การเรียกเงินคืนตามหลักกรรมสิทธิ์ : ชาติพันธุ์วรรณาสะท้อนความกระอักกระอ่วนของสภาวะก่อนสมัยใหม่ของสยามภายใต้กฎหมายเอกชนสมัยใหม่ของไทย

ผู้แต่ง

  • ตรีวัฒน์ ชมดี ภาควิชามนุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

มานุษยวิทยากฎหมาย, กฎหมายสมัยใหม่, การปลูกถ่ายกฎหมาย, การปรับแปรกฎหมาย, การระงับข้อพิพาททางเลือก, พหุนิยมทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

ชาติพันธุ์วรรณาฉบับนี้ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ศาลยุติธรรมใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกเงินคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นแทนที่จะใช้หลักลาภมิควรได้ นักกฎหมายสายวิชาการกลุ่มหนึ่งพยายามแสวงหาคำอธิบายในทางหลักการของกฎหมายมาอธิบายเพื่อรองรับการตัดสินเช่นนี้ของศาล แต่คำตอบไม่น่าพึงพอใจ คำถามตั้งต้นของงานวิชาการชิ้นนี้ คือ “เหตุใดศาลยุติธรรมจึงใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกเงินคืน” งานวิชาการนี้เสนอคำตอบสองคำตอบ คือ (1) เป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาทหรือราชนิติธรรมที่เข้ามามีบทบาทแทรกแซงกฎหมายสมัยใหม่ และ (2) เป็นผลมาจากการแข่งขันกันระหว่างนักกฎหมายสายวิชาการและนักกฎหมายสายปฏิบัติที่ต้องการผูกขาดอำนาจในการตีความกฎหมายและช่วงชิงผู้เชื่อให้เป็นของตนเองแต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นใด กระบวนการยุติธรรมของไทยก็ถูกเบี่ยงให้ตกไปจากนิติศาสตร์แบบบรรทัดฐานไปแล้ว ปรากฏการณ์ทางสังคมนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือ นักกฎหมายชักชวน หว่านล้อมลูกความของตนให้หันไปพึ่งพากระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกหรือการระงับข้อพิพาทนอกศาลแทนที่การขึ้นศาลในฐานะที่เป็นทางรอดเพียงหนทางเดียว

References

เอกสารอ้างอิงภาษาไทย

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, เขียนชนบทให้เป็นชาติ : กำเนิดมานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็น (มติชน 2562).

กิตติศักดิ์ ปรกติ, การปฏิรูประบบกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2556).

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย (ฟ้าเดียวกัน 2562).

กฤษณ์พชร โสมณวัตร, ‘การประกอบสร้างอำนาจตุลาการไทยในสังคมสมัยใหม่’ (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2562).

คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 65 ปี อาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 65 ปี อาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).

จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ (ดาราพร ถิระวัฒน์ ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 16, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549).

จิตติ ติงศภัทิย์, หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2540).

จุณวิทย์ ชลิดาพงศ์, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ‘งานวิชาการรำลึก ปาฐกถานิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ชุด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2561 “ปัญหาการติดตามเงินคืนตามหลักกรรมสิทธิ์”’ (เสวนา, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10 พฤศจิกายน 2561).

ไชยวัฒน์ บุนนาค, อนุญาโตตุลาการ : ทฤษฎีและปฏิบัติ (เดือนตุลา, 2552).

ดาราพร ถิระวัฒน์, กฎหมายหนี้ : หลักทั่วไป (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554).

ตรีวัฒน์ ชมดี, ‘สหรัฐอเมริกากับความช่วยเหลือทางวิชารัฐประศาสนศาสตร์แก่ประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. 2498-2506’ (2560) 1 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 89.

ธงชัย วินิจจะกูล, ‘นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม : ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย’ ใน รัฐราชาชาติ : ว่าด้วยรัฐไทย (ฟ้าเดียวกัน 2563).

นาถนิรันดร์ จันทร์งาม,หลักพื้นฐานของกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศและการดำเนินการลงทุนระหว่างประเทศ (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

ปรีดี เกษมทรัพย์, นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 9, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

พระยาสุนทรพิพิธ,วิญญาณ Spirit แห่งนักปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4, องค์การค้าของคุรุสภา 2546).

ไพโรจน์ วายุภาพ, อดีตประธานศาลฎีกา, ‘งานวิชาการรำลึก ปาฐกถานิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ชุด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2561 “ปัญหาการติดตามเงินคืนตามหลักกรรมสิทธิ์”’ (เสวนา, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10 พฤศจิกายน 2561).

ภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ปรัชญา และประวัติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา), อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, (12 กันยายน 2523 – 16 มิถุนายน 2524).

มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน สำนักนายกรัฐมนตรี (28 กรกฎาคม 2552).

มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 กรกฎาคม 2552 (เรื่อง การทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน) กระทรวงยุติธรรม (14 กรกฎาคม 2558).

มุนินทร์ พงศาปาน, ‘ความเข้าใจผิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2468’ (2556) 4 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 738.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ (พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2566).

สุมาลี วงษ์วิฑิต, ระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย : แนวคิดและวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2564).

แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 15, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559).

เอกสารอ้างอิงภาษาต่างประเทศ

AVM Struycken, Arbitration and State Contracts (Recueil des Cours vol. 374, Martinus Nijhoff Publishers 2014) อ้างถึงใน นาถนิรันดร์ จันทร์งาม,หลักพื้นฐานของกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศและการดำเนินการลงทุนระหว่างประเทศ (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

Comaroff and Comaroff, Law and Disorder in the Post Colony (University of Chicago Press 2006).

Eric Wakin, Anthropology goes to War : professional ethics & counterinsurgency in Thailand (University of Wisconsin – Madison, Center for Southeast Asian Studies 1992).

Katharina Pistor, The Code of Capital : How The Law Creates Wealth and Inequality (Princeton University Press 2019).

Mark Goodale, Anthropology and Law : A Critical Introduction (New York University Press 2017).

Munin Pongsapan, ‘The Reception of Foreign Private Law in Thailand in 1925 : A Case Study of Specific Performance’ (PhD Thesis University of Edinburgh 2013).

Pierre Bourdieu, ‘The Force of Law : Toward a Sociology of the Juridical Field’ (1987) 38 Hastings Law Journal 805.

Trais Pearson, Sovereign Necropolis : The Politics of Death in Semi-Colonialism Siam (Cornell University Press 2020).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30