ความสัมพันธ์และผลกระทบของกฎระเบียบสหภาพยุโรปที่ 1215/2012 ต่อรัฐที่สาม

ผู้แต่ง

  • กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สหภาพยุโรป, กฎระเบียบ, 1215/2012, ความสัมพันธ์, ผลกระทบ, ภายนอก, ไทย, รัฐที่สาม

บทคัดย่อ

โดยรากฐานแนวคิดและโครงสร้างทางกฎหมายโดยทั่วไป Regulation (EU) No 1215/2012 of the European Parliament and of the Council of 12 December 2012 on jurisdiction and the recognition and enforcement of judgments in civil and commercial matters (recast) เรียกในที่นี้ว่า “กฎระเบียบที่ 1215/2012” นั้น แม้จะได้รับการจัดทำขึ้นโดยมุ่งหมายต่อการเสริมสร้างความเป็นระบบระเบียบทางกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เพื่อความเป็นเอกภาพทางกฎหมายภายในสหภาพยุโรป อันเป็นการก่อให้เกิดความสัมพันธ์และผลกระทบภายใน ระหว่างบรรดารัฐสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกันเองเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อพิจารณากฎเกณฑ์ตามกฎระเบียบฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน ตลอดจนตรวจสอบสภาพความมีผลใช้บังคับทางกฎหมายที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว ก็จะพบโดยแจ้งชัดได้ว่า กฎระเบียบฉบับนี้นำมาซึ่งการก่อให้เกิดเป็นความสัมพันธ์และผลกระทบภายนอกต่อรัฐที่สาม หรือรัฐซึ่งมิได้เป็นรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน

บทความวิจัยฉบับนี้ มาจากการศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของกฎระเบียบที่ 1215/2012 ต่อรัฐที่สาม รวมทั้งรัฐไทย อย่างเป็นการวิจัยในเชิงหลักการทางกฎหมายและในเชิงการปรับใช้กฎหมายในลักษณะของการวิจัยประยุกต์ ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์และผลกระทบภายนอกในแต่ละเรื่องของกฎระเบียบฉบับดังกล่าวต่อรัฐที่สาม ครอบคลุมเรื่องเขตอำนาจศาล การยอมรับและการบังคับตามคำพิพากษา ตลอดจนวิธีพิจารณาความระหว่างประเทศบางเรื่อง สำหรับคดีแพ่งและพาณิชย์ที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ภายใต้ขอบเขตการใช้บังคับที่กฎระเบียบฉบับนี้กำหนดไว้ เพื่อนำไปสู่ความพยายามในการวางแนวทางที่เป็นไปได้ในการรับมือกับกฎระเบียบฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุมมองของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยและบนพื้นฐานของระบบกฎหมายไทย

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กฎระเบียบที่ 1215/2012 กำหนดวางกฎเกณฑ์ที่มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ ระหว่างกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกันเอง กับกฎเกณฑ์ที่เชื่อมโยงไปยังหรือส่งผลกระทบต่อรัฐที่สาม โดยการวางกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันนั้น แม้จะพออธิบายได้ในบริบทภายในสหภาพยุโรปเอง แต่ก็ไม่สมเหตุสมผลนักเมื่อพิจารณาจากมุมมองของรัฐที่สาม ทั้งยังค้านกันกับแนวคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล อย่างที่ควรจะเป็นในบริบทของนานาชาติสากล รวมทั้งที่สหภาพยุโรปได้ก่อตั้งและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนี้มาจนปัจจุบัน ในท้ายที่สุดของงานวิจัย จึงได้ให้ข้อเสนอแนะทั้งในทางภาคปฏิบัติต่อเอกชนไทยบนพื้นฐานของระบบกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ และในทางภาคทฤษฎีต่อระบบกฎหมายไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาต่อไป เพื่อประโยชน์ในการรับมือกับกฎหมายสหภาพยุโรปในเรื่องนี้

References

ตราสารระหว่างประเทศ

Convention of 30 June 2005 on Choice of Court Agreements.

