วงจรรัฐประหารกับการเมืองไทย: การตีความปรากฏการณ์ผ่านมุมมองเชิงลึก
Main Article Content
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในปี พ.ศ. 2475 จากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย รัฐประหารกับการเมืองไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาโดยตลอด โดยทหารเข้ามาแทรกแซงและมีบทบาททางการเมืองอยู่เสมอ บทความเรื่องนี้ต้องการนำเสนอปัจจัยในการแทรกแซงทางการเมืองของทหารที่หยั่งรากในสังคมไทยจนเสมือนเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมการเมืองไทย ผ่านมุมมองปรัชญาทางสังคมศาสตร์และการมองปรากฏการณ์ในเชิงลึกของคลิฟฟอร์ด เกียทซ์ การรัฐประหารเป็นผลมาจากทัศนคติ อุดมการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรทหารที่มีลักษณะเฉพาะและมีความเข้มแข็งมากกว่าองค์กรฝ่ายพลเรือน รวมถึงวัฒนธรรมการเมืองไทยซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างความเป็นอำนาจนิยมกับอิสรนิยมของคนไทยเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนและสร้างแบบแผนของระบบการเมืองไทยให้ดำรงอยู่ในวงจรของการรัฐประหาร องค์ความรู้ใหม่พบว่า การเกิดรัฐประหารในการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้รับการปลูกฝังทัศนคติและอุดมการณ์ที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กรที่มีลักษณะอนุรักษนิยม โดยที่ประชาชนบางส่วนให้การยอมรับและสนับสนุนการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ คนไทยส่วนมากยังมีความคิดว่า เรื่องของการเมืองและการปกครองเป็นเรื่องของชนชั้นปกครองและผู้ที่มีอำนาจบางกลุ่ม บางครั้งเมื่อใดที่ทหารถูกลดสถานะ บทบาท ความสำคัญในอำนาจและหน้าที่ รวมถึงงบประมาณในการพัฒนาทางกองทัพ หรือมีการแทรกแซงจากฝ่ายพลเรือนมากเกินไป ก็จะเป็นเหตุให้ก่อเกิดรัฐประหารเพื่อกองทัพจะได้คงสิทธิเสรีภาพของตนเองให้คงอยู่ รวมถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกองทัพด้วยกันเอง ด้วยเหตุเหล่านี้ จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดรัฐประหารในประเทศไทยและยังคงมีในอนาคตต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมล สมวิเชียร. (2514). วัฒนธรรมการเมืองไทยกับการพัฒนาการเมือง. ใน วรรณไวทยากร: รัฐศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2536). ปัญหาการพัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). ไตรลักษณรัฐกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สุขุมและบุตร.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2552). รัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายการศึกษา.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2533). การเมืองการบริหารไทย: ภาระของชาติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรันดร์ กุลฑานันท์. (2531). การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2559). ปรัชญาสังคมศาสตร์ การอธิบายทางสังคมรากฐานสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล็อก.
รุ่งนภา ยรรยงเกษมสุข และสุธี ประศาสน์เศรษฐ. (2561). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย: ปัญหาเชิงโครงสร้าง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 6 (2), 69-89.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). คนไทยในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร: แม๊ค.
วัชรพล พุทธรักษา. (ม.ป.ป.). แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) ของกรัมชี (Gramsci): บททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก https://www.academia.edu/518933/2007_แนวความคิดการครองอํานาจนําของกรัมชี_บททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณ_ทางการเมืองไทย_in Thai_
ยงศักดิ์ ตันติปิฎก. (ม.ป.ป.). Thick Description การตีความวัฒนธรรมในงานชาติพันธุ์นิพนธ์. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก http://readgur.com/doc/2312069/thick-description-การตีความวัฒนธรรมในงานชาติพันธุ์นิพนธ์
สุจิต บุญบงการ. (2562). ทหารกับการพัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2551). ไตรสรณคมน์ทหาร รัฐประหาร และการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันปรีดี พนมยงค์.
เสนอ จันทรา. (2517). สาเหตุของการยึดอำนาจในประเทศไทย (พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2514). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2561). การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง แนวคิดและข้อโต้แย้งทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.
Almond, G. and Verba, S. (1972). The Civic Culture. Princeton: Princeton University Press.
Finer, S. (1958). Politics, Parties and Pressure Groups. Political Studies. 6 (3), 265-266. DOI: 10.1111/j.1467-9248.1958.tb01116.x
Finer, S. (1962). The Man on the Horseback: The Roll of the Military in Politics. London: Pall Mall Press.
Nordlinger, E. A. (1977). Soldier in Politics: Military Coups and Government. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Thomson, W. (1975). Regime Vulnerability and the Military Coup. Comparative Politics. 7 (4), 459-487. DOI:10.2307/421422