การพิจารณาคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ: ผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในขณะถูกคุมขัง

ผู้แต่ง

  • สุธาวรรณ ณ ชาตรี สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

คำสำคัญ:

สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย, การพิจารณาคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ

บทคัดย่อ

การนำระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ หรือ วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (video conference) มาใช้ในการดำเนินคดีอาญาในศาลเป็นการลดการเคลื่อนย้ายจำเลยจากเรือนจำมาศาลตามนัด เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease: COVID-19) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการคดีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนคดีออกไป ซึ่งศาลจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยและสุขภาพของคู่ความและประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม การนำระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพดังกล่าวมาใช้ในคดีอาญายังเป็นที่โต้แย้งและถกเถียงกันเป็นอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยในคดีอาญาที่ถือว่าเป็นประธานในคดีอาจจะถูกกระทบได้หลายประการ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม (right to fair trial) สิทธิที่จะปรากฏตัวต่อศาล รับการพิจารณาคดีต่อหน้า และเผชิญหน้าพยาน (right to be present and right to confrontation) และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ (right to effective assistance of counsel) เป็นต้น

บทความนี้ได้นำเสนอสิทธิข้างต้นของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อาจถูกกระทบจากการนำระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพมาใช้ในคดีอาญา พร้อมเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของศาลไทยโดยการปรับปรุงเทคโนโลยีให้การประชุมทางไกลผ่านจอภาพเสมือนการที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลด้วยตนเองมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการคดีอาญาผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพต่อไปได้โดยไม่กระทบสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยดังกล่าว

References

เอกสารอ้างอิงภาษาต่างประเทศ

Administrative Office of Pennsylvania Courts, 'Pa Courts Expand Use of Video Conferencing, Saving $21 Million Annually in Defendant Transportation Costs' (Administrative Office of Pennsylvania Courts, 7 June 2011) สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563.

Anne Bowen Poulin, 'Criminal Justice and Videoconferencing Technology: The Remote Defendant' (2004) 4 Tulane Law Review 1129.

Arman Zrvandyan, 'The Right to Confrontation in International Criminal Proceedings' (Master of Law, University of Turin 2011).

Association of Southeast Asian Nations, ‘Aichr Asean Intergovernmental Commission on Human Rights Asean 50th Anniversary Edition' <https://asean.org/book/aichr-asean-intergovernmental-commission-on-human-rights-what-you-need-to-know-asean-50th-anniversary-edition-a-compendium/> สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563.

Carsten Stahn, A Critical Introduction to International Criminal Law (Cambridge University Press 2019).

Eric T Bellone, 'Videoconferencing in the Courts: An Exploratory Study of Videoconferencing Impact on the Attorney-Client Relationship in Massachusetts' (PhD Dissertation Northeastern University 2015).

Evert-Jan Van Der Vlis, 'Ministry of Security and Justice, The Hague' (Videoconferencing in Criminal Proceedings University of Surrey 2011).

Gene D Fowler and Marilyn E Wackerbarth, 'Audio Teleconferencing Versus Face‐to‐Face Conferencing: A Synthesis of the Literature' (1980) 3 Western Journal of Speech Communication 236.

Kevin Sadler, 'Realising the Potential for Video Hearings' (GOV.UK, 30 July 2018) <https://insidehmcts.blog.gov.uk/2018/07/30/realising-the-potential-for-video-hearings/.> สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563.

Kirsti Weisz, 'Right to Skype: Judges Urged to Consider More Witness Testimony Via Skype' <https://www.mojonews.com.au/page/right-to-skype-judges-urged-to-consider-more-witness-testimony-via-skype> สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563.

M Somjen Frazer, 'The Impact of the Community Court Model on Defendant Perceptions of Fairness' (A Case Study at the Red Hook Community Justice Center 2006).

Michele Simonato, 'Defence Rights and the Use of Information Technology in Criminal Procedure' (2014) 1 Revue internationale de droit pénal 295.

Molly Treadway Johnson and Elizabeth C Wiggins, 'Videoconferencing in Criminal Proceedings: Legal and Empirical Issues and Directions for Research' (2006) 2 Law & Policy 28.

Nancy Gertner, 'Videoconferencing: Learning through Screens' (2004) 3 William & Mary Bill of Rights Journal 12.

Nuala Mole and Catharina Harby, 'The Right to a Fair Trial' (2006) 3 Human Rights Handbooks 47.

Richard D . Friedman, 'Remote Testimony' (2002) 4 University of Michigan Journal of Law Reform 695.

Russell Kostelak, 'Videoconference Technology and the Confrontation Clause' ( J.D. Student Research Papers Cornell Law School 2014).

Stephen B Bright, ‘Neither Equal nor Just: The Rationing and Denial of Legal Services to the Poor When Life and Liberty Are at Stake’ (1997) 3 NYU Annual Survey of American Law 816.

Zachary M. Hillman, 'Pleading Guilty and Video Teleconference: Is a Defendant Constitutionally Present When Pleading Guilty by Video Teleconference' (2007) 7 Journal of High Technology Law 41.

เอกสารอ้างอิงภาษาไทย

ฐานิต ศิริจันทร์สว่าง, 'ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสืบพยานผ่านจอภาพ ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับความมั่นคง' (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2560) <http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_25592560/PDF/wpa_8113/ALL.pdf.> สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563.

ณรงค์ ใจหาญ, 'สิทธิผู้ต้องหา จำเลยและผู้ต้องโทษในคดีอาญา' (รายงานการวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2540).

ปกป้อง ศรีสนิท, สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (วิญญูชน 2563).

พรเพชร วิชิตชลชัย, 'การพิจารณาคดีอาญาโดยลูกขุนตามกฎหมายอเมริกัน', (2538) 42 ดุลพาห 89.

วรวิทย์ ฤทธิทิศ, 'ความหมายและขอบเขตของสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย' (2534) 47 บทบัณฑิตย์ 90.

วิชัย อริยะนันทกะ, 'ประมวลจริยธรรมของตุลาการแห่งเนติบัณฑิตยสภาอเมริกัน' (2537) 50 บทบัณฑิตย์ 110.

ศุภกิจ แย้มประชา, 'สัมผัสคดีดังต่างประเทศคำพิพากษาศาลสิทธิ์มนุษชนยุโรปคดี Sejdovic V Italy (2006) เกี่ยวกับการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย' (2561) 65 ดุลพาห 191.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 'การใช้ระบบบันทึกภาพและเสียงในการพิจารณาคดีในชั้นศาล' (รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 2560).

สุพิศ ปราณีตพลกรัง, 'ปัญหาวิธีพิจารณาความอาญาในชั้นศาลสำหรับพยานตามโครงการคุ้มครองพยาน' (ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2017).

อภิวัฒน์ นาคชำนาญ, 'การรับฟังคำเบิกความของพยานที่ไม่เปิดเผยตัวตน' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558).

คดี

Ekbatani v Sweden App no 10563/83 (ECtHR, 26 May 1988).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30