การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • วรพชร จันทร์ขันตี สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าประเทศไทยมีมาตรการและกฎหมายในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง และมาตรการเหล่านั้นมีความเพียงพอเหมาะสมต่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุหรือไม่ เพื่อหาขอบเขตการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แม้มีลักษณะที่เป็นนามธรรม แต่เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับในสากลประเทศ โดยปรากฏอยู่ทั้งในเอกสารระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของนานาประเทศ สำหรับประเทศไทยได้รับแนวความคิดดังกล่าวมาบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ยังคงบัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักประกันของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ด้วย และโดยที่ปัจจุบันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นสังคมสูงอายุของประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการผ่านนโยบาย กฎหมาย การบังคับใช้และการตีความกฎหมาย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้แนวความคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันประกอบด้วยสารัตถะ คือ สิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในความเสมอภาค ดังนั้น สิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นเกณฑ์สำคัญในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุ แต่จากการศึกษารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องที่แม้จะมีความพยายามในการให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุในด้านต่างๆ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอและเหมาะสม อันเกิดจากตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การบังคับใช้และการตีความกฎหมาย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 (บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอร์เรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 2566).

เกรียงไกร เจริญธนำวัฒน์, ‘คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ใน รัฐธรรมนูญ 60 : 60 ปี สมคิด

เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (โรงพิมพ์เดือนตุลำ 2562).

จุมพล ศรีจงศิริกุล และคณะ,‘โครงการศึกษามาตรการทางกฎหมำยของต่างประเทศในการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2555).

ณัฐภัทร ถวัลยโพธิ และคณะ, ‘โครงการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุของไทยและต่างประเทศ เพื่อการปรับปรุงกฎหมายไทย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2555).

ต่อพงศ์ กิตติยำนุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน (วิญญูชน 2565).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2562).

พงษ์เทพ สันติกุล, ‘สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง และสิทธิทางสังคม’ (2562) 11(1) วารสารการเมือง การบริหาร และ

กฎหมาย 37.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ, มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ = New Concept of Older Persons: The Psycho-Social and Health Perspective (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยำลัยมหิดล 2556).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘สิทธิมนุษยชนกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ’ ใน รัฐธรรมนูญ 60 : 60 สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2562).

สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล, รายงานการสังเคราะห์ข้อมูลจากเวทีวิชาการ เรื่อง มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุ และการขยายอายุเกษียณ (มูลนิธิสถำบันวิจัยและพัฒนำผู้สูงอำยุไทย 2556).

อุดม รัฐอมฤต นพนิธิ สุริยะ และบรรเจิด สิงคะเนติ, การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (สำนักงำนศาลรัฐธรรมนูญ 2544).

Bruno Palier, ‘French Welfare Reform in Comparative Perspective’ (2004) 45 Revue française de sociologie 97.

Robert Boyer, Is There a Welfare State Crisis? A Comparative Study of French Social Policy (International Labour Organization 2002).

United Nations, World Population Ageing 2019 (New

York: United Nations, 2020).

United Nations Department of Economic and Social Affairs, World Population Prospects 2022, (United Nations, New York, 2022).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28