การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กรตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูสาครธรรมวิธาน (อนุชา ถินแพ)

บทคัดย่อ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักการบริหารงานองค์กรประการหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุด เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับบุคลากรในหน่วยงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความหมาย 2 นัย คือ 1) การพัฒนาที่เป็นการออกแบบเพื่อสร้างการเรียนรู้ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับองค์กร 2) การพัฒนาที่เป็นการออกแบบเพื่อสร้างผลงาน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและผลงานโดยรวมขององค์การ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวจะเกิดได้ต้องมีกระบวนการพัฒนาที่จำแนกได้ 2 ระยะ คือ 1. ระยะการให้การศึกษาหรือสร้างความเข้าใจแก่บุคลากร 2. ระยะการทำกิจกรรมของบุคลากร ทั้งสองระยะสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ (1) ปาปณิกธรรม 3 (2) พรหมวิหาร 4 (3) ภาวนา 4 และ (4) อิทธิบาท 4 องค์ความรู้ใหม่ คือ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นลักษณะการออกแบบเพื่อสร้างการเรียนรู้ มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร โดยปฏิบัติตามหลักธรรมปาปณิกธรรม 3 และพรหมวิหาร 4 อันเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะแรก คือ การให้การศึกษา 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นลักษณะของการออกแบบเพื่อสร้างผลงาน มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติการ โดยปฏิบัติตามหลักภาวนา 4 และอิทธิบาท 4 และเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะที่สอง คือ การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งสองลักษณะนี้ต้องดำเนินตามแนวทาง 3 ประการ คือ 1) การสร้างบรรยากาศและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน 2) การพัฒนาและบ่มเพาะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 3) การริเริ่มทำโครงการหรือกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2557). การพัฒนาองค์การ. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการ: องค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). มนุษยศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 19, 20, 22, 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นามีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ศิริภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). สมรรถนะของข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

Armstrong, M. (1992). Strategies for Human Resource Management. London: Kogan Page.