รูปแบบการจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพุทธศาสนสถาน

Main Article Content

โสทรินทร์ โชคคติวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพุทธศาสนสถาน โดยพบว่า การขยายตัวการท่องเที่ยวในประเทศไทยทำให้สภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง ซึ่งเกิดผลกระทบในทางลบตามมาทั้งผลกระทบทางกายภาพ เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบถึงวัด การขาดการวางแผนการจัดการท่องเที่ยวและภูมิสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม การขาดการควบคุมการใช้ที่ดินภายในวัดเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการละเลยด้านคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการสร้างคุณค่าทางจริยธรรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ที่มีค่าในการท่องเที่ยว สำหรับแนวทางการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวในแต่ละวัด ควรมีการบริหารจัดการตามหลักทฤษฎี 4Ms โดย องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากบทความนี้ คือ 1) การบริหารกำลังคนอันประกอบด้วย (1) หลักการปฏิสันถาร (2) หลักความถูกต้องและเป็นธรรมในบทบาทและหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง (3) หลักการเรียนรู้ร่วมกัน (4) หลักของศีล สมาธิ ปัญญาในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาวงการท่องเที่ยว 2) การบริหารเงินประกอบด้วย (1) ผลิตภัณฑ์ที่จะสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว (2) การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (3) การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างเพื่อนมนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม 3) การบริหารวัสดุในการดำเนินงานให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์สูงสุด 4) การจัดการปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านวัฒนธรรม ด้านจูงใจเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านสถานภาพและเกียรติภูมิ โดยเฉพาะการจัดการที่ส่งเสริมการเดินทางการท่องเที่ยวตามวัดหรือสังเวชนียสถานเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่การท่องเที่ยงเชิงพุทธในศาสนสถานอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธีรวุฒิ บุญยโสภณ และวีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2544). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: อักษรปริทรรศน์.

นรีวัลคุ์ ธรรมนิมิตโชค. (2550). การศึกษารูปแบบของวัดที่เหมาะสมกับการเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศก์. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แอคทีฟ พริ้นท์.

พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). ศาสนสถานแหล่งท่องเที่ยวในพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 8 (1), 89-96.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1, 4, 5, 10, 11, 14, 23, 30. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วนิดา ขำเขียว. (2562). การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11 (21), 123-134.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหารหลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

อุทัย สติมั่น. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.