สรงกู่บ้านเขวากับการกลายเป็นประเพณีประดิษฐ์ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2564

Main Article Content

เมวลัย นิมิตร
นราวิทย์ ดาวเรือง

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของประเพณีสรงกู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์บอก โดยการสัมภาษณ์ รวมทั้งการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงระยะเวลา 86 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2478-2564) ประเพณีสรงกู่บ้านเขวาปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ ก่อนปี พ.ศ. 2478 ประเพณีสรงกู่บ้านเขวาเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก สถานที่จัดงาน คือ บริเวณรอบกู่ โดยมีการสรงน้ำหอมพระพุทธรูปและกิจกรรมรื่นเริงที่ชาวบ้านร่วมกันจัดขึ้น เช่น มวย รำวง หมอลำ ต่อมาช่วงหลังปี พ.ศ. 2478-2535 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและขุดแต่งโบราณสถานกู่บ้านเขวา พร้อมทั้งกำหนดเขตพื้นที่โบราณสถานไม่ให้ชาวบ้านก้าวล่วง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2564 รัฐราชการได้เข้ามามีบทบาทในการจัดงานประเพณีสรงกู่ในลักษณะของการประดิษฐ์ประเพณีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงพบว่า ชุมชนเริ่มหมดบทบาทและความสำคัญลง ขณะเดียวกันรัฐราชการกลับเข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในการจัดงานสรงกู่อย่างเบ็ดเสร็จ องค์ความรู้ใหม่ คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานประเพณีสรงกู่บ้านเขวาสามารถนำไปเป็นตัวบทเพื่อทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงประเพณีสรงกู่ในพื้นที่อื่น ๆ ของภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะการที่รัฐเข้ามากำกับดูแล มักทำให้เกิดกิจกรรมหรือประเพณีใหม่ที่เรียกว่า ประเพณีประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและส่งเสริมรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ ฐนทร. (2541). ปีการท่องเที่ยวไทย 2541-2542. รังสิตสารสนเทศ. 4 (1), 63-77.

จุรีพร เรืองเทพ. (2530). ปรางค์กู่บ้านเขวา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม.

ชารี ไชยคำภา. (2564). ชาวบ้านดอนดู่ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 16 ธันวาคม.

ไตรภพ ผลค้า. (11 พฤศจิกายน 2537). ปรางค์กู่บ้านเขวา “อโรคยศาล” ที่รอการปฎิสังขรณ์. แนวหน้า, น. 26.

ทองอินทร์ ไชยแสง. (2564). ชาวบ้านดอนดู่ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2537). หมายเหตุร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: แพรว.

บัวลี อุทัยนิล. (2565). ชาวบ้านดอนดู่ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 26 มกราคม.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2556). ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนลุ่มน้ำโขง. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน.

ประกาศกรมศิลปากรเรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน. (26 มีนาคม 2544). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 29 ง. หน้า 17.

ประพัฒน์ คำยอด. (2564). บ้านสงเปลือย ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.

ปาริชาติ ชูปฏิบัติ. (2530). ประวัติปรางค์กู่เทวสถาน 2,000 ปี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทขาเขตมหาสารคาม.

เมวลัย นิมิตร. (2565). ชาวบ้านศรีมกาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ข้อมูลภาคสนาม. 26 มกราคม.

วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. (2548). การศึกษาแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทสิมในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมชาติ มณีโชติ. (2531). ปรางค์กู่บ้านเขวา “อโรคยศาล”. มหาสารคาม: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม.

สุภาวดี ฉัตรจรัสกุล. (2565). ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.

เสียงสารคาม. (13 ธันวาคม 2546). เที่ยวกู่บ้านเขวาโบราณสถานกว่า 800 ปี. เสียงสารคาม, น. 13.

หนูไกร คำวิจารณ์. (2564). ชาวบ้านดอนดู่ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดปุราณรักษ์. (2541). รายงานการบูรณะโบราณสถานปรางค์กู่บ้านดอนดู่ (กู่บ้านเขวา) ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ขอนแก่น: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธพันธสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2558). รายงานสรุปผลโครงการนมัสการสรงน้ำปรางค์กู่ ประจำปี 2558. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2559). เรื่องการโอนภารกิจโบราณสถาน. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2562). รายงานสรุปผลโครงการสืบสานประเพณีนมัสการและสรงน้ำปรางค์กู่ “เพ็งเดือนห้า ถวายประทีปบูชา สรงศรัทธากู่บ้านเขวา” ประจำปี 2562. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.