แนวทางในการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนไทยในอนาคตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมชุมชนภายใต้บริบทของสังคมไทย
คำสำคัญ:
ยุติธรรมชุมชน, ศูนย์ยุติธรรมชุมชน, ระบบยุติธรรมชุมชน, เกณฑ์ประเมินศูนย์ยุติธรรมชุมชน, กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก, การหันเหคดี, การลดปริมาณคดีบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของบทบัญญัติกฎหมาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานของ “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ในประเทศไทยซึ่งมุ่งเน้นการหันเหผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก โดยคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร (Documents Research) ผ่านงานวิชาการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงดำเนินการศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field Research)
เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักโดยผ่าน “ระบบงานยุติธรรมชุมชน” โดยคำนึงถึงการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้พ้นโทษมีโอกาสกลับมาก่ออาชญากรรมซ้ำในชุมชนของตน
ผลจากการศึกษาในภาพรวมพบว่า ประเทศไทยควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบยุติธรรมชุมชนในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประเภท รูปแบบและสถานะของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ให้มีความสอดคล้องกับบริบททางสังคมของประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาข้อมูลภาคสนามทำให้ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า เกณฑ์การประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รับรู้ของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นการทั่วไป ประกอบกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันจึงส่งผลให้ไม่สามารถนำเกณฑ์การประเมินศักยภาพนี้มาใช้เป็นตัวชี้วัดในฐานะมาตรฐานร่วมกันได้ ด้วยเหตุนี้ เกณฑ์การประเมินศูนย์ยุติธรรมชุมชนในประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นตัวชี้วัดที่มี “มาตรฐานกลาง” ต่อไป ผู้เขียนจึงได้เสนอให้นำเกณฑ์การประเมินศูนย์ยุติธรรมชุมชนของประเทศสกอตแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมประเทศหนึ่งมาปรับใช้ ซึ่งระบบยุติธรรมชุมชนของประเทศสกอตแลนด์เน้นการพัฒนาศักยภาพของทีมงานที่มาจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และหน่วยงานท้องถิ่นเป็นสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น เกณฑ์การประเมินของประเทศนี้ยังมีตัวชี้วัดที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ซึ่งอาจมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นไทย ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้การประเมินศูนย์ยุติธรรมชุมชนในประเทศไทยมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานที่แท้จริง
References
ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ, ‘โครงการวิจัยการถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน’ (รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).
นิตยา โพธิ์นอก และณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี, ‘ระบบยุติธรรมชุมชนในอาเซียน : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว’ (รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า 2560).
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 : การพิจารณาคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).
ยุทธนา มาสำราญ วราภรณ์ ทรัพย์นรวงทอง และสมบูรณ์ สุขสำราญ, ‘การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน’ (2560) 21 วารสารรัชต์ภาคย์ 69 <https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/171507/123298> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566.
วันชัย รุจนวงศ์, ‘Restorative Justice กระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์’ (การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ความเป็นไปได้ในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนกระทำผิดโดยการประชุมกลุ่มครอบครัว”, โรงแรมรามา การ์เด้นส์, 2556).
ศูนย์วิจัยนโยบายและการบริหาร วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ‘แนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชนชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก’ (รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสานักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 2554).
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ และคณะ ‘ยุติธรรมชุมชน : กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสังคมไทย’ (งานประชุมวิชาการระดับชาติ, มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562) 1462 <https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-107.pdf> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566.
สุณีย์ กัลป์ยะจิตร และคณะ, รายงานผลการวิจัย การติดตามและประเมินผลงานยุติธรรมชุมชนสมุทรปราการ (ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินทวีกิจพริ้นติ้ง 2554).
อรพินธ์ สุวัณณปุระ และคณะ, ‘ยุติธรรมชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน’ (รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2551).
อัคคกร ไชยพงษ์ วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์ และนิรมล ยินดี, ‘การศึกษาบทบาทและศักยภาพของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน’ (รายงานผลการวิจัย เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2561).
Adam Graycar and Peter Grabosky, Handbook of Australian Criminology (Cambridge University Press 2002).
Gabrielle Maxwell and Morris Allison, Family Participation, Cultural Diversity and Victim Involvement in Youth Justice: A New Zealand Experiment (Victoria University 1993).
Gordon Bazemore, ‘The “Community” In Community Justice: Issues, Themes, And Questions For The New Neighborhood Sanctioning Models’ (1997) 19 Justice System Journal 193.
Kay Pranis, Barry Stuart, and Mark Wedge, Peacemaking Circles From Crime to Community (Living Justice Press 2003).
Lawrence W Sherman and others, ‘Twelve Experiments In Restorative Justice: The Jerry Lee Program Of Randomized Trials Of Restorative Justice Conferences’ (2015) 11 Journal of Experimental Criminology 501.
Leena Kurki, ‘Restorative and Community Justice in the United States’ (2000) 27 Crime and Justice 235 สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566.
Mark Umbreit, Victim Meets Offender: The Impact of Restorative Justice and Mediation (Criminal Justice Press 1994).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