การพัฒนารูปแบบและชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อบ่มเพาะความซื่อสัตย์สุจริต ของเยาวชนในโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อบ่มเพาะคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความซื่อสัตย์สุจริตของเยาวชนในโรงเรียนวิถีพุทธ 3) เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อบ่มเพาะความซื่อสัตย์สุจริตของเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยบูรณาการแนวคิด Neuro Linguistic Programming (NLP) กับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เข้าด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อบ่มเพาะคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตนั้นได้กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เรียกว่า การสร้างการสื่อสารกับตนเองด้วยการยืนยันตนเอง การพูดคุยหรือสั่งสมองของตนเองให้เชื่อในสิ่งที่ย้ำกับตัวเอง ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมยืนยันเรื่องความซื่อสัตย์เป็นกิจกรรมที่ทำหน้าเสาธง และก่อนการเข้าเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ได้นำกระบวนการเรียนรู้ชุดกิจกรรมซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล 3 มิติได้แก่ 1) การสะท้อนผลในระดับเนื้อหา กล่าวสะท้อนในสิ่งที่บุคคลคิด รับรู้ รู้สึก 2) การสะท้อนผลระดับกระบวนการ ว่าบุคคลคิด รับรู้ รู้สึกได้อย่างไร 3) การสะท้อนกระบวนทัศน์ เป็นการสะท้อนว่าบุคคลคิด รับรู้หรือรู้สึกไปทำไม เป็นการเปลี่ยนแปลงในมิติระดับโลกทัศน์ที่พาบุคคลไปสู่การมีมุมมองใหม่ๆต่อโลก เป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 3) เพื่อสร้างเครือข่าย การดำเนินชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการอบรมการใช้ชุดกิจกรรมให้แก่พระสอนศีลธรรมและครูในโรงเรียนวิถีพุทธ ได้แก่ โรงเรียนวัดทุ่งลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของ Active Learning. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.itie.org
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2561). สุจริตธรรมในฐานะเครื่องมือป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/439
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). ลำปาง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำปาง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์. (2562). การยืนยันตนเอง. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/การยืนยันตนเอง
วชิรวิทย์ นิติพันธ์. (2563). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์,6(2), 84-98.
วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์. (2551). NLP Neuro – Linguistic Programming ภาษา สมอง มหัศจรรย์ เทคโนโลยีสร้างความสำเร็จชั่วข้ามคืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บานานา สวีท.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2551). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
Steele, C. M. (1988). The Psychology of Self-Affirmation: Sustaining the Integrity of the Self. In L. Berkowitz (Ed.), Advances in Experimental Social Psychology, Vol. 21 (pp. 261-302). New York: Academic Press.