Convention of 2 July 2019 on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil or Commercial Matters.

ตราสารระดับภูมิภาคของสหภาพยุโรป

Convention on jurisdiction and the enforcement of judgments in civil and commercial matters 1968 (Brussels Convention).

Regulation (EC) No 44/2001 of 22 December 2000 on jurisdiction and the recognition and enforcement of judgments in civil and commercial matters (Brussels I Regulation).

Regulation (EU) No 1215/2012 on jurisdiction and the recognition and enforcement of judgments in civil and commercial matters (recast) (Brussels I Regulation Recast).

คดีไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2562.

คดีต่างประเทศ

Case 145/86 Hoffmann v Krieg [1988] ECR 645.

Case C-22/85 Rudolf Anterist v Crédit lyonnais [1986] ECR 1951.

Case C-23/78 Nikolaus Meeth v Glacetal [1978] ECR 2133.

Case C-48/84 Hannelore Spitzley v Sommer Exploitation SA [1985] ECR 787.

Case C-80/00 Italian Leather SpA v WECO Polstermöbel GmbH & Co [2002] ECR I-4995.

Case C-111/09 Česká podnikatelská pojišt’ovna as, Vienna Insurance Group v Michal Bilas [2010] ECR I-4545.

Case C-129/92 Owens Bank v Fulvio Bracco [1994] ECR I-117.

Case C-154/11 Mahamdia v Algeria [2012] ECLI:EU:C:2012:491.

Case C-159/02 Turner v Grovit [2004] ECR I-3565.

Case C-183/23 Credit Agricole Bank Polska [2024] ECLI:EU:C:2024:297.

Case C-185/07 Allianz SpA and Generali Assicurazioni Generali SpA v West Tankers Inc [2009] ECR I-686.

Case C-218/12 Lokman Emrek v Vlado Sabranovic [2013] ECLI:EU:C:2013:666.

Case C-274/16 Flightright [2018] ECLI:EU:C:2018:160.

Case C-281/02 Owusu v Jackson [2005] ECR I-1381.

Case C-292/10 G v Cornelius de Visser [2012] ECLI:EU:C:2012:142.

Case C-327/10 Hypoteční banka v Udo Mike Lindner [2012] ECLI:EU:C:2011:745.

Case C-387/98 Coreck Maritime GmbH v Handelsveem BV and Others [2000] ECR I-9337.

Case C-412/98 Group Josi v UGIC [2000] ECR I-5925.

Case C-456/11, Gothaer Allgemeine Versicherung AG v Samskip GmbH [2012] ECLI:EU:C:2012:719.

Case C-568/20 J v H Limited [2022] ECLI:EU:C:2022:264.

Cases C-585/08 and C-144/09 Peter Pammer v Reederei Karl Schlüter GmbH & Co KG and Hotel Alpenhof GesmbH v Oliver Heller [2010] ECR-I 12527.

Blomqvist v Zavarco Plc [2015] EWHC1898 (Ch).

Judgment of 9 December 2020, NCC 20/019 (C/13/687852).

Judgment of 12 April 2023, NCC 23/005 (C/13/730710).

Judgment of 16 May 2023, ICCP-CA, RG 22/20498.

Judgment of 19 September 2023, ICCP-CA, RG 22/19332.

Samengo-Turner v J & H Marsh & McLennan (Services) Ltd [2007] EWCA Civ 723.

หนังสือภาษาไทย

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1: การขัดกันแห่งกฎหมาย (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564).

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 2: วิธีพิจารณาความระหว่างประเทศ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2567).

เกษมสันต์ วิลาวรรณ, คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 30, วิญญูชน 2565).

ขจิต จิตตเสวี, สหภาพยุโรป การเมือง นโยบาย ระบบการอภิบาล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).

เขมจุฑา สุวรรณจินดา, การระงับข้อพิพาททางสัญญาธุรกิจระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2, วิญญูชน 2563).

คนึง ฦๅไชย, คำอธิบายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2565).

