การปรับปรุงกฎหมายประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับของประเทศไทย : ศึกษากรณีปัญหาการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

ผู้แต่ง

  • ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ, การเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, อุบัติเหตุทางรถยนต์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสถิติอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นเป็นหนึ่งในปัญหาสังคมที่นำมาซึ่งความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในจำนวนที่สูงขึ้นทุกวัน แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ขึ้นเพื่อเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ แต่ผลจากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ยังคงมีปัญหาอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็น ปัญหาด้านจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่แท้จริง,ปัญหาด้านความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ไม่ครอบคลุมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกและปัญหาด้านการหลบเลี่ยงไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ นอกเหนือจากปัญหาดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัญหาทางด้านการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาด้วย เพราะในทางปฏิบัติในการที่ศาลจะกำหนดโทษที่จะลงกับผู้กระทำผิดในกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ศาลจะนำการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งที่ผู้ก่อเหตุชดเชยให้กับฝ่ายผู้เสียหายมาประกอบการพิจารณาเป็นสำคัญด้วย โดยหากฝ่ายผู้ก่อเหตุไม่เยียวยาผู้เสียหายให้เหมาะสม ศาลมักจะใช้ดุลยพินิจในเลือกการลงโทษที่รุนแรง เช่น การจำคุก เพื่อเป็นการชดเชยให้แก่ฝ่ายผู้เสียหาย ซึ่งแม้จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน แต่การลงโทษดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นและขัดต่อวัตถุประสงค์ของการลงโทษสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการลงโทษการกระทำความผิดโดยเจตนา ที่มีผลร้ายแรงและกระทบต่อสังคมมากกว่า

การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับในต่างประเทศเปรียบเทียบกับของประเทศไทยพบว่า กฎหมายของต่างประเทศมีความคุ้มครองในระดับที่สูงกว่าของประเทศไทย บทความนี้จึงขอเสนอแนะให้มีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับในประเทศไทยโดยให้เพิ่มเติมวงเงินให้เพียงพอต่อความเสียหายที่แท้จริงและเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเคร่งครัดเพื่อเพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับอีกด้วย

References

กองแผนงาน กลุ่มสถิติการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก, รายงานสถิติการขนส่งประจำปี 2565 (กรมการขนส่งทางบก 2565).

จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 15, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2563).

ไชยยศ เหมะรัชตะ, 108 ปัญหาประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 5, นิติธรรม 2553).

พฤฒิ บุญเกษมสันติ, ความมหัศจรรย์ของรถยนต์ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช.เอน.การพิมพ์, 2530).

สรศักดิ์ ทันตสุวรรณ, การประกันภัยรถยนต์ (สมาคมประกันวินาศภัย 2538).

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ‘การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)’ (คปภ. 2566) <https://www.oic.or.th/th/education/insurance/vehicle/voluntary> สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, ‘ประวัติความเป็นมาของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย’ (คปภ. 2566) <https://www.oic.or.th/th/about/introduction> สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.

สุเมธ องกิตติกุล และคณะ, 'อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ: ผลกระทบ การประกันภัย และการชดเชยเยียวยา' (รายงาน

วิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2556).

European Union, ‘Types of legislation’ (European Union, 2023) <https://european-union.europa.eu/institutions-law-budget/law/types-legislation_en> สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566.

World Health Organization, Global status report on road safety 2018 (WHO 2018).

Ohio History Central, ‘World's First Automobile Insurance Policy’ (Ohio History Central, 2023) <http://www.ohiohistorycentral.org/w/World's_First_Automobile_Insurance_Policy> สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31