Good Teachers, Good Students and Having a Good Future in Buddhist Society

Main Article Content

Phumiphat Commee

Abstract

บทความเรื่อง “ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคตดี ในสังคมชาวพุทธ” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับหลักคุณธรรมของครูที่ดีและศิษย์ที่ดีในทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนอธิบายหลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้มีอนาคตที่ดีด้วย ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของครูที่ดีในทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วยคุณธรรมหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) กัลยาณมิตร คือครูควรมีความเป็นกัลยาณมิตรและเป็นที่น่าเคารพยกย่อง 2) หลักทิศ 6 คือหน้าที่ตามหลักธรรมความเป็นครู และ 3) พรหมวิหาร คือหลักธรรมที่ส่งเสริมทำให้ครูมีความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและน่าเคารพ ส่วนศิษย์ดีในหลักพระพุทธศาสนาต้องประกอบด้วยคุณธรรม 3 ประการ ได้แก่ 1) หลักทิศ 6 คือธรรมอันเป็นหน้าที่ศิษย์ หลักธรรมนี้จะช่วยให้ครูเกิดความเมตตาสั่งสอนความรู้ให้เต็มที่ 2) อิทธิบาท คือหลักธรรมที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จในการเรียน และ 3) พหูสูต คือข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นบัณฑิตอันพึงประสงค์ จนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการมีอนาคตที่ดีของครูและศิษย์ในสังคมชาวพุทธพบว่า ทั้งครูและศิษย์ต้องมีแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม 3 ประการได้แก่ 1) ความไม่ประมาท เป็นหลักธรรมสำคัญอย่างยิ่งเพราะเมื่อไม่ประมาทย่อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2) หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ช่วยส่งเสริมครูและศิษย์ให้มีอนาคตที่ดีในชาติปัจจุบัน และ 3) ธรรม 4 ประการ ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติได้รับความรักใคร่เอ็นดูนำไปสู่ประโยชน์ 4 คือ เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ผลการศึกษาทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าหลักคุณธรรมของครูที่ดีในทางพระพุทธศาสนาจะช่วยสนับสนุนความเป็นผู้เจริญให้แก่ผู้เป็นครู ส่วนหลักคุณธรรมของศิษย์ที่ดีในทางพระพุทธศาสนาช่วยสร้างความงอกงามให้แก่ผู้เป็นศิษย์ ทั้งนี้ไม่ใช่แต่ครูหรือเป็นศิษย์เท่านั้น บุคคลทั่วไปทั้งหลายหากประกอบด้วยแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับชีวิตตนเองและสังคมส่วนรวม


คำสำคัญ:   ครูดี, ศิษย์ดี, มีอนาคตดี, สังคมชาวพุทธ

Article Details

How to Cite
Commee, P. (2023). Good Teachers, Good Students and Having a Good Future in Buddhist Society. The Journal of Buddhist Innovation Review, 4(1), 81–93. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JBIR/article/view/264256
Section
Academic Article

References

หนังสือ

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556. 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพรหมบัณฑิต. (2559). 100 วาทกรรมการบริหารการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ยูโรปา เพรส.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9. ราชบัณฑิต). (2559). พจนานุกรมไทย-บาลี. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร.

พระพุทธโฆสเถระ รจนา. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ

อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2515). ศึกษาตัวชีวิตคือการเลื่อนขั้นตนเอง. กรุงเทพมหานคร: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารสาร

สมเจตน์ ผิวทองงาม และคณะ. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565). พุทธทาสภิกขุกับการพัฒนาวิญญาณความเป็นครู.

วารสารปณิธาน. 2565; 18 (2):52.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). [ออนไลน์]. “ฟันโทษวินัยครูทำร้ายนักเรียนรุนแรง”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566] จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2481827.

บัณฑิตวิทยาลัย. (2561). [ออนไลน์]. “ความเป็นครู”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566] จาก https://graduate.sru.ac.th/wp-content.pdf.

ch3plus. (2566). [ออนไลน์]. “รวบครูฝึกสอน ล่อลวงเด็ก ม.2 ไปล่วงละเมิดในวันครู”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566] จาก ch3plus.com/news/.

PPTV Online. (2566). [ออนไลน์]. “คำขวัญวันครูปี 2566 ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566] จาก www.pptvhd36.com/news/การเมือง/187866

(2545). [ออนไลน์]. “อรรถกถาอังคุลิมาลสูตร”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566]. จาก https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521