ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและทักษะในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุง เพชร ระ นคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเพชรระนคร 2. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเพชรระนคร จําแนกตามระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาจําแนกตามระดับการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือครูและผู้บริหารในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเพชรระนคร จำนวน 103 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุง เพชร ระ นคร แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสถิติค่าเอฟ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารวรรณกรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเพชรระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษามีความแตกต่างกัน ขนาดของสถานศึกษามีความแตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บุคคลเดียวอาจต้องทำงานหลายอย่าง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญาภัค ไข่เพชร และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถาน ศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 51-64.
ณัฐวดี ชูวัง และ อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี. (2565). คุณลักษณะและทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาใน ยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1 กลุ่มโรงเรียนที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 48-48.
ณัฐวิภา อุดชุมนารี. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร: ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสาร วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(2), 103-116.
ณัฐสิรี เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา และ ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษาทางไกลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิจิตร. Social Sciences Research And Academic Journal, 18(1), 191-206.
ทศวรรษ เกิดติ๋ง และ ธดาสิทธิ์ ธาดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การศึกษา 4.0. รายงานการประชุม Graduate School Conference. 4(1), p. 1346.
ธัญชาติ ล้อพงค์พานิชย์. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 579-592.
ประภวิษณุ์ เจียร์สุคนธ์, ศุภกร ศรเพชร และ ชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนา ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนมเขต 1. Rajapark Journal, 16(48), 90-104.
วรวรรณ อินทร์ชู และจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถาน ศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 300-311.
วิทวัส นิดสูงเนิน, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์ และมารุต พัฒผล. (2565). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียน มัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 5(4), 1638-1658.
สุธิดา สอนสืบ และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 212-225.