ชุมชนพหุศาสนากับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระใบฎีกาชัชวาลย์ อริยเมธี (วนาเฉลิมมาศ)
พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม
ประทีป พืชทองหลาง

บทคัดย่อ

สังคมปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและเป็นสังคมแห่งการแข่งขันอย่างไม่มีสิ้นสุด ขณะที่ความเชื่อทางด้านศาสนาเป็นความเจริญภายในที่ช่วยขัดเกลาคนในสังคมให้มีจิตใจที่งดงาม สร้างความสมดุลระหว่างความงามทางจิตใจกับความเจริญทางเทคโนโลยี ความเชื่อทางศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติสุขภายในแก่สังคม โดยเฉพาะชุมชนพหุศาสนาในตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีเรื่อยมา ในบทความนี้ได้ศึกษาบริบทความเป็นชุมชนพหุศาสนาในชุมชนดังกล่าว รวมถึงหลักคำสอนของแต่ละศาสนาที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ วัฒนธรรมประเพณีของความเป็นพหุศาสนา และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนพหุศาสนาที่ก่อให้เกิดสันติอย่างแท้จริง องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ด้านบริบทที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก เป็นเพราะวัฒนธรรมล้านนาที่เข้มแข็งจึงกลายเป็นชุมชนพหุศาสนาที่อยู่ร่วมกัน ภายใต้วัฒนธรรมหลัก คือ วิถีชีวิตของชาวล้านนา 2) ด้านคำสอนที่มุ่งเน้นความเป็นหนึ่งเดียวในด้านสันติสุข สิ่งที่ทำให้ชุมชนกลายเป็นพหุศาสนาที่มีหลักการเป็นหนึ่งเดียว คือ หลักคำสอนด้านความสงบสุขในชุมชนร่วมกันเป็นที่ตั้ง 3) ด้านวัฒนธรรมประเพณีที่หลอมรวมชุมชนให้กลมกลืนอย่างสันติ คือ การยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีของตนอย่างเคร่งครัดและสอดคล้องกับวัฒนธรรมล้านนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ประทีป พืชทองหลาง, คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม. (ม.ป.ป.). บทภาวนาของคริสตชน ฉบับปรับปรุง 2010. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย.

จิราภรณ์ เชื้อพรวน. (2563). การท่องเที่ยวเชิงประเพณีงานบุญผะเหวดของบ้านไฮหย่อง อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (4), 138-149.

ชัยยศ ชัยนิลพันธ์. (2553). หนานอินต๊ะ ต้นตระกูลอินทพันธุ์ คริสเตียนไทยคนแรกของล้านนา. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

เดือน คำดี. (2553). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถนอม ปินตา และประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2547). งานพันธกิจการศึกษาของสภาคริสตจักรในประเทศไทย. ในชำนาญ แสงฉาย. (บรรณาธิการ). 70 ปีแห่งพระพร สภาคริสตจักรในประเทศไทย 1934-2004. กรุงเทพมหานคร: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

นคร จันทราช และคณะ. (2563). พุทธทาสภิกขุ: ปณิธานข้อที่ 2 การทำความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร. 8 (5), 2029-2040.

บรัดเลย์, วิลเลี่ยม แอล. (2529). สยามแต่ปางก่อน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรเมศวร์ ชะรอยนุช และกรรณิการ์ สัจจกุล. (2557). การศึกษาแนวคิดในการพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์สาสนานิกายโปเตสแตนส์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 10 (2), 519-533.

ประทีป พืชทองหลาง และคณะ. (2562). มีศีล จึงมีสันติภาพ: ถอดบทเรียนชุมชนสันติภาพจากยอดดอย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (ฉบับเพิ่มเติม), 450-462.

ประยุทธ ศรีเจริญ. (2556). คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ.

ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ และคณะ. (2539). มุสลิมในประเทศไทย / ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ. สายสกุล สุลต่านสุลัยมาน / ศรีศักร วัลลิโภดม. สายสกุล ท่านเฉกอะหมัด / สิริ ตั้งตรงจิตร / ประวัติศาสตร์ปัตตานีโบราณ / เสนีย์ มะดากะกุล. กรุงเทพมหานคร: โครงการหอสมุดกลางอิสลาม.

ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2562). ประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนาในเชียงใหม่. เชียงใหม่: ฝ่ายประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2546). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

พระครูมหาเจติยารักษ์ เข็มนาค และคณะ. (2563). รูปแบบการสร้างสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (ฉบับเพิ่มเติม), 331-342.

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ และพระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2562). อัตลักษณ์ทางศาสนา: รูปแบบการสื่อความหมายเพื่อสร้างสันติภาพ ของประชาคมอาเซียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (4), 1887-1912.

พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. รายงายการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม และอาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2563). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทัศน์. 5 (3). 316-330.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 21, 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยูซูฟ นิมะ และสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. (2551). การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับมุสลิม, พิมพ์ครั้งที่ 2. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ (สวรส.ภาคใต้) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ระบบฐานข้อมูลวัด. (ม.ป.ป.). วัดในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564, จาก https://bit.ly/39tSmYK

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. (2549). คำกราบบังคมทูลของ ดร. วิลเลียม แฮรีส ต่อสมเด็จพระบรมโอรส สาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1906. ใน เสรินทร์ จิรคุปต์. (บรรณาธิการ). อมตพจน์ในรอบ 120 ปี P.R.C. เชียงใหม่: โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.

ศิริพร เพ็งจันทร์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิชุมชนทางทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เกาะกลางบางทะลุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (4), 66-82.

สมัคร กอเซ็ม. (2550). มุสลิมพม่าที่ช้างคลาน: การมีชีวิตรอดในความเป็นชายขอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมาคมพระคริสต์ธรรมไทย. (2543). พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสต์ธรรมไทย.

สุชาติ เศรษฐมาลินี. (2540). มรดกศาสนาเชียงใหม่ภาค 1: ประวัติและพัฒนาการศาสนาในเมือง. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

สุพัตรา สุภาพ. (2553). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2535). วัฒนธรรมอิสลาม. กรุงเทพมหานคร: คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). พื้นที่ในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์. ใน สังคมศาสตร์. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). อำนาจ. ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2556). พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

Speer, R. E. (1987). The Science of Missions. The Missionary Review of the World. New Series 12, 1 (January), 29-30.