การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 175 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์นำเสนอโครงการโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยด้านผู้บังคับบัญชา และองค์การ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.62, S.D = 0.72) และด้านบุคลากร
มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D = 0.81)
ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการให้การบริหารเป็นไปตามงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อภารกิจที่ครอบคลุมทุก ๆ ด้าน และนำเทคโนโลยีนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ควรมีการสั่งการอย่างเป็นระบบตามลำดับขั้น เน้นจุดสำคัญ เรียงลำดับความสำคัญของงาน และเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกอง/ฝ่าย/สำนักงาน ภายในองค์การ จึงต้องจัดให้มีกิจกรรมหรือโครงการ เช่น การจัดกิจกรรมนันทนาการ เพื่อให้เกิดความผูกพัน และสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันเติม มะเดื่อ. (2566). ประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(1), 141-142.
ชลธิชา จิรภัคพงค์ และคณะ. (2562). คุณภาพการบริหารองค์กรของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. วารสารหาดใหญ่วิชาการ,17(2), 259.
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). หลักรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุทธินันท์ สุวรรณวิจิตร. (2564). การกระจายอำนาจการปกครอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 123.
แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์. (2564). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.