สะพานสู่ความสำเร็จของระบบกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นจากสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยองค์กรตุลาการ : พิจารณาจากกระบวนการทางกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • วรพล มาลสุขุม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน, การระงับข้อพิพาทโดยองค์กรตุลาการ, กระบวนการที่ใช้ในการระงับข้อพิพาท, อำนาจในการพิจารณาของศาล, วิธีพิจารณาของศาล, คำพิพากษา, การพิจารณายอมรับและบังคับหรือปฏิเสธผลการระงับข้อพิพาททางเลือก, คุณสมบัติของตุลากร

บทคัดย่อ

การจะถือว่าระบบกฎหมายใดระบบกฎหมายหนึ่งมีความเป็นธรรมในการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นจากสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยองค์กรตุลาการได้ ระบบกฎหมายนั้นพึงต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทห้าประการ ได้แก่ การกำหนดเขตอำนาจของศาลที่ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทไว้อย่างชัดเจนและเหมาะสม การกำหนดกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เปิดเผย รวดเร็ว เป็นกลางและมีการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและสิทธิในเชิงกระบวนการของคู่กรณีฝ่ายเอกชนอย่างเหมาะสม การมีคำพิพากษาศาลที่มีการให้เหตุผลและรูปแบบที่ดีและมีสถานะและสภาพบังคับที่มั่นคงแน่นอนในระดับหนึ่ง การมีกลไกระงับข้อพิพาทอื่นนอกจากศาลและมีการรับรองผลการระงับข้อพิพาทเหล่านั้นอย่างเหมาะสม และการมีศาลและตุลาการผู้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสัญญาร่วมลงทุนที่มีความเป็นกลางและอิสระ และมีความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมายและความเข้าใจในบริบทของข้อพิพาทอย่างดี

คุณสมบัติห้าประการนี้ถูกสกัดมาจากหลักทั่วไปทางกฎหมายมหาชนและตัวอย่างกฎหมายต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้สัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจบทบัญญัติและการใช้บังคับกฎหมายในประเทศไทย พบว่ายังคงมีกรณีพิพาทและข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแทรกแซงเขตอำนาจศาลปกครอง กระบวนพิจารณาที่ล่าช้าเกินสมควร ความไม่เป็นที่สุดและมั่นคงแน่นอนของคำพิพากษาศาล ตลอดจนการรับรองผลการระงับข้อพิพาทอื่นนอกจากศาลที่ล่าช้าหรือการปฏิเสธการรับรองอย่างไม่สมเหตุสมผล

บทความนี้นำเสนอหลักการทางกฎหมาย ตัวอย่างกฎหมายต่างประเทศที่น่าสนใจ การสำรวจบทบัญญัติกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการประเมินผลและข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติทั้งห้าประการนี้ในระบบกฎหมายไทย

References

‘Efficiency of Administrative Justice in Germany’ (The Association of European Administrative Judges) <https://www.aeaj.org/page/Efficiency-of-administrative-justice-in-Germany>

Abdulhay Sayed, Corruption in International Trade and Commercial Arbitration (Kluwer Law International 2004)

Alice Lawrence-Nemi, ‘Review of problems with enforcing international arbitral awards in Nigeria’ (The Guardian, 1 June 2021)) <https://guardian.ng/features/review-of-problems-with-enforcing-international-arbitral-awards-in-nigeria/>

Andrew Burrows, Justice of the Supreme Court of the United Kingdom, ‘Judgment-Writing: A Personal Perspective’ (Annual Conference of Judges of the Superior Courts in Ireland, 20 May 2021) <https://www.supremecourt.uk/docs/judgment-writing-a-personal-perspective-lord-burrows.pdf>

Anna Stier, ‘Don’t Be Late - The Risk of Arbitral Awards Becoming Unenforceable Due to Limitation Periods’ (Lexology, 24 February 2021) <https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=17beea3e-8ab9-4129-a05f-418af457ba6e>

Anne Davies, The Public Law of Government Contracts (Oxford University Press 2008).

Bernard Schwartz, French Administrative Law and The Common-Law World (The Lawbook Exchange 2011).

