การกำหนดรู้เวทนาตามหลักสติปัฏฐาน 4

Main Article Content

พระธีระวัฒน์ ฌานวโร (เฮงสกุล)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดรู้เวทนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เป็นการปฏิบัติวิปัสสนา สติปัฏฐาน 4 เพื่อการนำมาใช้เพ่งพิจารณาตามความเหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคล คือ การพิจารณาร่างกาย (กายานุปัสสนา) การพิจารณาความรู้สึก (เวทนานุปัสสนา) การพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) และการพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา) ตามหลักของเวทนาในสติปัฏฐาน 4 หมายถึง อารมณ์ของสติปัฏฐาน เรียกว่า เวทนานุปัสสนา คือ เมื่อพิจารณาเวทนาก็ต้องพิจารณาที่เวทนา ไม่เผลอไปพิจารณากาย จิต หรือธรรมในขณะที่พิจารณาเวทนา ก็คือ การรู้เท่าทันต่อเวทนาที่เกิดขึ้น ก็เพื่อรู้แจ้งรู้เห็นความเป็นไปของ ไตรลักษณ์  ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา ไม่หลงไปตามกระแสอารมณ์เวทนา ย่อมทำลาย อภิชฌาโทมนัส ความโลภ โกรธ หลง  กิเลส ตัณหา โดยมีสติ สัมปชัญญะเป็นตัวระลึกรู้ ตัดกระแสเวทนาที่เกิดขึ้นในจิต เพื่อให้เกิดปัญญา เป็นหนทางที่จะทำให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง หรือถึงพระนิพพานได้ นั่นคือ การบรรลุธรรมต้องเป็นการบรรลุธรรมอันเกิดมาจากการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง ดังนั้น หากปราศจากสติปัฏฐานแล้ว ก็ยากที่จะพ้นทุกข์ หรือเข้าถึงพระนิพพานได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชนากร ศาสตร์สกุล และชาสิณี ห่วงมิตร. (2566). การบริหารจิตและการเจริญสติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 กับการบริหารจัดการศึกษายุคใหม่ ในสถานการณ์ Covid-19. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 9(1), 165-166.

ทิพย์ธิดา ณ นคร และพระมหาโสภณ วิจิตฺตธมฺโม. (2562). สติปัฏฐาน 4 กับการพัฒนาตนในชีวิตประจำวัน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(1), 116.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ (ประมวน พานชิ). (2553). การศึกษาวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน 4 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภาวนาวราลังการ (สมศักดิ์ โสรโท). (2563). การตามกำหนดรู้เวทนา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567, จาก https://www.watbhaddanta.com

พระถวัลย์ โชติโย (หาญไชยนะ). (2551). การศึกษาการเจริญสติปัฏฐาน 4 ตามแนวทางการเคลื่อนไหวของหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ วัดป่าสุคโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปรีดา อภิวโร (บัวสด). (2550). ศึกษาทุกขเวทนาเพื่อการบรรลุธรรมตามแนวเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิศักดิ์ ชาตสุโภ (เชยชมศรี) และพระณัฐวุฒิ พันทะลี. (2565). เวทนานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(1), 55.

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร). (2558). ธรรมปฏิบัติ : สติปัฏฐาน 4 (ตอน 2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567, จาก https://mgronline.com/dhamma/detail/

พุทธทาสภิกขุ. (2531). สมาธิวิปัสสนาธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัญชลี จตุรานน. (2557). ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย