แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของวัดขนอนในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมหนังใหญ่ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย สัมภาษณ์ และสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในสถานที่จริง ประเด็นที่ศึกษาประกอบด้วย 1) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหนังใหญ่ 2) หนังใหญ่ในประเทศไทย 3) งานศิลปะในหนังใหญ่ 4) แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา และ 5) ทิศทางและความอยู่รอดของศิลปะในหนังใหญ่ จากการศึกษาพบว่า พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะกรณีหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี ซึ่งวัดและพระสงฆ์ได้เป็นผู้นำในการรวมปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการกำหนดแนวทางอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยความร่วมมือของหลายฝ่าย เช่น หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ชุมชน องค์ความรู้จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า พระสงฆ์ได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ โดยมีวัดเป็นสถานที่ตั้งในการอนุรักษ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ได้เป็นกลไกร่วมในการส่งเสริมให้เกิดพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน การฝึกหัดเชิดหนังใหญ่ การจัดแสดงหรือการส่งเสริมให้เกิดการแสดงในวัด รวมถึงการจัดสร้างตลาดชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการด้านการศึกษาและชมศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหนังใหญ่ภายในวัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันทิยา ธานี และกนกศักดิ์ ธานี. (2558). แสบกธม: กระบวนการสร้างสรรค์หนังใหญ่ของชาวเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 6 (2), 9-36.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2560). ลักษณะและบทบาทความสำคัญของสุรสัตถาดีในสมุทรโฆษคำฉันท์. วารสารมนุษยศาสตร์. 14 (1), 17-54.
เปรมรัศมี ธรรมรัตน์ และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2553). การวิเคราะห์คุณค่าและการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาหนังใหญ่วัดขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 1 (2), 140-153.
พงศ์กฤต นันทนากรณ์. (2564). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี กรณีศึกษาวัดขนอนหนังใหญ่. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4 (1), 168-181.
พระสมุห์ดิเรก อติเรกสุโภ (งามกาละ). (2560). การบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันพัสสา ธูปเทียน. (2558). หนังใหญ่ร่วมสมัยวัดบ้านดอน: อัตลักษณ์ที่ภาคภูมิและยั่งยืน. วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 44 (1), 135-187.
ยุทธนา อัมระรงค์. (2559). เปรียบเทียบรูปแบบและองค์ประกอบการแสดงหนังใหญ่ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน. ศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 11 (2), 75-99.
รณชัย รัตนเศรษฐ. (2560). วัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคตะวันออก: กรณีศึกษาหนังตะลุงคณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด. วารสารดนตรีรังสิต. 12 (2), 111-126.
รัตนพล ชื่นค้า. (2558).บทพากย์-เจรจาหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง: มรดกวรรณคดีการแสดงของชาวบ้าน. วารสารไทยศึกษา. 10 (2), 39-61.
วธนัญญ์ ศรีนิล. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบการแสดงกถกฬิของอินเดียและการแสดงโขนของไทย. วารสารวิเทศศึกษา. 6 (2), 208-226.
วราภรณ์ บุญประสิทธิ์. (2557). ความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 3 (1), 94-101.
วิภาภรณ์ อรุณปลอด. (2561). หนังใหญ่วัดขนอน: ภูมิหลัง สภาพการณ์ และการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (2), 210-222.
ศิริณา จิตต์จรัส และจิตตรา มาคะผล. (2556). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในหมู่บ้านคลองโยง ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. พิฆเนศวร์สาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 9 (2), 189-192.
สันติ แซ่เล้า. (2556). โครงการเสนอแนะการออกแบบภายในหอภาพยนต์ (องค์การมหาชน) ภายใต้แนวความคิดการศึกษาภูมิปัญญาหนังใหญ่ วัดขนอน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง. (11 ตุลาคม 2563). ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่กล่อม วัดขนอน พระเกจิผู้สร้างหนังใหญ่โบราณของไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.pra-maeklong.com/2020/09/watkanon.html
สุพาดา สิริกุตตา. (2557). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17 (1), 215-230.
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2542). การเชิดหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brandon, J. R. (2009). Theatre in Southeast Asia. MA: Harvard University Press.
Chen, Fan Pen Li. (2007). Chinese Shadow Theatre: History, Popular Religion, and Women Warriors. London: McGill-Queen's University Press.
Dolby, W. (1978). The Origins of Chinese Puppetry. Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London. 41 (1), 97-120.
Kravel, P. T., et al. (2018). Sbek Thom: Khmer Shadow Theater. New York: Cornell University Press.
Kusumanugraha, S, et al. (2011). An Analysis of Indonesian Traditional "Wayang Kulit" Puppet 3D Shapes Based on Their Roles in the Story. Proceedings of the 2011 Second International Conference on Culture and Computing. On 20-22 October. pp. 147-148.
Lopes, R. O. (2016). A New Light on the Shadows of Heavenly Bodies: Indian Shadow Puppets from still Paintings to Motion Pictures. Religion and the Arts. 20 (1-2), 160-196.
Ness, E C. V and Shita, P. H. (1980). Javanese Wayang Kulit: An Introduction. New York: Oxford University Press.