จารุประภา รักพงษ์, กฎหมายแห่งองค์การการค้าโลก: การตีความและการวิเคราะห์บทบัญญัติสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).

จารุประภา รักพงษ์, หลักการสำคัญว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายใต้กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562).

ชุมพร ปัจจุสานนท์, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1: สัญชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2 วิญญูชน, 2549).

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2566).

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์, สัญญาผู้บริโภค ข้อพิพาทผู้บริโภค และคดีผู้บริโภค (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2567).

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 6, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2566).

ไพโรจน์ วายุภาพ, กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 บททั่วไป (กรุงสยาม พับลิชชิ่ง 2563).

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม, คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2566).

วรรณชัย บุญบำรุง และ ธนกฤต วรธนัชชากุล, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2555).

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, สหภาพยุโรป : กำเนิด พัฒนาการ โครงสร้างและนโยบาย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565).

เสาวนีย์ อัศวโรจน์, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยการอนุญาโตตุลาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554).

อธึก อัศวานันท์, ร่างสัญญาธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2564).

อนันต์ จันทรโอภากร, ทางเลือกในการระงับข้อพิพาท: การเจรจา การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558).

อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2567).

หนังสือภาษาต่างประเทศ

Adrian Briggs, Civil jurisdiction and Judgments (7th edn, Informa law 2021).

Andrew Dickinson and Eva Lein (eds), The Brussels I Regulation Recast (Oxford University Press 2015).

Anu Bradford, The Brussels effect: How the European Union Rules the World (Oxford University Press 2020).

Arnaud Nuyts and Watté N, International Civil Litigation in Europe and Relations with Third States (Bruylant 2005).

Geert van Calster, European Private International Law (2nd edn, Hart Publishing 2016).

Paul Jenard, Report on the Convention on Jurisdiction and the Enforcement of Judgements in Civil and Commercial Matters 1968 (Office for Official Publications of the European Communities 1979).

Richard Fentiman, International Commercial Litigation (2nd edn, Oxford University Press 2015).

Robert Schütze, An Introduction to European Law (4th edn, Oxford University Press 2023).

Tobias Lutzi, Ennio Piovesani and Dora Zgrabljić Rotar, Jurisdiction Over Non-EU Defendants: Should the Brussels Ia Regulation be Extended? (Studies in private international law, Hart 2023).

Trevor C Hartley, International Commercial Litigation: Text, Cases and Materials on Private International Law (3rd edn, Cambridge University Press 2020).

Trevor Hartley and Masato Dogauchi, Explanatory Report on the 2005 Hague Choice of Court Agreements Convention (Hague Conference on Private International Law 2013).

V Tomljenović and Kunda I, Uredba Bruxelles I: izazovi hrvatskom pravosudu. The Brussels I Regulation: Challenges for Croatian Judiciary (Rijeka, Pravni fakultet u Rijeci 2013).

Ulrich Magnus and Peter Mankowski (eds), European Commentaries on Private International Law: Brussels Ibis Regulation - Commentary (Otto Schmidt, 2023).

บทความภาษาไทย

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส, ‘ข้อตกลงเลือกศาลตามอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 2005: ส่วนศึกษาทั่วไป’(2559) 45(4) วารสารนิติศาสตร์ 960.

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส, ‘แนวทางในการพิจารณาและเตรียมความพร้อมทางด้านกฎหมายของประเทศไทยสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยข้อตกลงเลือกศาล ค.ศ. 2005: ศึกษาวิเคราะห์มาตราในเชิงเนื้อหาเป็นรายมาตรา (มาตรา 1-15)’(2563) 49(2) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 213.

ชุมพร ปัจจุสานนท์, “ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการขัดกันแห่งเขตอำนาจศาลของประเทศในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล” (2540) 17(1) วารสารกฎหมาย 39.

บทความภาษาต่างประเทศ

Alex Mills, 'Private International Law and EU External Relations: Think Local Act Global, or Think Global Act Local?' (2016) 65 International & Comparative Law Quarterly 541.

