ระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคม

ผู้แต่ง

  • ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

โทษจำคุก, ระยะเวลาการจำคุกขั้นต่ำ, สิทธิมนุษยชน, ความสงบเรียบร้อยของสังคม, การพักโทษ, การอภัยโทษ

บทคัดย่อ

ระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมเป็นช่วงหนึ่งของระยะเวลาตามคำพิพากษาจำคุก ซึ่งภายในระยะเวลาดังกล่าวผู้กระทำความผิดต้องถูกขังอยู่ในเรือนจำอย่างแน่นอนโดยไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการทางกฎหมายราชทัณฑ์ที่เป็นผลให้ผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด เช่น การพักโทษ การลดวันต้องโทษ หรือการอนุญาตให้ออกนอกเรือนจำ แม้กฎหมายไทยได้กำหนดให้มีระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมในกฎหมายราชทัณฑ์ แต่ก็เป็นการกำหนดแบบตายตัวใช้กับผู้กระทำความผิดทุกคน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการลงโทษจำคุกที่ไม่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละคน

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงความสอดคล้องของการกำหนดระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายอาญาและการนำระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมที่เหมาะสมมาใช้ในกฎหมายไทย โดยมีข้อเสนอให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาต้องกำหนดระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมแบบบังคับในกรณีที่ศาลพิพากษาประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง และให้ศาลมีดุลพินิจกำหนดระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมหรือไม่ก็ได้ ในคดีอื่นที่ศาลพิพากษาจำคุกผู้กระทำความผิดเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้ การให้ศาลมีอำนาจยกเลิกหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ในขณะพิพากษารวมทั้งในขณะที่ผู้กระทำความผิดได้รับโทษอยู่ในเรือนจำ จะทำให้ระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมมีความเหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละคน

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 11, พลสยาม พริ้นติ้ง 2562).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2566).

ปกป้อง ศรีสนิท, ‘การปฏิรูปทะเบียนประวัติอาชญากรกับแนวคิดการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิด (Individualization)’ ใน นิติธรรมประจักษ์ สุรศักดิ์ 60 ปี (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2561).

ปกป้อง ศรีสนิท, ‘แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอันตรายจากผู้กระทำความผิดหรือผู้พ้นโทษที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมระยะที่1’ (2564) 50(4) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 504.

ปกป้อง ศรีสนิท, ‘ระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคม’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2567).

ปกป้อง ศรีสนิท, สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (วิญญูชน 2563).

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘การตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญตามกฎหมายเยอรมัน’ (2565) 78(1) บทบัณฑิตย์ 150.

Bernard Bouloc, Droit pénal général, (21e édition, Dalloz 2009).

Frédéric Desportes et Francis Le Gunehec, Droit Pénal Général (10ème edition, economica 2003).

Jean Pradel, Droit Pénal Général (14ème édition, Cujas 2002).

UNODC, Introductory Handbook on The Prevention of Recidivism and the Social Reintegration of Offenders, 2018 <https://www.unodc.org/documents/justice-and-prison-reform/18-02303_ebook.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27