ร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. .... ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระค่าสินไหมทดแทนล่าช้าหรือไม่?

ผู้แต่ง

  • ธีระรัตน์ จีระวัฒนา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล, การจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า, ค่าเสียหายจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า

บทคัดย่อ

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. .... ในการร่างกฎหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เลือกนำเอากฎหมายประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาเป็นต้นแบบ อย่างไรก็ตามในขณะที่มีการดำเนินการร่างและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ฯ นั้น ในปี พ.ศ. 2559 Enterprise Act 2016 ของประเทศอังกฤษได้เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าลงใน Insurance Act 2015 จึงเป็นที่มาของปัญหาหลักในบทความฉบับนี้ว่าประเทศไทยควรจะแทรกบทบัญญัติเรื่องดังกล่าวลงในร่างพระราชบัญญัติ ฯ เช่นเดียวกับกฎหมายอังกฤษด้วยหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าในประเทศอังกฤษมีที่มาจากเหตุผลเฉพาะ กล่าวคือ กฎหมายอังกฤษถือว่าหน้าที่ในการใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้รับประกันภัยเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าได้ตามหลักการไม่สามารถเรียกค่าเสียหายจากค่าเสียหายได้ Enterprise Act 2016 ได้แก้ปัญหานี้ด้วยการกำหนดให้ในสัญญาประกันภัยทุกฉบับมีข้อสัญญาโดยปริยายว่าผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในระยะเวลาอันสมควร และด้วยข้อสัญญาโดยปริยายนี้ หากผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าย่อมถือเป็นการผิดข้อสัญญาโดยปริยาย อันจะทำให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าได้ในฐานะค่าเสียหายเช่นเดียวกับการผิดสัญญาทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายไทยแล้ว หน้าที่ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นหนี้อย่างหนึ่ง หากมีการชำระหนี้ล่าช้าแล้วทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าในร่างพระราชบัญญัติ ฯ เช่นเดียวกับกฎหมายอังกฤษ เพราะผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกค่าเสียหายจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าได้อยู่แล้วตามระบบกฎหมายไทย

References

หนังสือ

ภาษาไทย

จำรัส เขมะจารุ, กฎหมายลักษณะประกันภัย (สำนักงานศาลยุติธรรม 2558).

จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 15, วิญญูชน 2563).

จี๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้ (จิตติ ติงศภัทิย์ ผู้ปรับปรุง, พิมพ์ครั้งที่ 2, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2522).

ไชยยศ เหมะรัชตะ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 6, นิติธรรม 2556).

ดาราพร ถิระวัฒน์, กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 1, โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554).

ประมูล สุวรรณศร, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 2493).

พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะประกันภัย (กรุงสยามพับลิชชิ่ง 2558).

ไพโรจน์ วายุภาพ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 11, สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2559).

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, กฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้) (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2565).

สรพลจ์ สุขทรรศนีย์, คำอธิบายกฎหมายประกันภัย ศึกษาแบบเรียงมาตรา (พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2553).

สิทธิโชค ศรีเจริญ, หลักกฎหมายประกันภัย (วิญญูชน 2561).

สุมาลี วงษ์วิฑิต, กฎหมายว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2548).

เสนีย์ ปราโมช, นิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบูรณ์) (มุนินทร์ พงศาปาน ผู้ปรับปรุง, พิมพ์ครั้งที่ 3, กองทุนศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2560).

โสภณ รัตนากร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 10, นิติบรรณาการ 2553).

อรพรรณ พนัสพัฒนา, คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 10, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2565).

ภาษาต่างประเทศ

Andrew Tettenborn, ‘Late Payment of Claims’ in Malcolm Clarke and Bariş Soyer (eds) The Insurance Act 2015 a New Regime for Commercial and Marine Insurance Law (1st edn, Informa Law from Routledge 2017).

Christopher Hancock and Thomas Leary, ‘The Insurer’s Obligations of Good Faith and the Insurance Act 2015’ in Rhidian Thomas (ed) The Modern Law of Marine Insurance (Informa Law from Routledge 2016).

David Hertzell, ‘The Insurance Act 2015 Background and Philosophy’ in Malcolm Clarke and Bariş Soyer (eds) The Insurance Act 2015 a New Regime for Commercial and Marine Insurance Law (1st edn, Informa Law from Routledge 2017).

