โครงสร้างทางกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนในประเทศเกาหลีใต้และไทย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการสาธารณะ, โครงสร้างทางกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อน, ระบบกฎหมายเกาหลีใต้, ระบบกฎหมายไทยบทคัดย่อ
น้ำแร่ร้อนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเอื้อต่อการท่องเที่ยวของประเทศ ระบบกฎหมายพึงวางโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ บทความนี้สำรวจโครงสร้างทางกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนในประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทย (โดยใช้จังหวัดระนองเป็นตัวอย่างในการศึกษา) วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างทางกฎหมายทั้งสองประเทศ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะบางประการแก่การพัฒนาโครงสร้างทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของไทย
จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างทางกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้มีรายละเอียดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนอย่างครบถ้วน ได้แก่ บ่อเกิดของกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายรัฐบัญญัติที่รวบรวมหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับน้ำแร่ร้อนไว้ในที่เดียวกันอย่างครอบคลุม การกำหนดคำนิยามขององค์ประกอบในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนอย่างเป็นระบบระเบียบ การกำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ขององค์กรและบุคลากรของรัฐที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนอย่างชัดเจน การกำหนดเครื่องมือในการอนุญาตและควบคุมการใช้น้ำอย่างหลากหลาย ตลอดจนการกำหนดการมีส่วนร่วมของเอกชนเอาไว้อย่างไม่สับสน ในขณะที่โครงสร้างทางกฎหมายในประเทศไทยยังขาดองค์ประกอบที่จำเป็นเหล่านี้อยู่ ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาระบบกฎหมายไทยจึงเป็นการสร้างและพัฒนาองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนให้ครบถ้วน และมีการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมในการใช้น้ำแร่ร้อนของเอกชนอย่างสมดุล
References
Bae Gun Yee, ‘A Study on the Ex-Post Evaluation of Hot Spring Act’ (2016) Korea Legislation Research Institute <https://www.klri.re.kr/eng/publication/1653/view.do> accessed 18 November 2020.
Colin Scott, ‘Implementation: Facilitating and Overseeing Public Services at Street Level’ in Peter Cane, Herwig C. H. Hofmann, Eric C. Ip, and Peter L. Lindseth (eds) The Oxford Handbook of Comparative Administrative Law (Oxford Academic 2020) 595.
Dante A. Caponera and Marcella Nanni, Principles of Water Law and Administration: National and International (2nd edn, Taylor&Francis 2007).
David H. Rosen bloom, Robert S. Kravchuk and Richard M. Clerkin (eds), Public Administration: Understanding Management, Politics, and Law in the Public Sector (8th edn, McGraw-Hill Education 2015).
David H. Rosenbloom, Rosemary O'Leary and Joshua Chanin, Public Administration and Law (3rd edn, Routledge 2011).
Peter Cane, Administrative Law (5th edn, Oxford University Press 2011).
Tong Yu, ‘Study on the sustainable development of the hot spring tourism in Heyuan City’ (2015) International Forum on Energy, Environment Science and Materials 1116-1170 <https://www.atlantis-press.com/proceedings/ifeesm-15/25841261> accessed 7 March 2023.
William Goldfarb, Water Law (2nd edn, CRC Press 1988).
เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์, ‘แนวทางการพัฒนาน้ำพุร้อนคลองฉนวนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี’ (2563) 2 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 157.
เอื้อมทิพย์ ศรีทอง, ‘น้ำพุร้อน (Onsen) : นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและ บำบัดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2558).
นันทวัฒน์ บรมานันท์, หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2560).
สมยศ เชื้อไทย, หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 14, วิญญูชน, 2563).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