ชุมชนขนมจีน: พลวัตทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านการทำขนมจีนในช่วงปี พ.ศ. 2470-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาความเป็นมาของการทำขนมจีน เศรษฐกิจและสังคมของหมู่บ้านขนมจีน ภายใต้ภาพสะท้อนบริบทและวิธีการทำขนมจีนของคนในชุมชนในช่วงปี พ.ศ. 2470- 2564 โดยใช้วิธีการศึกษาจากประวัติศาสตร์บอกเล่าและสังเกตในพื้นที่จริงมาวิเคราะห์เรียบเรียงและสังเคราะห์เป็นงานเขียน จากการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2500 หลังจากที่นางสังเวียร แสงชัย ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน พร้อมกับการเผยแพร่กรรมวิธีทำขนมจีน ทำให้ขนมจีนได้แพร่หลายและทำเพื่อการค้าขายในเวลาต่อมา กระทั่งได้นำเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วยผลิตและพัฒนาการทำขนมจีนตามยุคสมัย ทำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้นและต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง อีกทั้งหน่วยงานรัฐไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มคนทำขนมจีนจนส่งผลให้คนทำขนมจีนลดน้อยลง องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษานี้พบว่า 1) ขนมจีนได้เข้ามามีบทบาทในหมู่บ้านภายหลังการเข้ามาของนางสังเวียร แสงชัย จนเกิดเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้กับหมู่บ้านในเวลาต่อมา 2. การทำขนมจีนขายเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน จากเดิมมีเพียงการทำนาข้าวและปั้นหม้อ เมื่อขนมจีนเข้ามาได้กลายเป็นอาชีพและแหล่งเศรษฐกิจหลักของคนในชุมชน 3. การขนมจีนได้กลายเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้านในการรวมตัวทำขนมจีนในงานประเพณีต่าง ๆ และภายหลังเกิดเป็นการแข่งขันเป็นความสัมพันธ์ชิงธุรกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณรงค์ นิยมวิทย์. (2528). ขนมจีน. วารสารอาหาร. 15 (3), 123-129.
ทองจันทร์ เหล่าเคน. (2564). สมาชิกในหมู่บ้าน. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.
เที่ยง มุมกลาง. (2564). สมาชิกในหมู่บ้าน. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.
นิตยา พานชมพู. (2564). สมาชิกในหมู่บ้าน. สัมภาษณ์. 4 กันยายน.
พรรณี หลงพิมาย. (2564). สมาชิกในหมู่บ้าน. สัมภาษณ์. 4 กันยายน.
วิจิตร เหล่าเคน. (2564). สมาชิกในหมู่บ้าน. สัมภาษณ์. 11 กันยายน.
สกุณา พานชมภู. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านขนมจีน หมู่ 3 ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม.
สมดี เหล่าเคน. (2564). ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์. 11 กันยายน.
อัจฉรี จันทมูล และบุญชู ศรีเวียงยา. (2550). การศึกษาและรูปแบบการพัฒนากรรมวิธีในการผลิตขนมจีน: กรณีศึกษาบ้านโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.