มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการใช้สิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
คำสำคัญ:
สิทธิบัตร, การประดิษฐ์, การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาการใช้กฎหมายสิทธิบัตรเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศและประเทศไทยเพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสมในการใช้สิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยกับสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจากการศึกษาพบว่าในทั้งสามประเทศนี้ ได้มีการใช้สิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองสิ่งวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางกฎหมายในการยกเว้นการคุ้มครองสิทธิบัตรแก่การประดิษฐ์ที่หากนำไปใช้ประโยชน์แล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง หรือการใช้มาตรการทางนโยบายโดยการให้สิทธิพิเศษแก่คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้รับการตรวจสอบคำขอแบบเร่งด่วนเพื่อเร่งรัดการออกสิทธิบัตรแก่การประดิษฐ์ดังกล่าวได้รวดเร็ว ซึ่งจากการศึกษากฎหมายสิทธิบัตรของประเทศไทยพบว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีทั้งมาตรการทางกฎหมายสิทธิบัตรและมาตรการการให้สิทธิเศษที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ แต่มาตรการดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมและเพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยเพิ่ม “การประดิษฐ์ที่หากมีการใช้ประโยชน์แล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง” เป็นเหตุหนึ่งในมาตรา 9 (5) ที่สามารถใช้ในการยกเว้นการคุ้มครองสิทธิบัตรได้ และควรมีการแก้ไขมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ เพื่อจัดตั้งช่องทางพิเศษสำหรับการประดิษฐ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเร่งรัดกระบวนการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ประเภทนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมาตรการที่ชัดเจนและยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงคู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรของเจ้าหน้าที่ให้มีหลักเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินและพิจารณาการประดิษฐ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเพิ่มรายละเอียดในคำขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการประดิษฐ์นั้น
References
กองสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ‘โครงการเร่งรัดสิทธิบัตรแบบมุ่งเป้านวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต’ <https://www.ipthailand.go.th/images/26669/Patent/fasttrack2567/targetpatentfasttrack_Futurefood.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ‘คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร’ <https://www.ipthailand.go.th/images/3534/PATENT/PatentDocument.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
จักรกฤษณ์ ควรพจน์, กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า (พิมพ์ครั้งที่ 6, นิติธรรม 2559).
จักรกฤษณ์ ควรพจน์, กฎหมายสิทธิบัตร แนวความคิดและบทวิเคราะห์ (นิติธรรม 2560).
ไชยยศ เหมะรัชตะ, ลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญา: พื้นฐานความรู้ทั่วไป ลิขสิทธิ์สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ความลับทางการค้า เซมิคอนดักเตอร์ชิป พันธุ์พืชใหม่ (นิติธรรม 2559).
เลอสรร ธรสุกาญจน์, ‘การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น’ <http://www.lerson.sc.chula.ac.th/bc/pdf/tech_management/Patent_Law_Mini_Course/07_Inventive_Step.pdf> สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566.
เซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ 'ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา' BBC NEWS ไทย (4 ธันวาคม 2018) <https://www.bbc.com/thai/international-46434460> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Ana Nordberg, ‘Patents, morality and biomedical innovation in Europe: historical overview, current debates on stem cells, gene editing and AI, and de lege ferenda reflections’ in Daniel J Gervais (eds) Fairness, Morality and Ordre Public in Intellectual Property (Elgar Online 2020).
Antoine Dechezleprêtre, ‘Fast-tracking 'green' patent applications: An empirical analysis’ <https://www.lse.ac.uk/granthaminstitute/wp-content/uploads/2014/02/WP107-fast-tracking-green-patent-applications.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
CMS-Law-Now, ‘New fast-track “Green Channel” for certain UK patents’ <https://www.cms-lawnow.com/ealerts/2009/05/new-fasttrack-green-channel-for-certain-uk-patents?cc_lang=en> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567.
Eric L Lane, 'Building The Global Green Patent Highway: A Proposal for International Harmonization of Green Technology Fast Track Programs' (2012) 27 Berkeley Technology Law Journal 1119.
European Patent Office, ‘Updates on Y02 and Y04S’ <https://www.epo.org/en/news-events/in-focus/classification/classification/updatesYO2andY04S> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Intellectual Property Office, ‘Patents: accelerated processing 2014’ <https://www.gov.uk/guidance/patents-accelerated-processing#green-channel> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Julia Burke and Michael Spector, ‘USPTO Climate Change Pilot Program’s Debut is Uneven’ (Petition.ai blog 3 May 2023) <https://petition.ai/blog/uspto-climate-change-pilot-programs-debut-is-uneven> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Juicy Whip Inc. v. Orange Bang Inc., 185 F.3d 1364, 1367-68, 51 USPQ2d 1700, 1702-03 (Fed. Cir. 1999)
Lionel Bentley, Intellectual Property Law (Oxford University Press 2009).
OECD, ‘Patent Statistics Manual’ (OECD Publishing 2009) <http://dx.doi.org/10.1787/9789264056442-en> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Peter A Jackman and Haley Ball, ‘Options for Accelerating Examination of Renewable Technology Patent Applications’ (2023) 4 Pratt’s Energy Law Report 117 <https://www.sternekessler.com/app/uploads/2023/05/energy_law_report_options_for_accelerating_examination_of_renewable_technology_patent_applications.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Plant Cell (Case No T0356/93 -3.3.4) (Plant Genetic Systems v Glutamine Synthetase Inhibitors) (Unreported, Boards of Appeal, European Patent Office, Decision of 21 February 1995).
Shawn Kolitch, ‘The Environmental and Public Health Impacts of U.S. Patent Law: Making The Case For Incorporating A Precautionary Principle’ (2006) 1 Environmental Law 221.
Tyson Weed, ‘Going green - the benefits of green technology patents’ <https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=a79f91c8-4c9c-4f63-8cd4-23c597e06fd6> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
United States Patent and Trademark Office, ‘2104 Requirements of 35 U.S.C. 101 [R-07.2022]’ <https://www.uspto.gov/web/offices/pac/mpep/s2104.html> สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567.
United States Patent and Trademark Office, ‘Climate Change Mitigation Pilot Program’ <https://www.uspto.gov/patents/laws/patent-related-notices/climate-change-mitigation-pilot-program> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
WIPO, ‘Bioethics and Patent Law: The Case of the Oncomouse’ (2006) 3 WIPO Magazine <https://www.wipo.int/wipo_magazine/en/2006/03/article_0006.html> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
WIPO, ‘Fast-tracking green patent applications’ <https://www.wipo.int/wipo_magazine/en/2013/03/article_0002.html> สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567.
WIPO Green, ‘Classification Systems for Green Technology Solutions’ <https://www3.wipo.int/wipogreen/en/docs/ipo-green-policy-note-6.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
WIPO Green, ‘WIPO GREEN Annual Report 2023 Released’ (WIPO Green 7 February 2024) <https://www3.wipo.int/wipogreen/en/news/2024/news_0003.html#:~:text=The%20WIPO%20GREEN%20database%20of,green%20technology%20innovation%20and%20exchange.> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
WIPO Green, ‘WIPO Green – The Marketplace for Sustainable Technology’ <https://www3.wipo.int/wipogreen/en/> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
WIPO, ‘R&D, Innovation and Patents’ <https://www.wipo.int/patent-law/en/developments/research.html> สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