กฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน : แบบอย่างที่เป็นไปได้ของกฎหมายออสเตรเลีย
คำสำคัญ:
กฎหมายว่าด้วยกำกับดูแลการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง, การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เกิดขึ้นจากสถานการณ์ด้านพลังงานของโลกที่ผันแปรอย่างรวดเร็ว มีความตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่การใช้พลังงานรูปแบบอื่นอันเป็นผลมาจากการปรับตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายฉบับ จึงจำเป็นต้องทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงว่าจะสามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเช่นว่านั้นโดยที่ยังรักษาความมั่นคงด้านพลังงานและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้หรือไม่ โดยจะใช้วิธีการศึกษาวิจัยกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ โดยการทบทวนและวิเคราะห์บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบแบบอย่างของกฎหมายออสเตรเลีย จากการศึกษาพบว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันมีความสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของกฎหมายพลังงาน อีกทั้งมีมาตรการที่เหมาะสมในการสร้างกลไกการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ อาจนำจุดเด่นบางประการของกฎหมายออสเตรเลียมาใช้เป็นแนวทางในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ ระยะสั้น คือ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเพื่อปรับลดปริมาณน้ำมันที่เอกชนต้องสำรองลงในอัตราที่เหมาะสม โดยปรับลดชนิดของน้ำมันที่ไม่มีความต้องการใช้และเป็นชนิดน้ำมันที่สามารถจัดหาได้จากวัตถุดิบภายในประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ส่วนในระยะยาว คือ รัฐอาจพิจารณายกเลิกการเก็บสำรองน้ำมันตามกฎหมายในกลุ่มน้ำมันบางชนิดได้เลย ในขณะที่ภาครัฐยังคงอาศัยกลไกของกฎหมายปัจจุบันในการป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้
References
กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน, ‘หน้าที่และภารกิจ’ (กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน) <https://www.doeb.go.th/th/dutypower> สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, ‘แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า’ (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 22 ตุลาคม 2564) <https://www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/17415-ev-charging-221064-04> สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566.
หยุด แสงอุทัย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 18, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553).
Liz Allnut, ‘Rules and Regulation of the Oil and Gas Industry: Navigating the Governance Maze’ (Northern Rose Fulbright Australia) <https://www.mondaq.com/australia/oil-gas--electricity/434234/rules-and-regulation-of-the-oil-and-gas-industry-navigating-the-governance-maze> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Peter De Cruz, Comparative Law in a Changing World (3rd edn, Routledge-Cavendish 2007).
Department of Climate Change, Energy, the Environment and Water, ‘Australia’s Fuel Security’ (Department of Climate Change, Energy, the Environment and Water) <https://www.energy.gov.au/government-priorities/energy-security/australias-fuel-security> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Department of Climate Change, Energy, the Environment and Water, ‘Our Responsibilities and Legislation’ (Department of Climate Change) < https://www.dcceew.gov.au/about/what-we-do/legislation> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Department of Industry, Science and Resources, ‘Offshore Oil and Gas Exploration and Development Requirements’ (Department of Industry, Science and Resources) <https://www.industry.gov.au/mining-oil-and-gas/oil-and-gas/offshore-oil-and-gas/offshore-oil-and-gas-exploration-and-development-requirements> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Heather L Greenley, ‘The Strategic Petroleum Reserve: Background, Authorities, and Considerations’ (Submitted to Congressional Research Service, May 2020).
Raphael J Heffron and others ‘A Treatise for Energy Law’ (2018) 11 Journal of World Energy Law and Business 34.
International Energy Agency, ‘Greenhouse Gas Emissions from Energy Data Explorer’ (International Energy Agency) <https://www.iea.org/data-and-statistics/data-tools/greenhouse-gas-emissions-from-energy-data-explorer> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Alexandre Kiss and Dinah Shelton, Guide to International Environmental Law (Martinus Nijhoff 2007).
Rosemary Lyster and Adrian Bradbrook, Energy Law and the Environment (Cambridge University Press 2006).
Ernst Nordtveit, ‘International Energy Law in Perspective: The Relationship between National and International Energy Law’ in Tina Soliman Hunter and others (eds), Routledge Handbook of Energy Law (Routledge 2020).
Parliament of Australia, ‘Research Paper Series 2019-2020: Liquid Fuel Security (A Quick Guide-May 2020 Update)’ (Submitted to Parliament of Australia 2020).
The Governor-General of Commonwealth, ‘The Roles of the Governor-General’ (The Governor-General of Commonwealth) <https://www.gg.gov.au/about-governor-general> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
United Nations, ‘UN News: Hottest July Ever Signals ‘Era of Global Boiling Has Arrived’ says UN Chief’ (United Nations) <https://news.un.org/en/story/2023/07/1139162> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
United Nations Development Program, ‘The 17 Goals: Sustainable Development Goals’ (United Nations Development Program) <https://sdgs.un.org/goals> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
United States Environmental Protection Agency, ‘Global Greenhouse Gas Emissions Data’ (United States Environmental Protection Agency) < https://www.epa.gov/ghgemissions/global-greenhouse-gas-emissions-data> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
World Meteorological Organization, ‘Greenhouse Gases’ (World Meteorological Organization) <https://public.wmo.int/en/our-mandate/focus-areas/environment/greenhouse-gases> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