การใช้เรือไร้คนขับ : ความท้าทายทางกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล

ผู้แต่ง

  • พิมพ์กมล กองโภค คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เรือไร้คนขับ, ความท้าทายทางกฎหมาย, การทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัย, หน้าที่ของผู้ขนส่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อจำกัดทางกฎหมายในการปรับใช้กับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประเด็นดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเรือไร้คนขับนั้นอยู่ในช่วงของการทดลองก่อนจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้ ในประเด็นหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล พบว่าเนื่องด้วยลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างเรือที่ใช้ในปัจจุบันกับเรือไร้คนขับ อาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่ของผู้ขนส่งโดยเฉพาะหน้าที่ในการจัดหาคนประจำเรือให้เหมาะสมทั้งในเชิงจำนวนและความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่อาจนำไปสู่ความรับผิดของผู้ขนส่งจากการใช้เรือไร้คนขับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสภาพที่ปลอดภัยของเรือและหน้าที่ของผู้ขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือขนส่งสินค้าประเภทไร้คนขับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่จำเป็นต้องกำหนดให้มีคนประจำเรืออยู่บนเรือทุกกรณี โดยให้ศาลพิจารณาหน้าที่ดังกล่าวให้สอดคล้องกับประเภทของเรือที่ใช้ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเรือ หลักสูตรฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนแน่นอนในทางกฎหมาย ลดปัญหาข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางทะเล

References

กวีพล สว่างแผ้ว, Rotterdam Rules กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล (สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2555).

กำชัย จงจักรพันธ์, กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2559).

ประมวล จันทร์ชีวะ, 101 ศัพท์พาณิชยนาวี (โครงการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2546).

ไผทชิต เอกจริยกร, กฎหมายพาณิชยนาวี ตอน 2 (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2547).

ไผทชิต เอกจริยกร, คำอธิบายรับขนของทางทะเล (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2560).

สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์, ‘ปัญญาประดิษฐ์ในการให้บริการของภาครัฐ’ <https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Articles/AI-in-Government-Services.aspx> สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565.

Brian A. Garner, Black’s Law Dictionary (8th edn, Thomson/West 2004).

International Maritime Organization (IMO), ‘Autonomous shipping’ <https://www.imo.org/en/MediaCentre/HotTopics/Pages/Autonomous-shipping.aspx> สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565.

G. H. Treitel, Francis Martin Baillie Reynolds, Thomas Gilbert Carver, Carver on Bills of Lading (3rd edn, Sweet & Maxwell 2011).

John Beecroft Saunders, Words and Phrases Legally Defined volume 5 S-Z (2nd edn, Butterworths 1970).

Lok Kan So, Poomintr Sooksripaisarnkit, ‘Seaworthiness and Autonomous Ships: Legal Implications in the 21st Century’ (2021) 35 Australian and New Zealand Maritime Law Journal 21.

Nikolaos Kampantais, ‘Seaworthiness in Autonomous Unmanned Cargo Ships’ (Master Thesis Erasmus University Rotterdam 2016).

Robin Kellermann, Tobias Biehle, Liliann Fischer, ‘Drones for parcel and passenger transportation: A literature review’ (2020) 4 Transportation Research Interdisciplinary Perspectives 1.

Shipowner’s Club. ‘Unmanned and Autonomous Vessels – The Legal Implications from a P&I Perspective’<https://www.shipownersclub.com/media/2017/12/Unmanned-and-autonmous-vessels_the-legal-implications1217.pdf> สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565.

Simon Baughen, ‘Who is the master now? Regulatory and contractual challenges on unmanned vessels’ in Baris Soyer, Andrew Tettenborn (eds) New Technologies, artificial intelligence, and shipping law in the 21st century (Routledge 2019).

United Nation, ‘Status: United Nations Convention on the Carriage of Goods by Sea (Hamburg, 1978) (the "Hamburg Rules")’ <https://uncitral.un.org/en/texts/transportgoods/conventions/hamburg_rules/status> สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565.

Yavar Bathaee, ‘The Artificial Intelligence: black box and the failure of causation and intent’ (2018) 31 Harvard Journal of Law and Technology 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30