องค์กรแห่งการเรียนรู้วิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
กรณีศึกษารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า เป็นแบบอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้วิถีพุทธ ที่ได้มีผลการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีผลตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงประจักษ์ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนากลไกการบริหารจัดการเพื่อก้าวสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา โดยมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในส่วนขององค์ประกอบและแนวทางของการดำเนินงาน มี 5 ด้าน คือ 1) องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบด้านองค์กร 3) องค์ประกอบด้านบุคคล 4) องค์ประกอบด้านความรู้ 5) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี สอดคล้องกับแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ ไมเคล เจ มาร์ควอดท์ (Michel J. Marquardt) ที่กล่าวว่า การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ด้วยระบบขององค์กรทั้งหมด เปรียบเสมือนว่าองค์กรนั้น ๆ เป็นองค์กรที่สมองเดียวกันทั้งองค์กร และสมาชิกในองค์กรให้ความสำคัญและยอมรับว่าจะนำมาซึ่งความอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงคนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องและทันสมัย องค์ความรู้ใหม่ คือ การสร้างรูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้วิถีพุทธ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา และ ส่วนที่ 3 เป็นเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ โดยภาพรวมมีผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และมีหลักธรรมในพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีส่วนสนับสนุนต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ สิกขา 3 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 กัลยาณมิตรธรรม 7 เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). แผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก http://plandiv.mcu.ac.th/?page_id=109.
กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
เจษฎา นกน้อย. (2556). 12 แนวคิดฝ่าวิกฤตองค์กร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรพันธ์ เชิญรัมย์ และคณะ. (2565). รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจยวิชาการ. 5 (2), 183-196.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม.
พระมหาดำรงค์ ปชฺโชตชโย และคณะ. (2563). การเรียนรู้ตามหลักพหูสูต 5 ของผู้เรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7 (1), 88-97.
พระสุวรรณธีราจารย์ และพระมหาสังเวช จนฺทโสภี (ศรีโคตร). (2551). ศึกษาสภาพองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ตามทฤษฎีของ ไมเคล มาร์ควอดท์. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงรณราชวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิชม. (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซ์เปอร์เน็ต.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (24 ตุลาคม 2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า และบุญทัน ดอกไธสง. (2562). องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (1), 157-170.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2544). ประมวลบทความนวัตกรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Garvin, D. (2000). Learning in Action: A Guide to Putting the Learning Organization to Work. Boston, Mass: Harvard Business School.
Marquardt, M. J. and Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York: Irwin.
Pedler, M., et al. (1991). The Learning Company: A Strategy for Sustainable Development. London: The McGraw-Hill.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday/Currency.