Information For Librarians
การส่งบทความ
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ
The Journal of Buddhist Innovation Review : ISSN 2730-2539 (Online)
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์อย่างเคร่งครัดรวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเองซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25% โดยมีผลตั้งแต่เดือน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นตันไป
วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมในระบบ วารสารจะนำค่าธรรมเนียมนี้มาปฏิบัติงานภายในและจะคืนให้ในกรณีบรรณาธิการปฏิเสธการตีพิมพ์เท่านั้น หากส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์ การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JBIR เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : Kuchefar@gmail.com เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
การจัดเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับบทความสามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ยกเว้นส่วนบทคัดย่อที่ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ต้นฉบับบทความต้องระบุ ชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนบทความ วุฒิการศึกษาตำแหน่งสังกัดหรือสถานที่ทำงานของผู้เขียนเอกสารอ้างอิงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน
- ต้นฉบับบทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีความยาวของบทคัดย่อไม่เกิน 15 บรรทัด หรือ 350 คำ และระบุคำสำคัญ (Keywords) 3-4 คำไว้บริเวณใต้บทคัดย่อ
- ต้นฉบับต้องพิมพ์บนกระดาษขาวขนาด A4 จัดรูปแบบ 1 คอลัมน์ มีความยาว 10-12-15 หน้า ซึ่งรวมทั้งตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
- ต้นฉบับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบตัวอักษร “TH SarabunPSK” ซึ่งมีรายละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
- ชื่อบทความใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 20
- บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรตัวปกติขนาด 16
- ชื่อ นามสกุลผู้เขียนบทความตัวปกติ ใช้ตัวอักษรขนาด 16
- ข้อมูลสาขาที่ศึกษาหรือตำแหน่งสังกัดหรือสถานที่ทำงานของผู้เขียน อีเมล ใช้ตัวอักษรตัวปกติขนาด 14
- ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16
- เนื้อหาของบทความประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
บทความวิชาการ: (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่และจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆเป็นการเฉพาะโยผ่านการทบทวน (peer-reviewed periodical) ถือเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รู้ด้วยกันตามหลักวิชาการจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้อาจเป็นการนำความรู้จาก แหล่งต่างๆ มาประมวลเรียบเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา บทสรุป และ เอกสารอ้างอิง
บทความวิจัย: (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมและมนุษย์ศาสตร์ในเชิงประยุกต์และในด้านนวัตกรรมรวมถึงสหวิทยาการอื่นๆ ที่ได้มีการประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้นให้มีความกระชับและองค์ประกอบที่สำคัญของบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ข่าวสารผลการวิจัย เผยแพร่ความรู้ การวิเคราะห์ทางการศึกษา การวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น โดยมุ้งเน้ประเด็นหลักที่สำคัญๆ
- บทคัดย่อ/ Abstract ไม่เกิน 15 บรรทัด หรือ 350 คำ
- บทนำหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัย
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- กรอบแนวคิดของการวิจัย
- สมมติฐาน (ถ้ามี)
- วิธีดำเนินการวิจัย เช่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- ผลการวิจัย โดยอาจมีรูปภาพ ตารางและแผนภูมิประกอบเท่าที่จำเป็น
- สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง
- บทความวิจัยที่สรุปมาจากวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ให้ระบุชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมตำแหน่งทางวิชาการ และสังกัด หลังชื่อผู้นิพนธ์/ผู้เขียน
บทความวิจารณ์หนังสือ: (Book Review) การวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือหรือตำราวิชาการเล่มใดเล่มหนึ่งอย่างเป็นวิชาการในการวิจารณ์ค้นหาข้อดีและข้อเสียเพื่อชี้ให้เห็นข้อบกพร่องพร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้นเป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์มีเนื้อหาของแต่ละส่วนสามารถวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทั้งให้ความรู้ความคิดเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในงานเขียน
- ถ้ามีรูปภาพประกอบ กราฟ หรือตาราง ควรเป็นภาพถ่ายสีหรือ ขาว–ดำ ที่ชัดเจน ต้องระบุลำดับและหัวข้อ
- เอกสารอ้างอิง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องอ้างอิงในระบบ APA6 เท่านั้
เอกสารอ้างอิง/References (ขนาด 16 ตัวหนา) รูปแบบการพิมพ์เอกสารอ้างอิงให้เรียงลำดับตามหมายเลขอ้างอิง APA Style (APA6) เริ่มพิมพ์ชิดขอบด้านซ้ายของหน้ากระดาษ และเยื้องเข้าห่างขอบกระดาษด้านซ้าย 1 tab (ตั้งระยะที่ 0.63 นิ้ว) เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยเรียงจากผู้แต่งภาษาไทย แล้วจึงเป็นผู้แต่งภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงระบบเชิงอรรถ (Footnote System) (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ภาคผนวกท้ายเล่มวารสาร)
รูปแบบการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์
ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสารในรูปแบบไฟล์ภาพสกุล *PDF*JPG*GIFหรือ*bmpความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน12 หน้า (รวมบทคัดย่อภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไขถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการ แก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม
สิทธิของบรรณาธิการ
ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสารลิ้งก์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์