Christopher Bovis, ‘The Effects of the Principles of Transparency and Accountability on Public Procurement and Public-Private Partnerships Regulation’ (2009) 4 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 19.

Emmanuel Gaillard and Ilija Mitrev Penushliski, ‘State Compliance with Investment Awards’ (2021) 35 ICSID Review 540.

Herman Pünder and Anika Klafki, ‘Administrative Law in German’ in René Seerden (ed) Comparative Administrative Law. Administrative Law of the European Union, Its Member States and the United States (4th edn, Intersentia 2018).

Jean Massot, ‘The Powers and Duties of The French Administrative Judge’ in Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth (eds) Comparative Administrative Law (4th edn, Edward Elgar 2010).

Jean-Bernard Auby, ‘Contracting Out and ‘Public Values’: A Theoretical and Comparative Approach’ in Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth (eds) Comparative Administrative Law (4th edn, Edward Elgar 2010).

Jean-Bernard Auby, Lucie Cluzel – Metayer and Lamprini Xenou, ‘Administrative Law in France’ in René Seerden (ed) Comparative Administrative Law: Administrative Law of the European Union, Its Member States and the United States (4th edn, Intersentia 2018)

John Bell, Sophie Boyron and Simon Whittaker, Principles of French Law (2nd edn, Oxford University Press 2008).

Kamini Sharma, ‘Non-Execution of Arbitration Award Even After 30 Years-long Delay: SC Slams Allahabad High Court; U.P. Government to Consider Constituting Four Additional Commercial Courts’ (SCC Online, 31 May 2022). <https://www.scconline.com/blog/post/2022/05/31/non-execution-of-arbitration-award-even-after-30-years-long-delay-sc-slams-allahabad-high-court-u-p-government-to-consider-constituting-four-additional-commercial-courts/>

Mahendra P. Singh, German Administrative Law in Common Law Perspective (Springer 1985).

Malik Al Jabor, ‘Conflicts, Protests and Bad Management: Is There a Way Out for Iraq's Public Procurement Problems?’ (2021) 16 European Procurement & Public Private Partnership Law Review 260.

Mark Elliott and Jason N. E. Varuhas, Administrative Law: Text and Materials (5th edn, Oxford University Press 2017)

Paul Craig, Administrative Law (9th edn, Sweet & Maxwell 2021).

Stefanie Urchs, Jelena Mitrović and Michael Granitzer, ‘Towards Classifying Parts of German Legal Writing Styles in German Legal Judgments’ (2020) 10th International Conference on Advanced Computer Information Technologies <https://www.academia.edu/43214242/Towards_Classifying_Parts_of_German_Legal_Writing_Styles_in_German_Legal_Judgments>

Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth, ‘Comparative Administrative Law: An Introduction’ in Susan Rose-Ackermann and Peter L. Lindseth (eds) Comparative Administrative Law (4th edn, Edward Elgar 2010).

Thomas Bingham, The Rule of Law (Penguin Books 2010).

Timothy Endicott, Administrative Law (5th edn, Oxford University Press 2021).

Timothy G. Nelson and Lea Haber Kuck, ‘Enforcing International Arbitration Awards: US Courts Achieve Prompt and Efficient Enforcement, With Safeguards’ (Skadden, 21 January 2020) <https://www.skadden.com/insights/publications/2020/01/2020-insights/enforcing-international-arbitration-awards> accessed 11 September 2022.

United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) Legislative Guide on Public-Private Partnerships 2020

W. Noel Keyes, Government Contracts in a Nutshell (2nd edn, West Publishing Co. 1990).

Walter O. Weyrauch, ‘The Art of Drafting Judgments: A Modified German Case Method’ (1957) 3 Journal of Legal Education 311

Queen Mary University of London and White & Case LLP, 2018 International Arbitration Survey: The Evolution of International Arbitration <https://arbitration.qmul.ac.uk/research/2018/>

Yseult Marique, Public – Private Partnerships and the Law (Edward Elgar Publishing Limited 2014).

กิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์, ‘ผลกระทบต่อธุรกิจของ พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ พ.ศ. 2535: โมฆะหรือไม่ผูกพัน: กรณีศึกษาคำพิพากษาจากคดีจาโก้และคดีขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น?’ (2554) 1 วารสารวิชาการหอกกฎหมาย 20.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 8, วิญญูชน 2565).

