หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตลาดการให้บริการโทรทัศน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การเข้าสู่ตลาด, การให้บริการโทรทัศน์, แพลตฟอร์มดิจิทัล, การให้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบทคัดย่อ
การพัฒนาทางเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแพร่ภาพที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การหลอมรวมเทคโนโลยี” (technology convergence) ซึ่งมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการหลอมรวมขีดความสามารถของเทคโนโลยี เพื่อใช้ส่งเนื้อหา ทำให้บริการแพร่ภาพกระจายเสียง (audiovisual service) ในกิจการโทรทัศน์สามารถถูกเผยแพร่ไปสู่อุปกรณ์และโครงข่ายที่หลากหลาย (platform)
จากการพัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแพร่ภาพ ส่งผลให้ขอบเขตการให้บริการแพร่ภาพกระจายเสียงในรูปแบบของการให้บริการโทรทัศน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือบริการ OTT TV เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในตลาดการให้บริการโทรทัศน์ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้ให้บริการ OTT TV สัญชาติไทย และผู้ให้บริการ OTT TV ต่างประเทศที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (traditional television) และก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์แบบดั้งเดิม และผู้ให้บริการ OTT TV และเมื่อพิจารณากฎหมายในปัจจุบัน พบว่าปัญหาการเข้าสู่ตลาดเป็นปัญหาสำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการกำกับดูแลการให้บริการ OTT TV ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ เนื่องจากรัฐเกรงว่าผู้ประกอบการภายในประเทศอาจเสียเปรียบ หรืออาจได้รับผลประโยชน์จากการแข่งขันทางการค้าน้อยกว่าผู้ประกอบการต่างประเทศ จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อปกป้องหรือคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศให้ยังคงความได้เปรียบ ประกอบกับเหตุผลด้านความมั่นคง และการสงวนทรัพยากรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์ของคนในประเทศ
นอกจากนี้ บทบัญญัติทางกฎหมายประการสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตลาดการให้บริการโทรทัศน์ภายในประเทศ คือ การกำหนดสัดส่วนสัญชาติของผู้ให้บริการโทรทัศน์ภายในประเทศที่ไม่สอดรับกับการพัฒนาของเทคโนโลยีจนส่งผลทำให้บทบัญญัติทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันขาดสภาพการบังคับใช้ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดการให้บริการโทรทัศน์ภายในประเทศ และศักยภาพของผู้ให้บริการโทรทัศน์ไทยในตลาดสากล
การศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย ตลอดจนความตกลงระหว่างประเทศในประเด็นสัดส่วนสัญชาติของผู้ให้บริการโทรทัศน์ เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ให้บริการ OTT TV เข้าสู่ตลาด เพื่อประโยชน์ในการนำไปสู่แนวทางหรือกลไกที่เหมาะสมทางกฎหมาย อันจะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการกำกับดูแลรักษาประโยชน์สาธารณะ และการคุ้มครองประโยชน์ของ
ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยต่อไป
References
เอกสารอ้างอิงภาษาต่างประเทศ
Amanda D Lotz, We Now Disrupt This Broadcast: How Cable Transformed Television and the Internet Revolutionized It All (MIT Press 2018).
Department of Economic and Social Affairs, Central Product Classification (CPC) Version 2.1 (United Nations 2015).
European Commission, ‘Public consultation on the regulatory environment for platforms, online intermediaries, data and cloud computing and the collaborative economy’ (European Commission, 24 September 2015) <https://ec.europa.eu/ digital-agenda/en/news/public-consultation-regulatory-environment-platforms-online-intermediaries-data-and-cloud.> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.
Harold Feld, The Case for the Digital Platform Act: Market Structure and Regulation of Digital Platforms (Roosevelt Institute 2019) <https://rooseveltinstitute.org/wp-content/uploads/2020/07/RI-Case-for-the-Digital-Platform-Act-201905.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.
Infocomm Media Development Authority, ‘Content Code for Over-the-top, Video-on-demand and Niche Services’ (2019) <https://www.imda.gov.sg/-/media/imda/files/regulation-licensing-and-consultations/codes-of-practice-and-guidelines/acts-codes/ott-vod-niche-services-content-code-1mar2018.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.
Ofcom, Ofcom’s first year of video-sharing platform regulation (Ofcom 2022) <https://www.ofcom.org.uk/__data/assets/pdf_file/0032/245579/2022-vsp-report.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.
เอกสารอ้างอิงภาษาไทย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ‘รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาผลกระทบของ OTT ต่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และแนวทางการส่งเสริมและกำกับดูแล เล่ม 4’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 2563).
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.), บทสรุปผลการศึกษาบริการ Over the Top และข้อเสนอแนวทางกำกับดูแล (สำนักงาน กสทช. 2564)
สำนักงาน กสทช., รายงานสรุปผลการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันกิจการโทรทัศน์ในยุคการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของประเทศไทย (สำนักงาน กสทช. มปป.).
สำนักงาน กสทช., สภาพการแข่งขันและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ Over The Top: OTT (สำนักงาน กสทช. 2564).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