พฤฒิพลังในผู้สูงอายุ: เมื่อข้าพเจ้ากราบหลวงพ่อวัดภคินีนาถวรวิหาร อายุ 100 ปี

Main Article Content

มัลลิกา ภูมะธน
ดิเรก ด้วงลอย
พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกล่าวถึงพระมหาเถระผู้สูงอายุกับเรื่องราวพฤฒิพลัง ในคราวที่ข้าพเจ้ากราบหลวงพ่อวัดภคินีนาถวรวิหารอายุ 100 ปี โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย และการสังเกต สัมภาษณ์พูดคุย และนำมาเขียนเป็นความเรียงเชิงวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนามีแนวคิดในเรื่องผู้สูงอายุภายใต้หลักการเอตทัคคะผู้รู้ราตรีนาน โดยมีหลักคิดในเรื่องผู้สูงอายุกับการพัฒนา การบริหารความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ และที่สำคัญผู้สูงอายุมีพฤฒิพลังที่เป็นแบบอย่างทำประโยชน์ได้ดังที่ยกตัวอย่างมาประกอบ อาทิ หลวงพ่อปัญญานันทะ เป็นต้น ส่วนในกรณีของพระราชอุดมมงคล พระมหาเถระผู้มีอายุ 100 ปี พบว่า มีสุขภาพกายโดยรวมแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี หัวเราะง่าย ยิ้มง่าย ภายใต้หลักการอารมณ์ดี อนามัยดี และอาหารดี รวมทั้งเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติที่เหมาะควรแก่สมณสารูป เป็นแบบอย่างและเป็นที่น่าประทับใจ องค์ความรู้จากบทความนี้ คือ การพบบุคคลต้นแบบทางศาสนาในด้านพฤฒิพลังผู้สูงอายุ ทั้งทางสุขภาพกายและจิตใจ กล่าวคือ การมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มองสรรพสิ่งเป็นบวก สร้างสรรค์และสร้างคุณค่าแก่สังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

บุญทัน ดอกไธสง และคณะ. (2562). แนวคิดหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาให้เป็นกลไกในการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการชาติ ครั้งที่ 3 หัวข้อนวัตกรรมทางการปกครองและทางการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วันที่ 31 สิงหาคม. หน้า 153-179.

บุญทัน ดอกไธสง. (2565). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 22 ตุลาคม.

พระไกรวิน ก่องแก้ว และคณะ. (2565). การศึกษาหลักปฏิบัติไตรสิกขาตามแนวทางโอวาทของพระสารีบุตร.วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 11 (2), 66-79.

พระครูธำรงศีลคุณ กนฺตสีโล. (2558). การศึกษาบทบาทของพระอานนท์ในฐานะเลขานุการของพระพุทธเจ้า. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 2 (1), 99-105.

พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ) และคณะ. (2565). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11 (1), 124-138.

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร และคณะ. (2563). ถอดบทเรียนโครงการธนาคารโคกระบือ และธนาคารน้ำใต้ดินของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร และคณะ. (2565). พลังบวรพิทักษ์คลองกระทิง: การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11 (1), 227-240.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และคณะ. (2561). ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ: กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 1 (2), 1-17.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และคณะ. (2562). กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8 (1), 26-32.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และคณะ. (2564) ยุวชนคุณธรรม: แนวทางลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนคลองกระทิง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 (The 3rd National Academic Conference 2021) หัวข้อเรื่องพุทธศาสนาและปรัชญา: แนวคิด มุมมอง สังคมยุคหลังโควิด-19. คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วันที่ 28 พฤษภาคม. หน้า 737-749.

พระมหานรุตม์ รตนวณฺโณ. (บรรณาธิการ). (2565). ชีวิตและผลงาน: สตวัสสายุกาล 100 ปี พระราชอุดมมงคล. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรมการพิมพ์.

พระราชอุดมมงคล. (2565). เจ้าอาวาสวัดภคินีนาถวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์. 22 ตุลาคม.

พระสมชาย จันทรดาฝ่าย และวิโรจน์ คุ้มครอง. (2565). การบรรลุธรรมของพระมหาโมคคัลลานเถระในจปลายมานสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (2), 596-606.

พระเอกลักษณ์ อชิโต และคณะ. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย: กับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 4 (2), 57-69.

พระเอกลักษณ์ อชิโต และคณะ. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย: กับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซ้อน จังหวัดสุโขทัย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 4 (2), 57-69.

พระเอกลักษณ์ อชิโต และคณะ. (2563). บทบาทพระสงฆ์กับงานสาธารณสงเคราะห์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: กรณีศึกษาบทบาทของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์. 9 (3), 289-304.

พุทธชาติ แผนสมบุญ และคณะ. (2561). กระบวนการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. มหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (2), 267-283.

พุทธชาติ แผนสมบุญ. (2561). ผลการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารรัชต์ภาคย์. 12 (25), 255-265.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ และพลอยไพลิน รูปะวิเชตร์. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2 (3), 15-28.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 20, 25, 33. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันวิสาข์ ทิมมานพ และธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์. (2564). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสร้างพฤฒิพลัง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6 (1), 521-528.

วาสนา กีรติจำเริญ และคณะ. (2564). ภาวะและความต้องการภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ.วารสารราชพฤกษ์. 19 (1), 101-111.

วาสนา แก้วหล้า และคณะ. (2564).แนวทางการขับเคลื่อนพุทธเศรษฐศาสตร์เชิงเกษตรพึ่งตนเอง: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาพอเพียงสู่โคกหนองนาโมเดล จังหวัดสุรินทร์. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 4 (2), 81-95.

สุดา วงศ์สวัสดิ์. (2559). พัฒนาสูงวัยสู่ภาวะพฤฒิพลัง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 24 (3), 202-207.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม และสัญญา สดประเสริฐ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 7 (1), 232-240.

สุภัทรชัย สีสะใบ และคณะ. (2564). ถอดบทเรียนจากพื้นที่วิจัย: การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 (The 3rd National Academic Conference 2021) หัวข้อเรื่องพุทธศาสนาและปรัชญา: แนวคิด มุมมอง สังคมยุคหลังโควิด-19. คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วันที่ 28 พฤษภาคม. หน้า 764-779.

สุรพล สุยะพรหม. (บรรณาธิการ). (2561). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนและสังคม. ที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวัฒสัน รักขันโท. (2565). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 22 ตุลาคม.