จุลสิงห์ วสันตสิงห์, ‘สัญญาไม่ผูกพัน : ผลของการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535’ ใน ชัชพล ไชยพร (บรรณาธิการ) วารสารกฎหมาย ฉบับพิเศษ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสัตตมวัฏมงคล ฉลองอายุ 7 รอบนักษัตริย์ ศาสตราจารย์พิเศษธานินทร์ กรัยวิเชียร (โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (วิญญูชน 2565).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, สัญญาของทางราชการ : กฎหมายเปรียบเทียบ (วิญญูชน 2563).

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ‘เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตั้งตนเหนือศาลอื่น : พิทักษ์หรือบั่นทอนรัฐธรรมนูญ?’ (The101.world, 23 มีนาคม 2564) <https://www.the101.world/constitutional-complaint/>

ธีรวัฒน์ ว่องแก้ว, ‘อนาคตของการใช้อนุญาโตตุลาการในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนในประเทศไทย: ร่อนเร่พเนจรบนถนนสายเมฆหมอก’ ใน ณรงค์เดช สรุโฆษิต (บรรณาธิการ) แทนดอกไม้ไหว้ครู (บริษัท ส.เจริญ การพิมพ์ จำกัด 2554).

ธีระ สุธีวรางกูร, ระบบศาลและการพิจารณาคดีของศาลในทางกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).

นันทวัฒน์ บรมานันท์ และคณะ, ‘การติดตามและการประเมินผลการทำงานของศาลปกครอง’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า 2547).

นันทวัฒน์ บรมานันท์, สัญญาทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2556).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 2: การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550).

บุญอนันต์ วรรณพาณิชย์, ‘การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง’ (2564) 2 วารสารกฎหมายปกครอง <https://www.krisdika.go.th/data/ebook/Law_Journal/Administrative_Law_Journal-33-2.pdf>

ประดิษฐ์ แป้นทอง, ‘ปัญหาและแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย’ (2558) 16 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 71.

ปารวี พิสิฐเสนากุล, ‘สัญญาหลักประกันซอง’ (ศาลปกครอง) <https://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Academic/Academic_201212_123701.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565.

พีรพิชญ์ วงศ์วัฒนศานต์, ‘หลักความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554) .

มานิตย์ จุมปา, ‘ศุภนิติกระบวน (Due Process of Law) ในประเทศสหรัฐอเมริกา’ ใน ไกรพล อรัญรัตน์ (บรรณาธิการ) รพี’55 (บพิธการพิมพ์ 2555).

มานิตย์ วงศ์เสรี, หลักกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครองของประเทศเยอรมัน (สำนักงานศาลปกครอง 2545).

ยุทธนา ทิณรัตน์, ‘ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดก่อนสัญญาในสัญญาทางปกครอง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549).

ฤทัย หงส์สิริ, ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 11, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2564).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (นิติราษฎร์ 2554).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3, อ่านกฎหมาย 2564).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2564).

สรธร ธนโชตโภคิน, ‘แนวทางการปฏิรูประบบศาลปกครองของประเทศไทย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2563).

สรวิศ ลิมปรังษี, ‘บทบรรณาธิการ: อนาคตอนุญาโตตุลาการในสัญญาระหว่างรัฐและเอกชน’ (2552) วารสารอนุญาโตตุลาการ.

สุรพล นิติไกรพจน์, สัญญาทางปกครอง (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555).

สุวิมล เจียมวงศ์แพทย์, ‘คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ อ. 349/2549 วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (อุทธรณ์คำพิพากษา)’ (วุฒิสภา, 3 กันยายน 2562) <https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/7con/ad11.pdf>

อานนท์ มาเม้า และสุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ, ‘การตรวจสอบการกระทำของฝ่ายตุลาการโดยศาลรัฐธรรมนูญและผลที่ตามมา : ศึกษากรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2564 และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 81 - 83/2565 (ประชุมใหญ่)’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).

เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล และคณะ, ‘วิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานศาลปกครอง 2549).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28