ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อการลื่นไหลในการกระทำ ในนิสิตระดับปริญญาตรี The Effect of Existential Group Counseling on Flow of Undergraduate Students

Main Article Content

สโรชา บุญนิธิ Sarocha Boonnithi
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ Doldao Wongtheerathorn
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล Chomphunut Srichannil

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อการลื่นไหลในการกระทำในนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2562 ที่มีคะแนนเฉลี่ยการลื่นไหลในการกระทำต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 20 คน สุ่มด้วยวิธีจับคู่เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คน และสุ่มกลุ่มทดลองเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการลื่นไหลในการกระทำและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาในการปรึกษาทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งละ 90-120 นาที ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม กับทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของบอนเฟอร์โรนี


ผลการวิจัยพบว่า


  1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลื่นไหลในการกระทำสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลื่นไหลในการกระทำระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
Dissertations

References

ดวงใจ วัฒนศิลป์. (2558). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สาขาสุขภาพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(4), 32-33.

พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2557). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. เอกสารเพื่อประกอบการบรรยาย เรื่อง “ภารกิจอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. ได้จาก http://qa.eau.ac.th/document_data/open%20souce/polsun.ppt. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562.

ศุภิสรา สุวรรณชาติ และวิไลพร รังควัต. (2555). ปัญหาและความต้องการด้านการเรียนของนักศึกษาโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 18(2), 29-31.

สุดธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. การปรึกษากลุ่ม. (2554). เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 416621 การปรึกษากลุ่ม). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Balkis, M., & Duru, E. (2007). The Evaluation of the Major Characteristics and Aspects of the Procrastination in the Framework of Psychological Counseling and Guidance. Educational Sciences: Theory & Practice, 7(1), 376-85.

Bowers, J. (2016). Flow, Hypnotizability, Absorption and Neuroticism in a College Student Population. Doctor of Psychology, Baylor University.

Christina, M. (1981). The measurement of experienced burnout. J Organ Behav, 2(2), 99-113.

Corey, G. (2012). Theory & practice of group counseling. Belmont: Brooks/ Cole Publishing Company.

Csikszentmihalyi, M. (1990). Flow: The psychology of optimal experience. New York: HarperPerrennial.

Csikszentmihalyi, M. (2000). The contribution of flow to positive psychology. Philadelphia: Templeton Foundation Press.

Csikszentmihalyi, M. (2014). Flow and the Foundations of Positive Psychology: The collected works of Mihaly Csikszentmihalyi. Netherlands: Springer Publishing.

Jackson, S., Eklund, B., & Martin, A. (2012). The FLOW Manual: The manual for the Flow scales manual, sampler set. California: Mind Garden.

Kim, R. (2016). The concept of flow: Acritical review of the literature within music, sports, & education. Doctoral dissertation, Doctor of psychology, Biola University.

Mendelson, N. (2007). The functional mediation of flow between achievement anxiety, academic procrastination, and academic performance. Doctoral dissertation, Doctor of Philosophy, Fordham University.

Sue J. (2016). Flowing with mindfulness: Investigating the relationship between flow and mindfulness. Mindfulness in positive psychology. The science of meditation and wellbeing. United Kingdom: Routledg: Taylor & Francis Group.

Winner, B., Mochels, D. R., & Michels, K. (1991). Statistical principles in experimental design. New York: McGraw-Hill.