การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

ปัณฑิตา อินทรักษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 35 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) แผนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาในรายวิชาชีววิทยา 3) แบบประเมินสมรรถนะทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ t-test แบบตัวแปรอิสระ


        ผลการวิจัย พบว่า  1. องค์ประกอบที่สำคัญของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุก โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้านประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) วัตถุประสงค์ของการจัดการจัดการเรียนรู้ 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการแสดงการโต้ตอบ และ 7) ระบบสนับสนุน  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีสมรรถนะทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน   3. นักเรียนมีระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุก โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.38 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
อินทรักษา ป. (2024). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 19(3), 71–86. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/269068
บท
บทความวิจัย

References

Bergmann, G. and Sams, S. (2013). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. Colorado: Colorado Publishing.

Chiang Rai Teacher. (2020). Using the Microsoft Teams Program for Organizing Online Teaching. Retrieved May 4, 2021, from https://www.kruchiangrai.net/2020/04/05/

Joyce B., Weil, M. and Calhoun, E. (2011). Models of Teaching. Boston: Pearson Education.

Khaemmanee, T. (2011). Pedagogical Science: Knowledge for Organizing Effective Learning Processes. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Matthews D. & Schrum L. (2003). High-Speed Internet Use and Academic Gratifications in the College Residence. Internet and Higher Education Journal, 6(2), 125-144.

Maytwin P. (2018). 21st Century Skill: Skills of the 21st Century. Retrieved October 21, 2018, from https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/21st-centuryskills.html.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Ministry of Education. (2012). Ministry of Education's Education Development Plan No. 11 (2012-2016). Bangkok: Author.

Mourasri, C. (2013). Academic Outcomes using a Reverse Teaching Method Combined with the Classroom Inverted on Top of Social Networks in the Course of Analysis and Problem Solving for Students in Grade 5. Master of Industrial Education (Computer Education). King Mongkut's University of Technology Thonburi, Bangkok.

Noppharat P. (2013). E-learning. A New Choice of Education. Retrieved January 15, 2022, from http://www.e-learning.dss.go.th

Panich, W. (2012). Sending Happiness to Quality Education 2013. Bangkok: Institute of Management Promotion. Knowledge for society.

Panich, W. (2013A). What is a Flipped Classroom Like? Teachers for Students Create A Flipped Classroom. (2nd ed.). Bangkok: S.R. Printing Mass Products.

Panich, W. (2013B). Teachers for Students Create A Flipped Classroom. (2nd ed.). Bangkok: Siam Commercial Foundation.

Panich, W. (2016). Entertaining Teachers' Lives into a Learning Community. Bangkok: S.R. Printing Mass Products.

Prachakul, V. and Nuengchalerm, P. (2010). Teaching and Learning Model. Maha Sarakham: Maha Sarakham University Press.

Pradubwet, R. (2017). Results of the flipped Classroom Teaching Method for Vocational Students Teacher at Srinakharinwirot University. Journal of Teaching and Learning Development Rangsit University. 11(1), 39 - 49.

Sapsaman, P. (2007). Learning Management by Allowing Students to Seek and Discover, Self-Knowledge. Bangkok: Chulalongkorn University.

Simachai, K. (2009). Web-Quest Lesson Development Principles and theories of technology and educational communication for students who are suitable for learning on different networks. Journal of Education, Maha Sarakham University, 3(2), 81 - 88.

Sinthusiri, A. (2013). New Genres of Learning in the 21 Century. The Daily News. 25 March 2013. p.10.

Suriyagupta, C. (2012). Academic Achievement Development Physics 2 W30202 Secondary School Year 4 Using a set of Conceptual Diagrams and Learning Processes to Teach Knowledge Quest 5-Step Learning Cycle. Journal of Education, Khon Kaen University, 35(1), 55 - 64.

Vejyalak, N. (2023). Guidelines for Leadership Development in the Digital Age of School Administrators in Phitsanulok Secondary School. Journal of Academic and Research in Social Sciences Nakorn Sawan Rajabhat University, 18(1), 45 - 58.