“สติ” ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค: ศึกษาเฉพาะโครงสร้างและกระบวนธรรม

Main Article Content

มนตรี วิวาห์สุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและกระบวนธรรมของสติในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เป็นการวิจัยเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวรรค คำที่ใช้สืบค้น คือ “สติ” สืบค้นจาก “พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์ และแหล่งค้นพุทธศาสน์ฉบับคอมพิวเตอร์” วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า สติ ปรากฏในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค จำนวน 108 ครั้ง โครงสร้าง 13 สำนวน ได้แก่ 1) ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า 2) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ 3) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ 4) โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ 5) มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย 6) มีสติ อยู่เป็นสุข 7) มีสติปรารภเฉพาะพระผู้มีพระภาค 8) มีสติสัมปชัญญะ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ 9) มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ 10) สติไม่หลงลืม 11) สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมี 12) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และสันโดษอันเป็นอริยะ 13) สติหลงลืม และ กระบวนธรรม 2 ชุดซึ่งเป็นการค้นพบเชิงอุปนัยที่สำคัญ ได้แก่ 1) สติแบบบริสุทธิ์เกิดในจตุตถฌานที่จิตเป็นอุเบกขา 2) สติแบบประยุกต์ต้องใช้คู่กับสัมปชัญญะในทุกการกระทำ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

มนตรี วิวาห์สุข, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

-

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

ทองย้อย แสงสินชัย (2562). บาลีวันละคำ (2,636), “สติมา” “สติ”. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จากhttps://www.facebook.com/tsangsinchai

ผู้จัดทำเว็บไซต์. (2545). 84000.org. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2567, จาก https://84000.org/

พระธรรมกิตติวงศ์, (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32, กรุงเทพฯ: พิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2558). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. สืบค้นมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://www.mahapali.com

พระเมธีรัตนดิลก. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2470). พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. กรุงเทพฯ: พาณิชศุภผล.

มหาวิทยาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย.

วัดนาป่าพง. (2567). วัดนาป่าพง. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2567 จาก, https://watnapp.com/

ศิริชัย กาญจนวาส, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). Buddhist Scriptures Information Retrieval (BUDSIR VI for Windows). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุธี สุดประเสริฐ. (2554). โปรแกรมสำหรับค้นหาและเทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิฎก (E-Tipitaka). สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2567 จาก, https://etipitaka.com/

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.