การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูเครือข่ายเชิงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูเครือข่ายพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 2) พัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครู เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มเป้าหมายการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ สถาบันผลิตครูและสถานศึกษา จำนวน 45 คน โดยเฉพาะเจาะจงผู้ให้ข้อมูล (Purposive Sampling) ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกรอบที่ 1 จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิรอบที่ 2 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยของความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ 1.1) ผลจากสถาบันผลิตครู พบว่า ด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากมี 2 ด้าน คือ ด้านรูปแบบการพัฒนาครู และด้านกระบวนทัศน์การพัฒนาครู สำหรับสภาพ พึงประสงค์ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านส่วน 1.2) ผลจากสถานศึกษาด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกลไกการพัฒนาครู สำหรับสภาพพึงประสงค์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
2) การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา และตามประเภทสถานศึกษา จากการศึกษาความต้องการ ผลในภาพรวม พบว่า ด้านกระบวนทัศน์การพัฒนาครูมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมารูปแบบการพัฒนาครูและกลไกการพัฒนาครูตามลำดับ
3) ข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูได้จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยการพัฒนาครูและหน่วยงานใช้ครูเพื่อให้ทั้ง 2 หน่วยงานได้ปรับกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกให้เหมาะสมตามบริบทพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2557). พลังความร่วมมือเพื่ออภิวัฒน์การเรียนรู้ในพื้นที่. ใน All for Education “จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้”. (หน้า 43-50). กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
มนตรี แย้มกสิกร. (2560). กระบวนทัศน์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาครู ใน ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสนาะ กลิ่นงาม. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารราชภัฏตะวันตก, 3(1), 35 -47.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2556). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 (ฉบับสรุป). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Cavanagh, D. (1983). Teacher Development: Curricular Problems and Paradigm Possibilities. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 7.
Cheng, Y. C. (2004). Three Wave of Teacher Education and Development Paradigm Shift in Applying ICT. The Scandinavian / Asian Pacific Conference on "The Challenge of Integrating ICT in Teacher Education” organized by School of Education and Communication, Jönköping University June 2-4, 2004.
Creswell, J. W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. (2nd edition). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Fielding, T. (1983). The Theme of Teacher Development. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 1.
Sánchez, J. V., (2016). Teacher Professional Development System. Retrieved August 15, 2018, from http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/FIELD/Santiago/pdf/ENG-Jaime-Veas.pdf
Sheehan, B. A., & Lewis, R. (1983). Some Implications of a Non-Deterministic Model of Teacher Development. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 8.