HEARTWOOD OF THE BODHI TREE
Main Article Content
Abstract
ในช่วงระหว่างปี 2504-2505 ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ร่วมด้วยนักศึกษาแพทย์ ได้นิมนต์ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) แสดงปาฐกถารวมทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา หัวใจของพุทธศาสนา คือสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (17 ธันวาคม พ.ศ. 2504) ความว่าง ธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส คือเรื่องสุญญตา (7 มกราคม พ.ศ. 2505) และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง (21 มกราคม พ.ศ. 2505)
หลังจากนั้นมีการถอดเทปออกมาทำเป็นหนังสือ โดยคณะผู้จัดทำตั้งชื่อหนังสือว่า แก่นพุทธศาสน์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ ในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นเอง หนังสือเล่มนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศหนังสือดีประจำปี จากองค์การด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO of United Nations) ในภายหลังที่ได้มีภิกษุชาวอังกฤษแห่งสวนโมกข์ฯเป็นผู้แปล และใช้ชื่อว่า Heartwood of the Bodhi Tree อันสามารถแปลตรง ๆ ตัวได้ว่า แก่นไม้แห่งต้นโพธิ์
หนังสือแก่นพุทธศาสน์มิใช่เป็นเพียงแค่หนังสือที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านควรจะได้อ่านเท่านั้น แต่ยังเป็นหนังสือที่มนุษย์ทุกคน ควรอ่าน สาเหตุที่ผู้วิจารณ์สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจเช่นนี้ ก็เพราะได้รับการพิสูจน์จากผู้อ่านทั่วโลก ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา ที่แม้จะไม่ใช่พุทธศาสนิกชน ก็ยังชื่นชมยกย่อง อีกทั้งตัวผู้บรรยายธรรม ซึ่งในที่นี้ขออนุญาตเรียกในความเข้าใจว่า ผู้เขียนท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) ก็ได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกจากสหประชาชาติ ในด้านการศึกษาศาสนาวัฒนธรรม และสันติภาพเช่นกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องลิขสิทธิ์/เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
References
เอกสารอ้างอิง
หนังสือ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2552). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์), (2508). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.