วิธีการสอนประวัติศาสตร์และอาเซียนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของห้องสมุดโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ปิยะดา แพรดำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอนประวัติศาสตร์ และอาเซียนศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ใช้การศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย สัมภาษณ์ จัดกิจกรรม และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ในการเรียนการสอนใช้หลากวิธี ดังนี้ (1) การสอนด้วยหนังสือและเอกสารผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภายในห้องสมุด อ่านหนังสือที่นักเรียนสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และอาเซียนศึกษา (2) การสอนด้วยวีดิทัศน์ และสื่อภาพและเสียง ในรูปของซีดีและดีวีดีตามช่วงเวลาที่โรงเรียนและหลักสูตรกำหนด (3) การสอนด้วยระบบออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ จากสื่อในระบบออนไลน์ในห้องสมุด (4) การสอนด้วยการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องสมุดและศึกษาพื้นที่เชิงประวัติศาสตร์ชุมชน (5) การสอนแบบเชื่อมโยงบูรณาการแบบสหสัมพันธ์บนฐานของข้อมูลสู่การเรียนรู้ โดยคาดหวังให้นักเรียนเกิดการปรับตัวต่อวิถีวัฒนธรรมอาเซียนและผู้คนจากประเทศอาเซียนในชุมชนที่นักเรียนอยู่อาศัย รวมทั้งนักเรียนได้แสวงหาความรู้ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ องค์ความรู้ใหม่ คือ การบูรณาการการเรียนการสอนระหว่างอาเซียนศึกษากับประวัติศาสตร์ ภายใต้กรอบแนวคิดอาณาบริเวณศึกษาและการศึกษาเชิงพื้นที่ภายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เช่น วัดหลวงพ่อโต บางพลี ประเพณีรับบัวบางพลี ชุมชนชาวมอญ สู่การศึกษาประวัติศาสตร์และอาเซียนศึกษา เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์. (2558). Active Learning: การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ. นครสวรรค์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จันทรา ทองคำเภา และพันธวัศ สัมพันธ์พานิช. (2541). รูปแบบการใช้น้ำในเขตคลองชลประทานรังสิตใต้. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาดโดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning). รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณิชาพิชย์ กลิ่นชื่น และชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). แนวทางการส่งส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11 (1), 167-183.

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และอดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนการจิตตปัญญา. นครปฐม: ศูนย์จิตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8 (2), 327-336.

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2560). การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์เดอ ลามาร์วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อมกำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. วารสารวิจิตรศิลป์. 8 (2), 185-264.

พิศมัย เดิมสันเทียะ และลัดดา ศิลาน้อย. (2555). การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการสอนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน วิชาประวัติศาสตร์ ส31103 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (3), 91-99.

รสิตา รักสกุล และคณะ. (2558). สัมฤทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้ Active Learning ของนักศึกษาในรายวิชาการบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ละเอียด ขจรภัย. (2562). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13 (1), 126-140.

วไลลักษณ์ พัสดร. (2553). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยบูรณาการ แหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี สำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิพัชร จำปา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (2), 1158-1171.

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2545). ชุดพัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน: สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพมหานคร: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.

ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่องสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับพนักงานครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์. Veridian E-Journal,Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 11 (3), 3207-3227.

สุพัตรา คำสุข และคณะ. (2555). ผลการสอนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์อาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (2), 55-62.

สุภาพ กัญญาคำ. (2553). ห้องสมุดดิจิทัลกับอีเลิร์นนิงสำหรับเด็ก. วารสารสารสนเทศน์ศาสตร์. 28 (1), 81-92.

สุวิวัฒน์ ธิติวัฒนารัตน์. (2552). ศึกษาบทบาท สถานภาพ และกิจกรรมของดนตรีปีพาทย์มอญ ในสังคมและวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารดนตรีรังสิต. 4 (2), 40-50.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดีใกล้บ้าน. กรุงเทพมหานคร: เสนาธรรม.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กรุงธนพัฒนา.

อำพล นววงศ์เสถียร และคณะ. (2556). ประเพณีรับบัว: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

Bonwell, C. C. and Eison, J. A. (1991). Active Learning Creating Excitement in The Classroom. ASHEERIC Education Report. Washington DC: The George Washington University.