Ewan McKendrick, Contract Law (12th edn, Palgrave, 2017).

Geoff Monahan, Essential Contract Law (2nd edn, Cavendish Publishing 2016).

George E. Rejda and Michael J. Mcnamara, Principle of Risk Management and Insurance (13th edn, Pearson Education 2017).

Guenter Treitel, The Law of Contract (11th edn, Sweet & Maxwell, 2003).

Guy Blackwood QC, Simon Rainey QC, and David Walsh, Chalmers' Marine Insurance Act 1906 (11th edn Bloomsbury Professional 2018).

Indira Carr, International Trade Law (4th edn, Routledge-Cavendish 2010).

Jonathan Gilman, Mark Templeman, Claire Blanchard, Philippa Hopkins, and Neil Hart, Arnould on the Law of Marine Insurance and Average (19th edn, Sweet & Maxwell 2018).

Kyriaki Noussia, The Principle of Indemnity in Marine Insurance Contracts (Springer 2007).

Marko Pavliha and Adriana Vincenca Padovan, ‘Law of Maritime Insurance’ in David Joseph Attard, M. Fitzmaurice, Norman A. Martínez Gutiérrez, (eds) The IMLI Manual on International Maritime Law: Shipping Law (Oxford University Press 2016).

Richard Austen-Banker, Implied Terms in English Contract Law (2nd edn, Edward Elgar Publishing 2017).

Robert Merkin, Marine Insurance Legislation (5th edn, Informa Law from Routledge 2014).

Susan Hodges, Law of Marine Insurance (Cavendish Publishing Limited 1996).

บทความ

ภาษาไทย

กองนิติการและการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี, ‘ประเทศไทยควรจะมีพระราชบัญญัติประกันภัยทางทะเลหรือไม่’ (2540) 1 วารสารการพาณิชยนาวี 76.

กำชัย จงจักรพันธ์, ‘การพัฒนากฎหมายประกันภัยทางทะเลในประเทศไทย: ข้อพิจารณาบางประการในการร่างกฎหมาย’ (2549) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 219.

สรศักดิ์ ทันตสุวรรณ, ‘สัญญาประกันภัยทางทะเลมีสภาพบังคับเหนือกฎหมายจริงหรือ’ (2544) 149 ธุรกิจก้าวหน้า 36.

ภาษาต่างประเทศ

Alexander Westin-Hardy, 'Damages for Late Payment of Insurance Claims: A Satisfactory Solution?' (2020) 5 Cambridge Law Review 31.

Franziska Arnold-Dwyer, ‘Insurance Law Reform by Degrees: Late Payment and Insurable Interest’ (2017) 3 The Modern Law Review 489.

Lok Kan So, 'Late Payment of Insurance Claim and Potential Technological Solutions in UK Law' (2020) 3 European Insurance Law Reviews 16.

Malcolm Clarke, 'Late Payment of Insurance Money' (2012) 5 Erasmus Law Review 115.

Neil Campbell, ‘The Nature of an Insurer’s Obligation’ (2000) 1 Lloyd’s Maritime and Commercial Law Quarterly 42.

อื่น ๆ

ภาษาไทย

กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, ‘ข่าวกระทรวงการคลัง ร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ....’ (รัฐบาลไทย, 8 มกราคม 2562) <https://media.thaigov.go.th/uploads/document/142/2019/01/pdf/Doc_20190108162614000000.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.

กำชัย จงจักรพันธ์, ‘การพัฒนากฎหมายประกันภัยทางทะเลในประเทศไทย : ข้อพิจารณาบางประการในการร่างกฎหมาย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544).

คณะกรรมการเพื่อศึกษาความจำเป็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ...., รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2558 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2558).

คณะกรรมการเพื่อศึกษาความจำเป็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ...., รายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2559 (28 มีนาคม พ.ศ. 2559).

คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการเงิน การคลัง วุฒิสภา, ‘บทบาทและทิศทางการประกันภัยและนัยเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม’ วุฒิสภา, ธันวาคม 2563) <https://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext86/86339_0001.PDF> 40. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.

สมาคมประกันวินาศภัย, คู่มือประกันวินาศภัยไทย 2564 <https://www.tgia.org/upload/book_file/265/book_file265.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

Barnaby Winckler, ‘Enterprise Act 2016: damages for late payment of claims to come into force May 2017’ (Kennedys, 25 May 2016) <https://kennedyslaw.com/thought-leadership/article/enterprise-act-2016-damages-for-late-payment-of-claims-to-come-into-force-may-2017/> สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565.

