การศึกษาศักยภาพในการบริหารจัดการภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชนเป้าหมายตามแนวแกนเมืองมรดกโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย A Study of the Potential for Local Handicraft Management of the Target Communities along the World Heritage Corridor of Kamphaeng Phet, Sukhothai, and Si Satchanalai

Main Article Content

อัมพิกา อำลอย Aumpika Amloy

Abstract

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพในการบริหารจัดการภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชนเป้าหมาย จำนวน 19 ชุมชน ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนที่ทำหัตถกรรมพื้นถิ่นตามแนวแกนเมืองมรดกโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย โดยเป็นงานวิจัยภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 19 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการทำหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชน จำนวน 95 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสำรวจภาคสนาม
มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพร่วมกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ผ่านการบรรยายและตาราง


ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการจัดตั้งกลุ่มของชุมชนเป้าหมาย สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ชุมชนที่มีการจัดตั้งกลุ่ม จำนวน 15 ชุมชน และชุมชนที่ไม่มีการจัดตั้งกลุ่ม จำนวน 4 ชุมชน ส่วนระดับศักยภาพในการบริหารจัดการภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิต มีศักยภาพในระดับดี จำนวน 7 ชุมชน ระดับปานกลาง จำนวน 3 ชุมชน และระดับน้อย จำนวน
5 ชุมชน 2) ด้านการเงิน มีศักยภาพในระดับดี จำนวน 8 ชุมชน ระดับปานกลาง จำนวน 2 ชุมชน และระดับน้อย จำนวน 5 ชุมชน และ 3) ด้านการตลาด มีศักยภาพในระดับดี จำนวน 4 ระดับปานกลาง จำนวน
6 ชุมชน และระดับน้อย จำนวน 5 ชุมชน ซึ่งองค์ความรู้รวมทั้งหลักการอันเป็นผลจากบทความนี้ ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนในการบริหารจัดการภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชนเป้าหมาย นำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับบริบทมากยิ่งขึ้น และต่อยอดสู่การสร้างกลไกการสนับสนุนของชุมชน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของเครือข่ายย่าน ตามแนวแกนเมืองมรดกโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัยต่อไป

Article Details

How to Cite
Aumpika Amloy อ. อ. (2023). การศึกษาศักยภาพในการบริหารจัดการภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นของชุมชนเป้าหมายตามแนวแกนเมืองมรดกโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย: A Study of the Potential for Local Handicraft Management of the Target Communities along the World Heritage Corridor of Kamphaeng Phet, Sukhothai, and Si Satchanalai . SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 18(1), 91–106. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/258028
Section
Research Articles

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2563). แนวคิดการนำมิติทางวัฒนธรรมสู่การออกแบบสร้างสรรค์ที่สับสน. วารสารสถาบันวัฒนธรรม และศิลปะ, 11(2), 18-35.

ชุติมา ปัญญาหลง. (2564). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นร้านค้าชุมชนต้นแบบในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(3), 55-70.

ดลพิวัฒน์ ปรีดาวิภาต และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 22(2), 416-426.

ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2559). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 67-80.

ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลิตภาพของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(1), 41-48.

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์. (2562). การจัดการภูมิปัญญาส้มโอนครชัยศรี: การเรียนรู้ และจัดการตนเองตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2(2), 28-46.

นิ่มนวล จันทรุญ และเกวลี อ่อนเรือง. (2559). แนวคิดการจัดการภูมิปัญญาวิถีครามวิถีภูไท. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(1), 250-263.

นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ และธีร์ คันโททอง. (2564). การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารการตลาดผ้าทอน้ำแร่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(2), 31-44.

รสา สุนทรายุทธ. (2562). โครงการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับชุมชนหัตถกรรมท้องถิ่นผ้าจก ไทยวน จังหวัดราชบุรี เพื่อขยายกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งภายในด้วยนวัตกรรมขึ้นรูปผ้าด้วยแม่พิมพ์ และสิ่งทอสีเขียว. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 27-49.

วรรณา โชคบรรดาลสุข กุลยา อนุโลก และวรลักษณ์ ทองประยูร. (2559). การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท-ยวนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 166-180.

วัชรพงษ์ ชุมดวง และคณะ. (2562). แผนงานวิจัย การบูรณาการการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ พื้นที่โดยรอบตามแนวแกนเมืองมรดกโลก ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย-กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).

วิชิต ไชยชนะ เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). ประสิทธิผลการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 8(2), 58-70.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2553). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน : เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 30(1), 163-182.

สุมาวลี จินดาพล และคณะ. (2562). โครงการย่อยที่ 2 โครงการนำร่องต้นแบบการบริหารจัดการชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่โดยรอบตามแนวแกนเมืองมรดกโลก ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย-กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).

อรัญ จิตตะเสโน และคณะ. (2555). หลักการ และวิธีการบริหารจัดการชุมชน สงขลา: คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ในโครงการวิจัย และพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม.

อัมพิกา อำลอย. (2564). การบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 8(1), 170-191.