Law History, Theory and Criticism, (Springer Netherlands 2007).

Anne-Laure Casssard-Valembois. ‘L’Exigence de Sécurité Juridique et l’Ordre Juridique Français: “Je t’Aime, Moi Non Plus…”’ (2020) 2(5) Titire VII 1.

Cardin Le Bret, De la Souveraineté du Roi (J. Quesnel 1632).

Conseil d’État, Rapport Public Annuel 1991: De la sécurité juridique (La Documentation Française 1991).

Conseil d’État, Rapport Public Annuel 2006: Sécurité Juridique et Complexité du Droit (La Documentation française 2006).

Dominique Terré, Les Questions Morales du Droit (Presses Universitaires de France, 2007), Chapitre 2 Le Gouvernement des Juges.

Frédéric Bluche, 'Lettres de Cache', Encyclopædia Universalis France (2022).

Jacon Weinrib, Dimensions of Dignity: The Theory and Practice of Modern Constitutional Law, (Cambridge University Press, 2016).

Jaques Chevalier, L’État de Droit (6th edn, LGDF, 2017).

Léon Duguit, La Doctrine Allemande de l’Autolimitation de l’État (Giard et Brière 1919).

Louis Favoreu, ‘De la Démocratie à l’État de droit’ (1991) 64(2) Le Débat 154.

Louis Favoreu and others, Droit Constitutionnel (22e édition Dalloz 2020).

Luc Heuschling, ‘État de droit: The Gallicization of the Rechsstaat’ in Jens Meierhenrich and Martin Loughlin (eds), The Cambridge Companion to the Rule of Law (Cambridge University Press 2021).

Martin Loughlin, Foundation of Public law (Oxford University Press 2010), Chapter 11 Rechsstaat, Rule of Law, L’Etat de Droit.

Michel Troper, ‘Le concept d’ État de Droit’ (1992).

Nicholas Barber, ‘The Rechsstaat and The Rule of Law’ (2003) 53(4) The University of Toronto law Journal 443.

Raymond Carré de Malberg, Contribution à la Théorie Générale de l'État: Spécialement d'après les Données Fournies par le Droit Constitutionnel Français, Tome premier (Bibliothèque Nationale de France 1920).

Yves-Marie Bercé, L’Ancien Régime (Presses Universitaires de France 2021).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31