ข้อเสนอทางกฎหมายต่อการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา
คำสำคัญ:
การปรับปรุงกฎหมาย, กระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพ, คุรุสภาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา การดำเนินการทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยเน้นการสังเคราะห์เอกสารเป็นหลัก ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา ระยะที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษากับวิชาชีพอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ ระยะที่ 3 นำเสนอข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา ด้วยวิธีตามแนวปฏิบัติพื้นฐานในการแก้ปัญหาครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น และระยะยาว
ปัญหาหลักของกระบวนการดำเนินการของคุรุสภา มีลักษณะการรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง อีกทั้งกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพขาดการบูรณาการกัน นอกจากนี้โครงสร้างคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) ขาดความเป็นกลาง เพราะต้องรับผิดชอบภารกิจอื่นเช่นกัน ในส่วนระยะที่ 2 การเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา และวิชาชีพอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า (1) วิชาชีพอื่น 6 วิชาชีพในประเทศไทย ทุกวิชาชีพมีส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ ด้านเจตนารมณ์ของกฎหมาย ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านการวินิจฉัยชี้ขาด โดยทุกวิชาชีพมีหลักการร่วมกันว่าคณะกรรมการที่ทำหน้าที่สั่งลงโทษกับคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องอุทธรณ์จะต้องไม่ซ้อนทับกันทั้งในเชิงคณะกรรมการและในเชิงบุคคล และมีส่วนที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านสิทธิการกล่าวหา หรือกล่าวโทษ ด้านการรับข้อกล่าวหาและข้อกล่าวโทษ ด้านกระบวนการพิจารณาข้อกล่าวหาหรือกล่าวโทษ และ ด้านการอุทธรณ์ (2) วิชาชีพทางการศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 10 ประเทศ หรือเขตการปกครองพิเศษ ส่วนใหญ่ข้อบังคับทางจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษาจะบูรณาการกับมาตรฐานวิชาชีพครู และมีการบูรณาการการกำหนดแนวทางการดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษากับด้านวินัยและการลงโทษจะอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน อีกทั้งมีการกระจายอำนาจหน่วยงานดำเนินการทางระบบบริหารงานบุคคลในส่วนของการดำเนินโทษครูทางวินัยและจรรยาบรรณ และในระยะที่ 3 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย ควรเน้นการแก้ปัญหาระยะสั้นก่อน เนื่องจากกระบวนการแก้ไขกฎหมายลำดับรองทำได้ง่ายกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า โดยเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อกระจายอำนาจการดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาออกจากส่วนกลาง โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตั้งอนุกรรมการเพื่อดูแลเฉพาะด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพโดยตรง และให้คุรุสภาเพิ่มเติมกฎหมายลำดับรองให้เลขาธิการมีอำนาจสั่งไม่รับคำกล่าวหาหรือกล่าวโทษในกรณีที่พบเรื่องร้องเรียน ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องรับไว้พิจารณาแต่แรกได้
References
George Z F Bereday, Comparative Method in Education (Holt, Rinehart and Winston Press 1964).
John Scott, A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research (Cambridge Press 1990).
Karen Swabey, Geraldine Castleton and Dawn Penney, ‘Meeting the Standards? Exploring Preparedness for Teaching’ (2010) 35(8) Australian Journal of Teacher Education 29.
Kathleen R McNamara, ‘ Consensus and Constraint: Ideas and Capital Mobility in European Monetary Integration’ (1999) 37(3) Journal of Common Market Studies 455.
Maher M Dabbah, International and Comparative Competition Law (Oxford University Press 2010).
Vestov, ‘System Approach Towards Development of Rule-of-Law State’ (2012) 12(2) Journal of Economics Management and Law 99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