การศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายในกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส
คำสำคัญ:
ปัญหาข้อเท็จจริง, ปัญหาข้อกฎหมาย , ดุลยพินิจของศาลบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายในกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายสำคัญยิ่งในกระบวนการพิจารณาคดี ประการแรก เพราะเป็นตัวกำหนดภาระในการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดี หากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงคู่ความจะมีหน้าที่ในการนำพยานหลักฐานเข้าพิสูจน์ต่อศาล แต่หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะเป็นผู้หยิบยกประเด็นขึ้นมาว่ากล่าวในศาลแม้คู่ความจะมิได้ร้องขอเพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดให้ในบางกรณีผู้พิพากษาสามารถหยิบยกประเด็นใด ๆ ขึ้นมาพิจารณาได้เองแม้ว่าคู่ความมิได้ร้องขอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายฝรั่งเศส เพราะว่าปัญหาข้อกฎหมายถือว่าเป็นอำนาจของศาล นอกจากนี้ ในบางกรณีแม้ว่าข้อพิพาทจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงกฎหมายก็กำหนดว่าผู้พิพากษาสามารถหยิบยกประเด็นขึ้นมาพิจารณาได้แม้ว่าคู่ความจะไม่ได้ร้องขอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายฝรั่งเศส สิ่งที่สำคัญที่ควรเน้น คือ เรื่องของเส้นแบ่งระหว่างการที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาพิจารณาเกินคำขอและการใช้อำนาจในกรณียกเว้นหรือในกรณีที่จำเป็นซึ่งกฎหมายกำหนดว่าผู้พิพากษาอาจใช้อำนาจหยิบยกบางประเด็นขึ้นมาพิจารณาเองได้แม้คู่ความมิได้ร้องขอ การศึกษานี้ช่วยให้ทราบถึงเกณฑ์ในการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายทั้งในระบบกฎหมายไทยและฝรั่งเศส
ประการที่สอง การศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นตัวกำหนดว่าข้อพิพาทจะสามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงได้หรือไม่ ในกฎหมายฝรั่งเศสเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นที่จะสามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดได้ ส่วนกฎหมายไทยในปัจจุบันหลังจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จากระบบสิทธิเป็นระบบอนุญาต ทำให้มีความเข้มงวดในการคัดกรองคดีขึ้นสู่ศาลฎีกามากขึ้นโดยจะเน้นเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่สามารถฎีกาได้ การแยกแยะระหว่างปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอาจทำได้ง่ายในกรณีทั่วไป แต่ในบางกรณีการแยะแยกกลับทำได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ประเด็นข้อพิพาทนั้นเป็นได้ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งในกรณีเช่นนี้กฎหมายฝรั่งเศสมีแนวคิดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาสำหรับนักกฎหมายไทย
References
ภาษาไทย
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ, คำอธิบายกฎหมายลักษณพิจารณาคำพยานหลักฐาน (พิศาลบรรณนิติ์ 2458).
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ (2566)
ธานิศ เกศวพิทักษ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (สำนักพิมพ์ กรุงสยาม 2555).
ภาษาต่างประเทศ
Anne Danis-Fatôme, ‘La mesure des dommages et intérêts : question de fait ou question de droit ?
Pour un renforcement du contrôle de la motivation des juges du fond’ (2019) 115 Revue des contrats 160.
Gaëtan Guerlin, ‘La mesure des dommages et intérêts par la Cour de cassation’ (2019) 115 Revue des contrats 182.
Henri Motulsky, Droit processuel (Montchrestien 1973).
Henri Motulsky, ‘La cause de la demande dans la délimitation de l'office du juge’ in Chronique XXXIV (Dalloz 1964).
Jacques Dupichot, ‘L’adage da mihi factum, dabo tibi jus : Propos sur les obligations et quelques autres thèmes fondamentaux du droit’ in Mélanges offertes à Jean-Luc Aubert (Dalloz 2005).
Jacques Normand, ‘Le juge et le fondement du litige’ in Mélanges offertes à Pierre Hebraud (Université des sciences sociales de Toulouse 1981).
Loïc Cadiet and Emmanuel Jeuland, Droit judiciaire privé (11th edn, LexisNexis, 2020).
Loïs Raschel, Droit processuel de la responsabilité civile (IRJS, 2010).
Miguet Jacques, ‘Réflexions sur le pouvoir des parties de lier le juge par les qualifications et points de droit’ in Mélanges offertes à Pierre Hebraud (Univ. Sc. soc. Toulouse 1981).
Serge Guinchard, Droit et pratique de la procédure civile (9th edn, Dalloz Action 2016).
Gaëtin Guerlin, ‘La mesure des dommages et intérêts par la Cour de cassation’ in L’évaluation des dommages et intérêts : question de fait ou question de droit ?’ (2019) Revue de Droit Civil 1156, 182.
Raymond Martin, ‘Le relevé d’office d’un moyen de droit (suite et fin)’ (Dalloz 2006).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