สะพานสู่ความสำเร็จของระบบกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นจากสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยองค์กรตุลาการ : พิจารณาจากเนื้อหาของกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • วรพล มาลสุขุม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน, การระงับข้อพิพาทโดยองค์กรตุลาการ, เนื้อหากฎหมายที่ใช้ในการระงับข้อพิพาท, บ่อเกิดของกฎหมาย, ความสมดุลในการคุ้มครองประโยชน์ของรัฐและเอกชน

บทคัดย่อ

ระบบกฎหมายที่จะได้รับการพิจารณาว่ามีความเป็นธรรมในการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นจากสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยองค์กรตุลาการนั้น พึงต้องมีคุณสมบัติในเชิงเนื้อหาของกฎหมายที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทสองประการ ได้แก่ การมีเนื้อหาของกฎหมายที่มาจากบ่อเกิดที่ชัดเจนแน่นอน สอดคล้องกับวิถีทางแห่งประชาธิปไตย เป็นไปตามครรลองแห่งลำดับศักดิ์ของกฎหมาย และมีมุมมองของการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของคู่กรณีฝ่ายเอกชนอย่างสมดุล

คุณสมบัติสองประการนี้มีรากฐานมาจากหลักทั่วไปทางกฎหมายมหาชน และเป็นสะพานสู่ความสำเร็จในการใช้สัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพในระบบกฎหมายต่าง ๆ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจบทบัญญัติและสถานการณ์การใช้บังคับกฎหมายในระบบกฎหมายไทย พบว่ายังคงมีกรณีพิพาทและข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้บ่อเกิดกฎหมายที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชน และมีการคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายเอกชนน้อยเกินไปอยู่

บทความนี้นำเสนอหลักการทางกฎหมาย ตัวอย่างกฎหมายต่างประเทศที่น่าสนใจ การสำรวจบทบัญญัติกฎหมายและสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนการประเมินและข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณสมบัติทั้งสองประการนี้ในระบบกฎหมายไทย

References

Annalisa Aschiovi, ‘Non-Financial Benefits: Another Reason to Foster the Promotion of PPPs as a Viable Alternative for Public Service Delivery’ (2014) 9 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 240.

Anne Davies, ‘Ultra Vires Problems in Government Contracts’ (2006) 122 Law Quarterly Review 98.

Anne Davies, Accountability: A Public Law Analysis of Government by Contract (Oxford University Press 2001).

Anne Davies, The Public Law of Government Contracts (Oxford University Press 2008).

Bernard Schwartz, French Administrative Law and The Common-Law World (The Lawbook Exchange 2011) 68.

Case C-110/03 Kingdom of Belgium v Commission of the European Communities [2005].

Charles Tiefer and William A. Shook, Government Contract Law (Carolina Academic Press 1999).

Christina D. Tvarno, ‘The Value of the Value for Money Principle: From a Public Private Partnership Perspective’ (2020) 15 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 282.

Christopher Bovis, ‘The Effects of the Principles of Transparency and Accountability on Public Procurement and Public Private Partnerships Regulations’ (2018) 17 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 19.

Dawn Oliver, Common Values and the Public-Private Divide (Butterworths 1999).

Feyza Basar, ‘Public Private Partnerships in Turkey’ (2008) 3 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 40.

Han Kelsen, Pure Theory of Law (University of California Press 1970).

Heinrich Siedentopf, Karl-Peter Sommermann and Christoph Hauschild, The Rule of Law in Public Administration: The German Approach (1993).

Herman Pünder and Anika Klafki, ‘Administrative Law in German’ in René Seerden (ed) Comparative Administrative Law. Administrative Law of the European Union, Its Member States and the United States (4th edn, Intersentia 2018).

Irina Zapatrina, ‘Sustainable Development Goals for Developing Economies and Public-Private Partnership’ (2016) 11 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 39.

Iryna Zapatrina, ‘State Support under PPP: New Challenges in the Context of the UN Sustainable Development Goals’ (2018) 13 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 326.

Jean Ho, State Responsibility for Breaches of Investment Contracts (Cambridge University Press 2018).

Jean Massot, ‘The Powers and Duties of The French Administrative Judge’ in Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth (eds) Comparative Administrative Law (4th edn, Edward Elgar 2010).

Jean-Bernard Auby, ‘Contracting Out and ‘Public Values’: A Theoretical and Comparative Approach’ in Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth (eds) Comparative Administrative Law (4th edn, Edward Elgar 2010).

Jean-Bernard Auby, Lucie Cluzel – Metayer and Lamprini Xenou, ‘Administrative Law in France’ in René Seerden (ed) Comparative Administrative Law: Administrative Law of the European Union, Its Member States and the United States (4th edn, Intersentia 2018).

John Allison, A Continental Distinction in the Common Law: A Historical and Comparative Perspective on English Public Law (Clarendon Press 1996).

John Bell, Sophie Boyron and Simon Whittaker, Principles of French Law (2nd edn, Oxford University Press 2008).

John Gillespie, ‘The Juridification of Administrative Complaints and Review in Vietnam’ in Tom Ginsburg and Albert H. Y. Chen (eds) Administrative Law and Governance in Asia Comparative Perspective (Routledge 2009).

Joseph Raz, The Authority of Law (Oxford University Press 1979).

