หลักกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในสถานชีวาภิบาล

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, สถานชีวาภิบาล, การดูแลผู้สูงอายุ, การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, ระบบการดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

สถานชีวาภิบาลเป็นนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญของรัฐบาล โดยสถานชีวาภิบาลจะให้การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยระยะท้ายทุกกลุ่มวัย โดยการดูแลในสถานชีวาภิบาลนี้จะผนวกเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลระยะยาว และการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งเรื่องเหล่านี้กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทยเนื่องมาจากสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รุนแรงและรักษาไม่หายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เกินจำเป็นเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย ประกอบกับประชาชนตื่นตัวสิทธิในชีวิตร่างกายและต้องการที่จะตัดสินใจในการดูแล ออกแบบชีวิตตนเองจนกระทั่งเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต ทำให้กระบวนทัศน์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ระดับบุคคล จนถึงกฎหมายและนโยบายของรัฐ เรื่องการดูแลแบบชีวาภิบาลจะมีทั้งประเด็นทางจริยธรรม กฎหมายและนโยบายของรัฐ ซึ่งนักกฎหมาย บุคลากรด้านสุขภาพและประชาชนทั่วไปควรทำความเข้าใจ

บทความนี้มุ่งนำเสนอประเด็นข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานชีวาภิบาลหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับสถานชีวาภิบาล อาทิ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดูแลแบบชีวาภิบาล ประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์ รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหลักความยินยอมในการรักษาพยาบาล ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับญาติในเวชปฏิบัติ การตัดสินใจในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติและผู้ป่วยกลุ่ม LGBTQ การแจ้งผลการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคตามความเป็นจริงและการแจ้งข่าวร้าย  ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในทางนิตินโยบายของรัฐไทยในเรื่องการดูแลแบบชีวาภิบาลต่อไป

References

Deborah Carr,Elizabeth A Luth,‘Advance Care Planning: Contemporary Issues and Future Directions’(1 March 2017) <https://academic.oup.com/innovateage/article/1/1/igx012/4096494> สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566.

Erin Sand others, ‘Who Decides When a Patient Can’t? Statutes on Alternate Decision Makers’ (26 July 2017)<https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5527273/> สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566.

Olsenand others,‘Ethical decisionmaking with end-of-life care: palliative sedation and withholdingand withdrawing life-sustaining treatments’ (October 2010) <https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20805544/> สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2566.

Poonam Bhyanand others,‘Utsav Shrestha;Amandeep Goyal.Palliative Sedation in Patients With Terminal Illness’ (10 Mat 2022) <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470545/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566.

ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 250/2546 เรื่อง การปฏิเสธการถ่ายเลือดของกลุ่มศาสนาคริสเตียนพยานพระยะโฮวา.

คคพงศ์ วงศ์คำ, ‘นโยบายและกฎหมายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง’(สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล 2559).

พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน,‘ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่อนุญาตให้ยุติชีวิตผู้ป่วย’ (2565) 51(4) วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 961.

พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน. ‘ประเด็นในทางปฏิบัติของหลักความยินยอมในการรักษาพยาบาล’ (2564) 51(4) วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 622.

รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ,‘Ethical issues at the end-of-life ประเด็นจริยธรรมในวาระสุดท้ายของชีวิต’ ในชัยรัตน์ ฉายากุล และคณะ(บรรณาธิการ)จริยธรรมทางการแพทย์ (1 มิถุนายน 2555).

วันเพ็ญ บุญประกอบ,‘Principle of medical ethic หลักของเวชจริยศาสตร์’ในชัยรัตน์ ฉายากุล และคณะ(บรรณาธิการ) จริยธรรมทางการแพทย์ (1 มิถุนายน 2555).

แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ‘ความยินยอมเพื่อรับการรักษากับการรักษาพยาบาลเชิงพาณิชย์’ (2558) 2 วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 138.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31