Clare Feist, ‘Evaluating damages for late payment of insurance claims under UK law’ (Lockton, 7 July 2022) <https://global.lockton.com/gb/en/news-insights/evaluating-damages-for-late-payment-of-insurance-claims-under-uk-law> สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565.

Clyde & Co, ‘Insurance Act 2015 Shaking up a century of insurance law’ (Clyde & Co, June 2016) <https://www.clydeco.com/clyde/media/fileslibrary/Admin/CC010256_Insurance_Act_2015_26-07-16-web.pdf> สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565.

Comité Maritime International, ‘CMI Yearbook’ 2000.

Department for Business, Innovation and Skills, Enterprise Act 2016 Explanatory Notes 2016.

Department for Business, Innovation and Skills, Enterprise Bill: Late Payment of Insurance Claims 2016.

Financial Conduct Authority, Financial Conduct Authority’s Insurance: Conduct of Business Sourcebook (ICOBS) on Claims Handling 2016.

HM Treasury, Impact Assessment - Late Payment of Insurance Claims (2 September 2015) (IA No: LAWCOM004X).

Kristy Luff, ‘Is an Insurer Responsible for Damages where Payment of a Claim is Delayed?’ (lexology, 5 September 2022) <https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=83f1d68f-a4d3-4582-be17-58aeef87e408> สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565.

Kyri Evagora, Elizabeth Farrell, Jemma A. Collins, and Tom Watling, ‘Reed Smith In-depth Quadra Commodities S.A. v XL Insurance & Ors [2022] EWHC 431 (Comm)’ (Reed Smith, 7 March 2022) <https://www.reedsmith.com/en/perspectives/2022/03/quadra-commodities-sa-v-xl-insurance-and-ors-2022> สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565.

Lyons Davidson, “Late Payment of Insurance Claims: Understanding the New Rules on Reasonable Time” (Lyons Davidson Solicitor, 12 June 2017) <https://www.lyonsdavidson.co.uk/late-payment-insurance-claims-new-rules-reasonable-time/> สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565.

Martha Castaneda Wilcox, ‘Insurers no longer have time on their side to pay claims: part 2/2: what does the new law mean for insureds, brokers and insurers?’ (Thomson Reuters, 24 May 2017) <http://disputeresolutionblog.practicallaw.com/insurers-no-longer-have-time-on-their-side-to-pay-claims-part-22-what-does-the-new-law-mean-for-insureds-brokers-and-insurers/> สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.

Philip Hill, Christopher Ingham and Baljit Rai, ‘Damages for Late Payment of Insurance Claims: Time for Change’ (Clifford Chance, March 2017) <https://www.cliffordchance.com/content/dam/cliffordchance/briefings/2017/03/damages-for-late-payment-of-insurance-claims-time-for-change.pdf> สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565.

The Law Commission and The Scottish Law Commission, Insurance Contract Law: A Joint Scoping Paper (2006).

The Law Commission and the Scottish Law Commission, Insurance Contract Law: Business Disclosure; Warranties; Insurers' Remedies for Fraudulent Claims; and Late Payment Law Com No 353/Scot Law Com No 238 (2014).

The Law Commission and The Scottish Law Commission, Insurance Contract Law Issues Paper 6 Damages for Late Payment and the Insurer’s Duty of Good Faith (2010).

The Law Commission and The Scottish Law Commission, Insurance Contract Law: Post Contract Duties and other Issues LCCP 201 / SLCDP 152 (2011).

The Law Commission and the Scottish Law Commission, Insurance Contract Law Summary of Respond to Issues Paper 6 Damages for Late Payment and the Insurer’s Duty of Good Faith (2010).

The Law Commission and the Scottish Law Commission, Insurance Contract Law: The Business Insured’s Duty of Disclosure and the Law of Warranties: Joint Consultation Summary LCCP 204/SLCDP 155 (Summary) (2012).

The Law Commission and The Scottish Law Commission, Reforming Insurance Contract Law Summary of Responses to Second Consultation Paper Post Contract Duties and other Issues Chapter 1: Damages for Late Payment (2012).

UNTAD, ‘Legal and Documentary Aspects on Marine Insurance Contract’ (August 1982) TD/B/C.4/ISL27/Rev.1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30