Juha Raitio, The Principle of Legal Certainty in EC Law (Springer 2003).

Julia Streets, Accountability in Public Policy Partnerships (Palgrave Macmillan 2010).

Jürgen Schwarze, ‘European Administrative Law in the Light of the Treaty of Lisbon’ (2012) 2 European Public Law 285.

Mahendra P. Singh, German Administrative Law in Common Law Perspective (Springer 1985).

Maksym Sysoiev, ‘The Law on Public Private Partnership: Key Changes for Foreign Investors in Ukraine’ (2010) 5 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 237.

Mark Freedland, ‘Public Law and Private Finance - Placing the Private Finance Initiative in a Public Frame’ in Peter Cane (ed) Administrative Law (Routledge 2002).

Nikiforos Meletiadis, Public-Private Partnerships and Constitutional Law Accountability in the United Kingdom and the United States of America (Routledge 2019).

Ronald W. McQuaid, ‘The Theory of Partnership: Why have partnerships?’ in Stephen P. Osborne (ed) Public-Private Partnerships Theory and Practice International Perspective (Routledge 2000).

Slavica Jokovic, ‘Characteristics of Legal Framework for Serbian PPPs’ (2018) 13 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 113.

Stephen P Osborne, ‘Understanding Public-Private Partnerships in International Perspective: Globally Convergent or Nationally Divergent Phenomena?’ in Stephen P. Osborne (ed) Public-Private Partnerships Theory and Practice International Perspective (Routledge 2000).

Steve Selinger, ‘The Case Against Civil Ex Post Facto Laws’ (1995) 15 Cato Journal 191.

Terence Lau and Lisa Johnson, Business and the Legal and Ethical Environment (Saylor Foundation 2011).

The Economist, ‘Economics and the Rule of Law: Order in the Jungle’ (2008) <https://www.economist.com/briefing/2008/03/13/order-in-the-jungle>.

Thomas Bingham, The Rule of Law (Penguin Books 2010).

Tim Cowen, ‘“Justice Delayed is Justice Denied”: The Rule of Law, Economic Development and the Future of the European Community Courts’ (2008) 1 European Competition Journal <https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.5235/ecj.v4n1.1> .

United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) Legislative Guide on Public-Private Partnerships 2020

W. Noel Keyes, Government Contracts in a Nutshell (2nd edn, West Publishing Co. 1990) .

William Winslow Crosskey, ‘The True Meaning of the Constitution Prohibition of Ex-Post-Facto Laws’ (1947) 14 University of Chicago Law Review 539.

Yarik Kryvoi and Shaun Matos, ‘Non-Retroactivity as a General Principle of Law’ (2021) 1 Utrecht Law Review 46 <http://doi.org/10.36633/ulr.604>

Yseult Marique, Public – Private Partnerships and the Law (Edward Elgar Publishing Limited 2014).

โภคิน พลกุล, ‘สัญญาทางปกครองในกฎหมายไทย’ (Public Law Net, 6 มกราคม 2548) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=692&Page=4>.

กมลชัย รัตนสกาววงศ์, กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 8, วิญญูชน 2554).

จิตติ ติงศภัทย์, อมร จันทรสมบูรณ์ และ วิษณุ เครืองาม, ‘กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง’ ในเอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

ณัฐพงษ์ บุปผเวส, ‘ปัญหากฎหมายย้อนหลัง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, ‘ตัดสิทธิเลือกตั้ง....ย้อนหลังได้’ และ ‘หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ’ ใน เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

ธีระ สุธีวรางกูร, ระบบศาลและการพิจารณาคดีของศาลในทางกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2563).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คำอธิบายกฎหมายมหาชน (เล่ม 3) ที่มาและนิติวิธี (นิติธรรม 2538).

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ‘ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ’ ใน เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

ปารวี พิสิฐเสนากุล, ‘หลัก Clausula Rebus Sic Stantibus ในสัญญาทางปกครอง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, ‘บทวิจารณ์คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรค’ ใน เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

มานิตย์ จุมปา, ‘ศุภนิติกระบวน (Due Process of Law) ในประเทศสหรัฐอเมริกา’ ใน ไกรพล อรัญรัตน์ (บรรณาธิการ) รพี’55 (บพิธการพิมพ์ 2555).

มานิตย์ วงศ์เสรี, นิติวิธีว่าด้วยสัญญาทางปกครอง (วิญญูชน 2565).

มานิตย์ วงศ์เสรี, หลักกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครองของประเทศเยอรมัน (สำนักงานศาลปกครอง 2545).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ‘การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง หลักนิติรัฐ และศักดิ์ศรีนักกฎหมายไทย’ ใน เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (นิติราษฎร์ 2554).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3, อ่านกฎหมาย 2564).

วรพล มาลสุขุม, ‘ถอดประกอบหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณะเพื่อใช้เป็นมาตรวัดการบริหารจัดการน้ำแแร่ร้อน’ (2564) 4 วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 574.

สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและการพัสดุ (วิญญูชน 2562).

สุรพล นิติไกรพจน์, สัญญาทางปกครอง (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555).

หยุด แสงอุทัย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 22, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).

อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน, ‘คดีอนุญาโตตุลาการเหมืองชาตรี: คิงส์เกตและประเทศไทย Chatree Mine Arbitration: Kingsgate v Thailand’ (2562) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30