การโอนกิจการบางส่วนภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย
คำสำคัญ:
การโอนกิจการ, มาตรการเชิงโครงสร้าง, กฎหมายการแข่งขันทางการค้าบทคัดย่อ
มาตรา 60 และ 52 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ในการกำหนดมาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าได้อย่างกว้างขวางทั้งมาตรการเชิงพฤติกรรมและมาตรการเชิงโครงสร้าง มาตรการเชิงโครงสร้างที่กำหนดอาจอยู่ในรูปแบบการกำหนดให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน การกำหนดให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นมาตรการที่มีความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกบังคับใช้มากที่สุด ดังนั้น กขค. ควรกำหนดกรอบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาบังคับใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวเป็นไปอย่างรอบคอบ ลดความเบี่ยงเบนในการใช้ดุลพินิจ และทำให้ทุกกรณีได้รับการพิจารณาอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ทั้งทำให้ผู้ประกอบธุรกิจรับรู้ถึงหลักเกณฑ์ที่อาจจะถูกบังคับใช้มาตรการอันรุนแรงดังกล่าว เป็นการป้องปรามผู้ประกอบธุรกิจที่คิดจะฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันทางการค้า
บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะมาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนของผู้ประกอบธุรกิจ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการพิจารณาใช้มาตรการแต่ละลักษณะ ตลอดจนตัวอย่างหลักเกณฑ์การพิจารณาใช้มาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าเชิงโครงสร้าง โดยการบังคับให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนของกฎหมายต่างประเทศ ประกอบการวิเคราะห์พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ และกฎหมายอื่นของประเทศไทยที่อาจเกี่ยวข้องในการพิจารณาใช้มาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าเชิงโครงสร้างโดยการบังคับให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อนำมาหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการกำหนดมาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าเชิงโครงสร้างโดยการบังคับให้โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน
References
Ariel Ezrachi, 'Under (and Over) Prescribing of Behavioural Remedies' (The University of Oxford Centre for Competition Law and Policy, Working Paper (L) 13/05 2005) <https://papers.ssrn.com/sol3/papers. cfm?abstract_id=913773> สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565.
Daniel E Wolf and David B Feirstein, ‘Contract Rights and Spin-off Transactions’ (Harvard Law School Forum on Corporate Governance, 4 December 2017) <https://corpgov.law.harvard.edu/2017/12/04/contract-rights-and-spin-off-transactions/> สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2565.
Florian Wagner-von Papp, 'Remedies, Sanctions and Commitments' in Akman, Brook and Stylianou (eds) Research Handbook on Abuse of Dominance and Monopolization (Edward Elgar Publishing 2023).
Felix Lessambo, U.S. Mergers and Acquisitions: Legal and Financial Aspects (Springer Nature Switzerland 2021).
Frank P Maier-Rigaud, 'Behavioural versus Structural Remedies in EU Competition Law' in Philip Lowe, Mel Marquis and Giorgio Monti (eds.) European Competition Law Annual 2013, Effective and Legitimate Enforcement of Competition Law (Hart Publishing 2016).
Joseph Joy, Divestitures and Spin-Offs: Lessons Learned in the Trenches of the World’s Largest M&A Deals (Springer 2018).
Joseph W Cornell, Spin-off to Pay-off: An analytical Guide to Investing in Corporate Divestitures (McGaw-Hill 1998).
Organisation for Economic Co-Operation and Development (OECD), 'Policy Roundtables: Remedies and Sanctions in Abuse of Dominance Cases' (2006) <https://www.oecd.org/competition/abuse/38623413.pdf> สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565.
OECD, 'Report on Experiences with Structural Separation' (2012) <https://www.oecd. org/daf/competition/50056685.pdf> สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565.
OECD, The Divestiture of Assets as a Competition Remedy: Stocktaking of International Experiences (pdf, OECD 2019) <https://www.oecd.org/daf/competition/divestiture-of-assets-competition-remedy-ENG-web.pdf> สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2565.
Peter Alexadis and Elsa Sependa, 'Structural Remedies under European Union Antitrust Rules' (2013) 2 Concurrences 12 <https://www.gibsondunn.com/wp-content/uploads/documents/publications/ AlexiadisSependa-StructuralRemedies.pdf> สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565.
Thummuluri Siddaiah, Financial Services (Pearson Education 2011).
William J Gole and Paul J Hilger, Corporate Divestitures: A Merger and Acquisitions Best Practices Guide (Wiley 2008).
Yasuhiro Monden and others (eds), Value-based Management of The Rising Sun (World Scientific Publishing 2006).
คดี
Standard Oil Co. of New Jersey v. United States 221 U.S. 1 (1911).
United States v. American Telephone and Telegraph Co., 552 F. Supp. 131 (D.D.C. 1982).
United States v. American Tobacco Co. 221 U.S. 106 (1911).
United States v. Griffith 334 U.S. 100 (1948).
United States v. Microsoft Corp. 253 F.3d 34 (D.C. Cir.) Cert. denied, 534 U.S. 952 (2001).
United States v. Paramount Pictures, Inc. 334 U.S. 131 (1948).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