การบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

สรสิช จิ๋วแก้ว
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 20 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล 


ผลการวิจัยพบว่า


การบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า การบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูอยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.06 S.D.=0.37)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ตัวแปรต้น โดยรวมทุด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.05 S.D.=0.30)


พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ มีเครื่องสินค้าที่ใหม่และมีเอกลักษณ์มีโลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการสามารถจดจำได้และมีความโดดเด่นและสังเกตได้ง่าย อยู่ในทำเลที่เหมาะสมมีที่จอดรถเพียงพอกับผู้มาใช้บริการและมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และมีการตกแต่งสวยงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา นิลรัศมี. (2563). แนวทางการสร้างการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อเป็นนักสื่อความหมายท้องถิ่น. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(2), 1-11.

รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์แ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของหมู่บ้านท่องเที่ยวนวัตวิถีกรณีศึกษาบ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 117-131.

วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์. (2559). ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 185-192.

วาสนา อาจสาลิกรณ์. (2563). ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีไทดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 18(2), 269-287

สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และคณะ. (2562). การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 65-74.

อรัญยา ปฐมสกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน: กรณีศึกษาตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 178 -194.