Alexander Richard Eduard Kistler, 'Effect of Exclusive Choice-of-court Agreements in favour of Third States within the Brussels I Regulation Recast' (2018) 14 Journal of Private International Law 66.

Andrea Bonomi, 'European Private International Law and Third States' (2017) 37 IPRax: Praxis des Internationalen Privat-und Verfahrensrechts 184.

Arthur T Von Mehren, 'Recognition and Enforcement of Sister-State Judgments: Reflections on General Theory and Current Practice in the European Economic Community and the United States' (1981) 81 Columbia Law Review 1044.

Burkhard Hess, 'Reforming the Brussels Ibis Regulation: Perspectives and Prospects' (2021) 4 Max PIanck Institute Luxembourg for Procedural Law Research Paper Series 1.

Geert van Calster, 'Lis Pendens and Third States: the Origin, DNA and early Case-law on Articles 33 and 34 of the Brussels Ia Regulation and its “Forum Non Conveniens-light” Rules' (2022) 18 Journal of Private International Law 363.

Ioanna Hadjiyianni, 'The European Union as a Global Regulatory Power' (2021) 41 Oxford Journal of Legal Studies 243.

Johannes Weber, 'Universal Jurisdiction and Third States in the Reform of the Brussels I Regulation' (2011) Rabels Zeitschrift für ausländisches und internationales Privatrecht/The Rabel Journal of Comparative and International Private Law 619.

Koji Takahashi, 'Review of the Brussels I Regulation: a comment from the perspectives of non-Member States (third States)' (2012) 8 Journal of Private International Law 1.

Luigi Mari and Ilaria Pretelli, 'Possibility and Terms for Applying the Brussels I Regulation (Recast) to Extra-EU Disputes' (2013) 15 Yearbook of Private International Law 2014.

Michiel Poesen, 'Is Specific Jurisdiction Dead and Did We Murder It? An Appraisal of the Brussels Ia Regulation in the Globalizing Context of the HCCH 2019 Judgments Convention' (2021) 26 Uniform Law Review 1.

Motoko Yoshida, 'Changes of Jurisdiction Rules and Relevance for Third States' (2015) 5 International Journal of Procedural Law 5.

Olivia Struyven, 'Exorbitant Jurisdiction in the Brussels Convention' (1998) 35 Jura Falconis 521.

Reinhold Geimer, 'The Brussels Convention-Successful Model and Old-Timer' (2002) 4 European Journal of Law Reform 19.

Richard Fentiman, 'Civil Jurisdiction and Third States: Owusu and After' (2006) 43 Common Market Law Review 705.

Trevor C Hartley, 'The Brussels Convention in International Perspective' (2018) 3 Revue critique de droit international privé 495.

แหล่งข้อมูลอื่น

European Commission, ‘Commission Staff Working Document on The External Dimension of the Single Market Review’ (2007) SEC (2007) 1519 Final.

European Commission, ‘Proposal for a Regulation of the European Parliament and of the Council on Jurisdiction and the Recognition and Enforcement of Judgments in Civil and Commercial Matters (Recast)’ (2010) COM (2010) 748 Final.

European Group for Private International Law, ‘Proposed Amendment of Regulation 44/2001 in order to apply it to external situations’ (Bergen 2008) <https://gedip-egpil.eu/en/documents/> สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567.

European Group for Private International Law, ‘Consolidated version of a proposal to amend Regulation 44/2001 in order to apply it to external situations (Bergen 2008, Padua 2009, Copenhagen 2010)’ <https://gedip-egpil.eu/wp-content/uploads/2010/10/gedip-Bergen.pdf> สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567.

European Parliament and Directorate-General for Internal Policies of the Union, Possibility and Terms for Applying Brussels I Regulation (Recast) to Extra-EU Disputes (Publications Office 2014).

Symeon C Symeonides, 'The Brussels I Regulation and Third Countries' (2018) SSRN <https://ssrn.com/abstract=3231715> สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27